advertisement
เสน่ห์ของการรีโนเวทก็คือยังคงโครงสร้างเดิมเอาไว้ ยิ่งถ้าเป็นบ้านหลังเก่าการรีโนเวทช่วยให้ยังคงรักษารูปแบบรูปทรงโครงสร้างหลังเก่าเอาไว้ให้เราได้เห็น วันนี้เราจะพาไปดูรีวิวการรีโนเวทบ้านไม้หลังเก่าที่เป็นมรดกจากคุณตาคุณยาย ตัวบ้านกินพื้นที่ซ้อนทับกับที่ดินอื่นเลยต้อง ยกบ้านและดีดบ้าน ก่อปูนชั้นล่าง บ้านยังคงความสวยงามคลาสสิกไว้เหมือนเดิม โดยทางด้านสมาชิกพันทิป หมายเลข 1789960 ได้โพสต์เล่าโดยระบุว่า…
ได้รับมรดกบ้านไม้เก่าของคุณตาคุณยายครับ บ้านหลังนี้อยู่ที่จังหวัดเชียงราย สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๔ (หมายความว่าสร้างก่อนหน้านี้ เนื่องจากสมัยก่อนต้องใช้เวลาในการสะสมไม้ต้องไปตัดเอาในป่ากว่าจะสร้างเสร็จหลายปี) เป็นบ้านไม้ทรงไทยทางภาคเหนือ มีห้องครัวแบบไทยแยกออกไปและมีสะพานไม้เชื่อม บ้านหลังนี้ผ่านการปรับปรุงมาหลายครั้งโดยเฉพาะในส่วนของหลังคาที่เคยเปลี่ยนมาแล้ว พอได้รับมรดกมาก็ปรึกษาญาติๆ หลายท่านก็แย้งบอกให้รื้อขายเป็นไม้ซะเพราะบ้านเก่ามากแล้ว ไอ้ผมก็เสียดายอยากเก็บไว้เป็นที่ระลึกเพราะเดี๋ยวนี้บ้านไม้ก็หายากแล้ว เลยดันทุกรังที่จะปรับปรุงให้ใช้งานได้ตามยุคสมัย ก็ลองดูกันเลยนะครับว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ภาพนี้เป็นภาพจาก google ดีใจที่ยังมีภาพเก่าๆ ต้องขอบคุณ google ครับ
นี่เป็นสภาพของบ้านก่อนการปรับปรุงครับ ผมก็ได้เข้าไปสำรวจสภาพไม้ในจุดต่างๆ
และพบว่ายังใช้งานได้ประมาณ 80% หมายความว่าต้องมีบางจุดที่ต้องมีการซ่อมแซมครับ
advertisement
เนื่องจากพื้นที่บ้านเดิมของตาและยายได้ถูกแบ่งให้กับลูกทั้งหมด 4 คน เท่าๆ กัน หลังจากเอาโฉนดมากาง ผมก็เริ่มเห็นปัญหาแล้วละครับ พบว่าตัวบ้าน ไปตกอยู่ในเขตพื้นที่ของคุณน้าและคุณลุง ดังที่เห็นนี่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่หลายคนเชียร์ให้ผมรื้อบ้าน แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาครับทุกอย่างสามารถแก้ไขได้
advertisement
ขั้นตอนต่อไปคือการปรับพื้นที่ครับ ด้านหลังบ้านเดิมเป็นบ่อปลาของคุณตาที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว ผมจึงทำการถมบ่อปลาดังกล่าวและปรับพื้นที่เพื่อรอการดำเนินการขั้นตอนต่อไป หมดงบประมาณในส่วนนี้ไปหมื่นกว่าบาท
advertisement
ก่อนจะลงมือทำก็เลยวางแผนคร่าวๆ ว่าหน้าตาของบ้านหลังจากปรับปรุงเสร็จน่าจะเป็นอย่างไร ผมก็เลยไปหาโปรแกรมเขียนแบบง่ายๆ google sketch up ลองมาร่างแบบคร่าวๆ ดู ได้หน้าตาออกมาเหมือนที่เห็นนี่แหละครับ (อันนี้คาดหวังว่าน่าจะได้อย่างนี้)
advertisement
เนื่องจากที่บอกไปแล้วก่อนหน้านี้ว่าตัวบ้านตกอยู่ในเขตที่ซ้อนทับกับที่ดินของญาติ ดังนั้นจึงต้องทำการย้ายตัวบ้านขยับเข้ามาอยู่ในเขตบ้านเรา ผมจึงได้ไปปรึกษากับช่างที่รับดีดบ้านย้ายบ้านเขาให้คำแนะนำกับผมว่าในส่วนของชานบ้านเดิม (ที่เป็นคอนกรีต) ไม่สามารถย้ายได้หรือหากจะย้ายก็จะใช้งบประมาณสูงจึงแนะนำให้ทุบทิ้งแล้วค่อยสร้างใหม่ ผมจึงว่าจ้างช่างในพื้นที่มาทำการทุบและรื้อส่วนนี้ออกไปหมดงบประมาณไปราว 3000 บาท
