advertisement

คืนนี้ปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ พระเอกแห่งหน้าหนาว


advertisement

      จากที่ก่อนหน้านี้ เฟซบุ๊กแฟนเพจ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page ได้ออกมาโพสต์เชิญชวนชมปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ครั้งใหญ่ส่งท้ายปี ที่จะเกิดขึ้นหลายปรากฏการณ์ ตลอดเดือนธันวาคมนี้

        ล่าสุด ทางเพจได้ออกมาเชิญชวนชมปรากฎการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ พระเอกแห่งฝนดาวตกหน้าหนาว โดยทางเพจได้ระบุว่า….

        "เวียนมาอีกครั้งกับ #พระเอกฝนดาวตกหน้าหนาว #เจมินิดส์ แต่เสียดายปีนี้ #แสงจันทร์แย่งซีน ทำให้สังเกตเห็นได้ยาก รอลุ้นชมเต็มตาปีหน้าครับบบ

        ฝนดาวตกเจมินิดส์ หรือฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง 4-17 ธันวาคมของทุก ๆ ปี ในคืนวันที่ 13 ถึงรุ่งเช้าวันที่ 14 ธันวาคม 2562 นี้คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการตกสูงสุดประมาณ 140 ดวงต่อชั่วโมง ศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณกลุ่มดาวคนคู่ ในปีนี้สภาพท้องฟ้าไม่เอื้ออำนวย เนื่องจากเป็นคืนดวงจันทร์แรม 2 ค่ำ ดวงจันทร์ขึ้นจากขอบฟ้าตั้งแต่เวลา 18:58 น. และตกลับขอบฟ้าในเวลา 07:18 น. ของวันถัดไป ทำให้มีแสงจันทร์รบกวนตลอดทั้งคืน จึงอาจสังเกตเห็นฝนดาวตกเจมินิดส์ได้ยากมาก

        “สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการชมฝนดาวตกเจมินิดส์ ต้องรอติดตามในปี 2563 คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการตกสูงสุดถึง 150 ดวงต่อชั่วโมง ในคืนวันที่ 13 ธันวาคม จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 14 ธันวาคม 2563 คืนดังกล่าวตรงกับช่วงจันทร์ดับ ท้องฟ้าจะมืดสนิท ไร้แสงจันทร์รบกวน จึงเป็นโอกาสดีที่จะสังเกตการณ์ฝนดาวตกได้ตลอดทั้งคืน”

        ฝนดาวตกเจมินิดส์ เกิดจากการที่โลกเคลื่อนที่เข้าตัดกับสายธารของเศษหินและเศษฝุ่นขนาดน้อยใหญ่ที่ดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟธอน (3200 Phaethon) ทิ้งไว้ในขณะเคลื่อนผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน เมื่อโลกโคจรผ่านเส้นทางดังกล่าว แรงดึงดูดของโลกจะดึงฝุ่นและหินเข้ามาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศโลกเกิดเป็นลำแสงวาบ หรือในบางครั้งเกิดเป็นลูกไฟขนาดใหญ่เรียกว่า (fireball)


advertisement

        ฝนดาวตกแตกต่างจากดาวตกทั่วไป คือเป็นดาวตกที่มีทิศทางเหมือนมาจากจุดๆ หนึ่งบนท้องฟ้า เรียกว่า จุดศูนย์กลางการกระจาย (Radiant) เมื่อจุดศูนย์กลางการกระจายตรงหรืออยู่ใกล้เคียงกับกลุ่มดาวใด ก็จะเรียกชื่อฝนดาวตกตามกลุ่มดาวนั้นๆ เช่น ฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต เป็นต้น"


advertisement

       นับว่าเป็นของขวัญจากฟากฟ้าที่จะมอบความสวยงามให้ได้ชมส่งท้ายปี 2019 กันค่ะ พรุ่งนี้ก็เตรียมตัวกันให้พร้อม ลุ้นกันว่าจะได้เห็นหรือไม่ค่ะ

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page 


advertisement