advertisement
วันที่ 26 มี.ค. 63 นายอุตตม สาวนายน รมว.การคลัง เผยถึงความพร้อมของมาตรการชดเชยรายได้แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบหรือผู้ได้รับผลกระทบอื่นๆ ของการแพร่ระบาดโควิด-19 หรือมาตรการเยียวยา 5,000 บาท (3 เดือน) ซึ่งเป็นมาตรการภายใต้ชุดมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงทางอ้อมระยะที่ 2 ว่า
แรงงาน ลูกจ้างชั่วคราวและอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการได้ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 28 มี.ค.2563 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป ผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน http://xn--q3c.com/ ที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ลงทะเบียน ควรจะใช้โทรศัพท์มือถือที่สามารถติดต่อสื่อสารถึงผู้ลงทะเบียนได้ เพื่อระบบจะได้แจ้งผลการลงทะเบียนและสิทธิตามมาตรการให้แก่ท่านผ่านทางข้อความ (SMS) ได้
ในส่วนของการรับเงินเยียวยา จะสามารถรับได้ผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่ บัญชีธนาคารที่ชื่อและนามสกุลเจ้าของบัญชีตรงกับชื่อและนามสกุลที่นำมาลงทะเบียน หรือพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประจำตัวประชาชน
"จะทำการเปิดให้ลงทะเบียนไปเรื่อยๆ ไม่ได้จำกัด ซึ่งตรงนี้แตกต่างกับมาตรการชิมช้อปใช้ที่กำหนดว่าจะรับกี่คน เพราะขณะนี้เป็นภาวะวิกฤตที่ต้องการดูแลประชาชน จึงไม่ได้จำกัดระยะเวลา และจำกัดจำนวนคน ดังนั้นจึงอยากขอให้ประชาชนที่เข้าข่ายไม่จำเป็นต้องแข่งกันเข้ามาลงทะเบียน เพราะโครงการจะเปิดตลอด 24 ชั่วโมงเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน" นายอุตตม กล่าว
ทั้งนี้ ผู้ที่ลงทะเบียนและผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดจะได้รับเงินช่วยเหลือรายละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ระบบจะสามารถดำเนินการให้จ่ายเงินเยียวยาเข้าบัญชีของท่านได้เร็วสุดภายใน 7 วันทำการ โดยมาตรการเยียวยา 5,000 บาทนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ให้ครอบคลุมผู้ได้รับผลกระทบทุกคน หากผู้ลงทะเบียนและผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติมีจำนวนมากกว่า 3 ล้านคน กระทรวงการคลังก็พร้อมจะจัดสรรงบประมาณเพิ่ม [ads]
advertisement
หากใครไม่สามารถลงทะเบียนออนไลน์ได้ด้วยตนเอง ให้ขอความช่วยเหลือจากบุคคลใกล้ชิดในการช่วยลงทะเบียนออนไลน์ได้ โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ Call Center ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หมายเลขโทรศัพท์ 02-111-1144
advertisement
สำหรับผู้ที่มีสิทธิ์มาลงทะเบียน ประกอบด้วยอาชีพอิสระ เกษตรกร พ่อค้าแม่ค้า หาบเร่แผงลอย แท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ฯลฯ ที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลของระบบประกันสังคม และจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ส่วนที่เกิน 60 ปียังสามารถลงทะเบียนได้ เพราะบางรายอายุเกิน 60 ปี ยังประกอบอาชีพอยู่
ส่วนกรณีที่มีออกโซเชียลเป็นประกาศของธนาคารกรุงไทย และธนาคารออมสิน ที่ระบุว่า ไม่รับลงทะเบียนให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้สูงอายุนั้น ยืนยันว่าไม่ใช่ของจริง ดังนั้นการถือบัตรสวัสดิการหรือไม่คนละประเด็น รัฐบาลแยกออกไป จะมีบัตรหรือไม่มีบัตรสวัสดิการก็ได้ ยืนยันว่าประกาศนั้นเป็นเฟกนิวส์
ตอนนี้ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ต่างก็ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งทางภาครัฐเองก็จะช่วยเยียวยากันต่อไปตามลำดับค่ะ
เรียบเรียงโดย : thaihitz.com
advertisement