advertisement
ต้องบอกว่าเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างมากในการใช้ชีวิต เพราะจะรู้สึกดีมาก เมื่อมีเจ้าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่คอยอำนวยความสะดวกให้เรา แต่เอ๊ะ รู้หรือไม่ เมื่อเปิดใช้งาน 1 ชั่วโมง อุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชิ้น กินไฟเท่าไรกันบ้าง นี่คือสิ่งที่เราควรทำความเข้าใจไว้ ตามไปดูกันเลย
1. เครื่องดูดฝุ่น ขนาด 1,400-2,000 วัตต์ ค่าไฟ 6 – 8 บาท /ชม. บางคนดูดฝุ่นทุกครั้งที่เห็นฝุ่น ถ้ารู้ว่าเครื่องดูดฝุ่นกินไฟขนาดนี้อาจจะเปลี่ยนมาเป็นใช้ไม้กวาด แล้วค่อยใช้เครื่องดูดฝุ่นเก็บฝุ่น เพราะเครื่องดูดฝุ่นกินไฟพอ ๆ กับเตารีด แต่หากใช้ไม่บ่อยก็ไม่เปลืองไฟเท่าไหร่ (ในที่นี้หหมายถึงเครื่องดูดฝุ่นแบบมือถือ ไม่ใช่หุ่นยนต์ดูดฝุ่น)
2. เตารีดไฟฟ้า 1,000-2,800 วัตต์ ค่าไฟ 3.5 – 10 บาท/ ชม. เชื่อไหมครับว่าเตารีด ใช้กำลังไฟฟ้าพอ ๆ กับแอร์เลยทีเดียว โดยเฉพาะรุ่นที่เป็นเตารีดไอน้ำ ดังนั้นการจะรีดผ้าบ่อย ๆ ทีละตัวนั้นไม่เหมาะ อย่างน้อยต้องรีดทีละ 5 – 6 ตัว จะได้ประหยัดไฟ
3. เครื่องเป่าผม ขนาด 1,600 – 2,300 วัตต์ ค่าไฟ 6 – 9 บาท /ชม. ไดร์เป่าผมกินไฟไม่ต่างจากหม้อหุงข้าวมากเท่าไหร่ โดยส่วนใหญ่แล้วเราจะสระผมวันละครั้ง หรือวันเว้นวัน เมื่อเป่าผมให้แห้งแต่ละรอบจะใช้เวลาราว 30 นาที ก็คือว่าเป็นค่าไฟที่ยอมรับได้สบาย ๆ ครับ
advertisement
advertisement
4. เครื่องทำน้ำอุ่น ขนาด 3,500 – 6,000 วัตต์ ค่าไฟ 13.5 -23.5 บาท /ชม. บ้านที่ใช้เครื่องทำน้ำอุ่นขนาดใหญ่มาก ๆ อาจจะใช้กำลังไฟถึง 12,000 วัตต์ วันหนึ่งอาบน้ำหลายรอบ ก็จะกินไฟมาก ซึ่งถือว่ากินไฟเยอะกว่าแอร์อีก ส่วนเครื่องทำน้ำอุ่นตัวเล็ก ๆ ก็จะกินไฟประมาณ 2,500 วัตต์ ซึ่งคิดแล้วกินไฟมากกว่าต้มน้ำด้วยแก๊สหุงต้มอาบเสียอีก
5. เครื่องซักผ้า ฝาบน – ฝาหน้า ขนาด 10 kg ค่าไฟ 2 – 8 บาท /ชม. เครื่องซักผ้า โดยเฉพาะเครื่องซักผ้าพร้อมอบแห้ง กินไฟประมาณ 3,000 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 12 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแต่ละเครื่อง ใส่ปริมาณเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับตัวเครื่อง ไม่มากหรือน้อยเกินไป หากมีแค่ 1-2 ชิ้น ควรเปลี่ยนจากซักเครื่องเป็นซักมือแทน
advertisement
6. เครื่องปรับอากาศติดผนัง แบบ Fixed speed ขนาด 9,000-22,000 บีทียู/ชม. ค่าไฟ 2.5 – 6 บาท /ชม. หากคิดว่าเครื่องปรับอากาศ คือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุดนั้นไม่ใช่ แม้ว่าจะมีในลำดับที่ 3 แต่หากเปิดบ่อย ๆ วันละหลายชั่วโมง ก็จะเสียค่าไฟเป็นอันดับ 1 ได้เช่นกัน เพราะอากาศเมืองไทยร้อนแบบนี้ก็อดจะเปิดแอร์นอนทุกวันไม่ได้ นอนแล้วก็ติดใจ นอนสบายจนต้องเปิดทุกคืน มีวิธีประหยัดแอร์ก็คือ ตั้งเวลาตัดก่อนตื่นสัก 1 ชั่วโมง หรือเปิดเฉพาะครึ่งคืนแรกแล้วค่อยมาปรับเป็นพัดลมต่อ ก็ลดความร้อนได้สักหน่อย
7. พัดลมตั้งพื้น ขนาดใบพัด 12 – 18 นิ้ว ค่าไฟ 0.15 – 0.25 บาท /ชม.
