advertisement
ในแต่ละปีละปีโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้าง หรือว่าพื้นที่สีเขียว พื้นที่ธรรมชาติ ที่อาจจะถูกมนุษย์ทำร้ายลง หรือได้รับผลกระทบจากการกระทำของมนุษย์ หรือว่าได้รับผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน ล่าสุด ทางด้านเพจเฟสบุ๊ก IGreen ได้โพสต์ภาพเปรียบเทียบโลกในอดีตกับปัจจุบัน ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน เป็นยังไงนั้นตามไปดูกันเลยครับ
ภาพเปรียบเทียบจาก NASA เพื่อชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่แท้จริงในจุดต่างๆ ของโลกว่าเป็นอย่างไร ทั้งสภาพภูมิอากาศ แผ่นน้ำแข็ง และพายุทวีความรุนแรงมากขึ้น สถานที่ต่างๆ ประสบปัญหาน้ำท่วมมากขึ้นไฟป่าเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ความแห้งแล้งรุนแรง ฯลฯ
ทั้งนี้ NASA ได้ใช้เทคโนโลยีอวกาศเพื่อค้นหาสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก และเปิดตัวเว็บไซต์ Images Of Change เก็บภาพและข้อมูลก่อนหลังของสถานที่ต่างๆ บนโลกเพื่อเป็นการตอกย้ำว่าโลกร้อนนั้นไม่ใช่แค่มีอยู่จริง แต่มีผลกระทบให้เห็นกันจะจะทุกพื้นที่ทั่วโลก โดยได้ยกตัวอย่างมาเพียง 10 ภาพ
ความแห้งแล้งของทะเลสาบโปโปในโบลิเวีย
ทะเลสาบโปโปซึ่งเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโบลิเวียและเป็นแหล่งประมงที่สำคัญของชุมชนในท้องถิ่นได้แห้งเหือดลงอีกครั้ง เนื่องจากความแห้งแล้งและการผันน้ำไปใช้ในการทำเหมืองและการเกษตร ครั้งสุดท้ายที่แห้งคือในปี 1994 หลังจากนั้นก็ใช้เวลาหลายปีกว่าที่น้ำจะกลับคืนมาและกว่าที่ระบบนิเวศจะฟื้นตัว ซึ่งภาพได้เปรียบเทียบระดับน้ำระหว่างปี 2013 และ2016
advertisement
แผ่นน้ำแข็งในอาร์กติกต่ำเป็นประวัติการณ์
advertisement
พื้นที่มหาสมุทรอาร์คติกที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งจะเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาว จากนั้นจะหดตัวลงในช่วงฤดูร้อน โดยปกติจะถึงจุดต่ำสุดของปีในเดือนกันยายน ในภาพได้เปรียบเทียบค่าต่ำสุดในปี 1984 กับปี 2555 ที่มีแนวโน้มลดลงในระยะยาว จากการสูญเสียน้ำแข็งในทะเลประมาณ 12% ต่อทศวรรษนับตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1970 ซึ่ง โจอี้โคมิโซ นักวิทยาศาสตร์ของ NASA กล่าวว่า เป็นไปได้มากที่น้ำแข็งในทะเลฤดูร้อนของอาร์กติกจะหายไปอย่างสมบูรณ์ภายในศตวรรษนี้
ทะเลอารัลในเอเชียกลางหดตัวลง
ทะเลอารัลเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก หลังการสร้างเขื่อนในปี 2005 ทำให้แม่น้ำแยกออกเป็นด้านตะวันออกและตะวันตก ซึ่งภาพถ่ายดาวเทียมเปรียบเทียบปี 2016 และ 2017 ให้เห็นว่าทะเลทางตอนเหนือมีระดับน้ำมากขึ้นในขณะที่ทะเลทางใต้อยู่ในสภาพแห้งแล้ง รวมทั้งทำให้ฤดูหนาวของภูมิภาคนี้หนาวเย็นลงและฤดูร้อนจะร้อนและแห้งกว่า
advertisement
ธารน้ำแข็งที่ลดงในอุทยานแห่งชาติรัฐอะแลสกา
ภาพถ่ายปี 1941 แสดงให้เห็นถึงด้านล่างของธารน้ำแข็ง Muir และธารน้ำแข็ง Riggs ซึ่งอยู่ในอุทยานแห่งชาติ Glacier Bay ในรัฐอะแลสกา สหรัฐอเมริกา โดยภาพถ่ายปี 2004 Muir ได้ถอยห่างออกไปประมาณ 7 กิโลเมตร หรือแสดงถึงการลดลงของธารน้ำแข็งนั่นเอง
ภัยแล้งในทะเลสาบเพาเวลรัฐแอริโซนาและยูทาห์
ความแห้งแล้งที่ยืดเยื้อทำให้ระดับน้ำของทะเลสาบเพาเวลลดลงอย่างมาก ภาพเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าทางตอนเหนือของทะเลสาบที่ทอดตัวจากต้นน้ำแอริโซนาไปยังทางตอนใต้ของยูทาห์ ในภาพปี 1999 แสดงระดับน้ำใกล้เต็มความจุภายในเดือนพฤษภาคม 2014 ทะเลสาบลดลงเหลือ 42% ของความจุ ซึ่งเป็นวิกฤตภัยแล้งที่รุนแรง