เมื่อพื้นที่พร้อม (รอหลายเดือนเลยทีเดียว แฮ่ๆ) มหกรรมการย้ายบ้านจึงเริ่มขึ้น ผมได้ช่างในพื้นที่ (เฮียมานิต อ.พาน) มารับเหมาทำให้ โดยตกลงค่าย้ายและดีดขึ้นเป็นเงิน 80,000 หลายท่านคิดบอกว่าแพงน่าดู คือผมจะบอกว่าผู้รับเหมาเขาจะคิดแพงหรือถูกขึ้นอยู่กับจำนวนเสาของบ้านครับ บ้านหลังนี้มีเสาทั้งหมด 22 ต้น อีกทั้งเป็นการย้ายและดีดขึ้นด้วย ราคานี้พร้อมค่าเสาสำเร็จ (เหล็ก 4 หุลเต็ม) ที่เขาจะเอามาใส่ให้ตอนดีดบ้านขึ้นครับ ผมก็คิดว่าสมเหตุสมผลละครับ ในรูปจะเห็นว่า ตัวบ้านได้ลาจากเสาเดิมเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ
–
–
วันรุ่งขึ้นเพื่อความไม่ประมาทผมจึงติดต่อช่างรับเหมาให้มาทำการเทคานยึดระหว่างเสาแต่ละต้นให้เรียบร้อย (ระหว่างนี้ก็มีอาฟเตอร์ช็อคมาอยู่เรื่อยๆ )
-[ads]
จากนั้นก็ทำการก่อยกพื้นขึ้นสูงราวเมตรกว่าครับ ในระหว่างนี้ชาวบ้านที่ผ่านไปผ่านมาก็จะแวะมาดูบ้าน แล้วก็อุทานออกมาว่า "บ้านหยังมาสูงแต๊สูงว่า" หมายความว่าทำไมบ้านสูงจัง ผมได้ยินคำนี้ทุกวัน ในใจก็คิดว่าอืม…มันยังไม่เสร็จครับ แฮ่ๆ
–
–
หลังจากก่อพื้นยกขึ้นแล้วก็ทำการเทพื้นใต้ถุนบ้านและมีก่อฝาผนังบ้างบางส่วน แต่ผมพบว่าฝีมือช่างกลุ่มนี้ไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่จึงให้หยุดงานไปก่อน
หลังจากงานยึดโครงสร้างเสาด้านล่างเรียบร้อยแล้ว ผมจึงว่าจ้างช่างอีกกลุ่มมาดำเนินการปรับปรุงหลังคา โดยแก้ไขจากทรงจั่วเดิมให้เป็นทรงไทยหรือทรงปั้นหยาก๋าย (ภาษาเหนือ) โดยใช้ไม้โครงสร้างเดิมมาปรับใช้ ระหว่างนี้ก็มีช่างหลายคนมาแนะนำว่าทำไมไม่ใช้เหล็กไปเลย บางคนบอกว่ามันอาจจะรับน้ำหนักกระเบื้องว่าวไม่ไหวนะ แต่ผมก็ยังยืนยันที่จะใช้ไหม้ในการทำโครงสร้าง เพราะเราสามารถเพิ่มในส่วนของ หน่องหนัก (ภาษาเหนือ) หรือตัวรับน้ำหนักเพิ่มได้
หลังจากนั้นก็เริ่มทำการมุงหลังคาครับ สังเกตุว่าช่างของผมมีแค่สองลุงป้าครับ คุณป้าก็ยืนให้กำลังใจกับคุณลุงที่ขึ้นบนหลังคา ช่างแถวบ้านนอกพอถึงฤดูทำนาเขาก็จะไปทำนากันหมดครับ เหลือเพียงสองคนนี้เท่านั้นที่เขาไม่ได้ทำนา ก็ค่อยๆ ทำกันไปครับ
อันนี้เป็นภาพหลังจากที่ปรับปรุงหลังคาบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้วครับ ดูดีขึ้นมาเลยทีเดียว หมดค่าใช้จ่ายสำหรับช่างในส่วนนี้ไปประมาณ 5 หมื่นบาทครับ
หลังจากทาสีด้านนอกเสร็จครับ ให้อารมย์เหมือนบ้านโบราณเหมือนเดิม
–
จากนั้นก็เริ่มทำสีครับ ผมเลือกสีที่มีชื่อว่า Chiang Mai Rose ครับ
เรียบร้อยแล้วครับสำหรับการปรับปรุงบ้านไม้เก่ามรดกของคุณตาคุณยายให้มีสภาพใช้งานได้ต่อไป ตอนนี้ 95% แล้วครับ เหลือเพียงการตกแต่งภายในเล็กน้อยกับการปรับภูมิทัศน์รอบๆ บ้านครับ ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามกระทู้ครับ
–
–
–
–
เป็นการรีโนเวทบ้านไม้หลังเก่าที่ทำออกมาได้สวยเป็นอย่างมาก คงความคลาสสิคไว้ได้อย่างดี มรดกจากคุณตาคุณยายจะอยู่ได้อีกหลายปีเลยทีนี้
เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก สมาชิกพันทิปหมายเลข 1789960
advertisement