advertisement
8. โทรทัศน์ LED backlight TV ขนาด 43-65 นิ้ว ค่าไฟ 0.40 – 1 บาท /ชม. โทรทัศน์กับตู้เย็นกินไฟไม่ต่างกันมาก แต่หากเปิดไว้ทั้งวันทั้งคืนตลอดเวลาจะทำให้ค่าไฟวิ่งตลอดได้เช่นกัน
9. เตาไมโครเวฟ ขนาด 20-30 ลิตร ค่าไฟ 3 – 4 บาท /ชม. อัตราการใช้กำลังไฟของไมโครเวฟนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของไมโครเวฟที่วัดเป็นคิว ทั้งโหมตละลายน้ำแข็ง หรืออุ่นอาหารให้ร้อนก็ใช้ไฟพอ ๆ กัน คนส่วนใหญ่ใช้ไมโครเวฟอุ่นอาหารมากกว่าใช้ทำกับข้าว เพราะความร้อนส่งไปยังจุดเดียวของถาดวางในเครื่อง
10. ตู้เย็น 2 ประตู ขนาด 5.5 – 12.2 คิวบิกฟุต ค่าไฟ 0.30 – 0.40 บาท /ชม. หากบ้านไหนไม่ใช้ตู้เย็นเบอร์ห้านี้จะทำให้ค่าไฟพุ่งสูงมาก เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนี้ต้องทำความเย็นตลอด เพื่อรักษาอากาศในตู้ไม่ให้ร้อนอบอ้าว อันจะเป็นเหตุให้อาหารเสียและบูดเร็ว
11. หม้อหุงข้าว ขนาด 1.0-1.8 ลิตร ค่าไฟ 3 – 6 บาท /ชม. แต่ละบ้านมักจะหุงข้าววันละครั้งเพื่อหุง และเลือกฟังก์ชั่นอุ่นในมื้อต่อไป หม้อหุงข้าวกินไฟน้อยกว่าเตารีดและเครื่องดูดฝุ่นเพียงนิดเดียว หากเป็นเครื่องเล็ก ๆ 1 ลิตรก็กินไฟไม่มาก แต่จะใช้กำลังไฟเยอะตามขนาดของหม้อ
12. เครื่องปิ้งขนมปัง ขนาด 760 – 900 วัตต์ ค่าไฟ 3 – 3.5 บาท /ชม. โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ อ่านคำแนะนำและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ตรวจเช็กให้แน่ใจว่าสายไฟไม่รั่วหรือชำรุด ขั้วต่อและเต้ารับแน่นสนิท และถอดปลั๊กทุกครั้งหลักเลิกใช้งาน
13. เตาแม่เหล็กไฟฟ้า 1 -2 หัวเตา ขนาด 2,000-3,500 วัตต์ ค่าไฟ 8 – 14 บาท /ชม.[ads]
กินไฟเท่าไหร่
หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่หลายท่านนะคะ อุปกรณ์ทั้งหมดนี้ คือสิ่งที่ใช้ในครัวเรือนเป็นประจำ แต่อย่าลืมนะคะใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย อย่าลืมถอดปลั๊กเมื่อไม่ใช้ เพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร และยังช่วยประหยัดไฟฟ้าได้อีกด้วยนะ
เรียบเรียงโดย : thaihitz.com
advertisement