advertisement
น้ำตกหิมะในขอบทะเลทรายซาฮาราหายไป
หิมะตกลงมาที่ขอบทะเลทรายซาฮาราทางตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกาในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2016 ซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้ยากสำหรับพื้นที่นี้ เซ็นเซอร์ Enhanced Thematic Mapper Plus (ETM +) ของดาวเทียม Landsat 7 จับภาพด้านซ้ายที่เป็นสีขาวเหนือแนวนอนสีคาราเมลทางตะวันตกเฉียงใต้ของชุมชน Ain Sefra ในแอลจีเรีย เมืองที่บางครั้งเรียกว่าประตูสู่ทะเลทราย แต่มีหิมะตก ซึ่งภาพที่ถ่ายโดย Landsat 8 พบว่าชุมชนแห่งนี้มีหิมะครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 1979 [ads]
ความแห้งแล้งของทะเลสาบโปโปในโบลิเวีย
ทะเลสาบโปโปซึ่งเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโบลิเวียและเป็นแหล่งประมงที่สำคัญของชุมชนในท้องถิ่นได้แห้งเหือดลงอีกครั้ง เนื่องจากความแห้งแล้งและการผันน้ำไปใช้ในการทำเหมืองและการเกษตร ครั้งสุดท้ายที่แห้งคือในปี 1994 หลังจากนั้นก็ใช้เวลาหลายปีกว่าที่น้ำจะกลับคืนมาและกว่าที่ระบบนิเวศจะฟื้นตัว ซึ่งภาพได้เปรียบเทียบระดับน้ำระหว่างปี 2013 และ2016
การพังทลายของชายหาดในรัฐเท็กซัส
ภาพเหล่านี้แสดงพื้นที่ทางตอนใต้ของเมืองฟรีพอร์ต รัฐเท็กซัส ซึ่งมีการสูญเสียชายหาดในอัตราเกือบ 15 เมตรต่อปี ความยาว 17 กิโลเมตร ถือเป็นหนึ่งในการกัดเซาะที่ใหญ่ที่สุด ทีมนักวิจัยจากเนเธอร์แลนด์ใช้ข้อมูลดาวเทียม Landsat ติดตามการเปลี่ยนแปลงของหาดทรายทั่วโลกในช่วงปี 1984 ถึง 2016 พบว่า 24% ของชายหาดกัดเซาะมากกว่า 0.5 เมตรต่อปี
ธารน้ำแข็งโคลัมเบียเปลี่ยนแปลงเร็วที่สุด
ธารน้ำแข็งโคลัมเบียในมลรัฐอะแลสกาที่ไหลเคลื่อนผ่านเทือกเขา Chugach เข้าสู่อ่าว Prince William Sound เป็นธารน้ำแข็งที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก การหดตัวอย่างรวดเร็วของธารน้ำแข็งก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลทั่วโลก ซึ่งในภาพได้เปรียบเทียบระหว่างปี 1986 กับ 2014
น้ำท่วมแม่น้ำเจมส์ในเซาท์ดาโคตา
ภาพเหล่านี้แสดงให้เห็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจมส์ทางตะวันออกของเซาท์ดาโคตา ภาพปี 2015 แสดงให้เห็นถึงแม่น้ำในฤดูใบไม้ผลิปกติ ในขณะที่ภาพปี 2020 มีน้ำล้นตลิ่ง และส่วนอื่นๆ ของแม่น้ำอยู่ในระดับน้ำท่วมตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิปี 2019
ฝนตกหนักน้ำท่วมเปรู
ฝนเริ่มตกหนักตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม 2017 ได้สร้างความเสียหายให้กับเปรูเป็นอย่างมาก จากรายงานระบุว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 70,000 คน และอีกกว่า 60 คนเสียชีวิตจากน้ำท่วมและดินโคลนถล่ม มีรายงานว่าถนนประมาณ 7,500 กม. และสะพาน 509 แห่งได้รับความเสียหาย ซึ่งในภาพได้เปรียบเทียบกับปี 2016 จะเห็นสีที่แตกต่างกัน
เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนเลยทีเดียวว่าโลกของเราเปลี่ยนแปลงไปในทางที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก ตอนนี้ยังแค่นี้ ต่อไปจะขนาดนี้ เราก็ต้องช่วยกันรักษ์โลกนี้ให้ไม่แย่ไปกว่านี้
เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก IGreen , NASA , Bored Panda
advertisement