advertisement

หนุ่มอยากเห็นคนออกแบบฟุตปาธ ทำไมต้องปูแผ่นสีเหลืองด้วย รู้ความจริงหน้าหงาย


advertisement

       เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สังคมพูดถึง วิพากษ์วิจารณ์กันอยู่บ่อยครั้ง และก็ยังเจอปัญหาอยู่หลายพื้นที่ สำหรับ ฟุตปาธ หรือทางเท้าตามมาตรฐาน จะสร้างโดยใช้การบดอัดทรายให้แน่นแล้วเทคอนกรีตหยาบเป็นแผ่นรองพื้น จากนั้นจึงปูด้วยแผ่นกระเบื้องซีเมนต์ ที่ไม่มีเหล็กเสริมด้านใน ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็อาจจะแตกต่างกัน บางที่สร้างไม่ได้มาตรฐาน ทำให้พังจนการเป็นปัญหา 

        ล่าสุด ทางด้านผู้ใช้ TikTok @k2s_channel ได้โพสต์วิดีโอคลิปที่งงหลังจากที่เห็นฟุตปาธ ทางเท้าแผ่นกระเบื้องซีเมนต์ แล้วจะมีแผ่นกระเบื้องซีเมนต์สีเหลือง ปูตรงกลาง และจะปูหลบเสาไฟ เพื่ออะไร ทำไมไม่ปูแผ่นกระเบื้องซีเมนต์แบบเดียวกันไปเลย โดยได้โพสต์ระบุว่า…. 

55555 กูละอยากเห็นหน้าคนออกแบบ 

ทำเพื่ออะไร? 


advertisement

            หนุ่มสงสัยว่าทำไมไม่ปูเป็นแผ่นกระเบื้องซีเมนต์สีเดียวกันไปเลย ทำไมต้องปูแผ่นกระเบื้องซีเมนต์สีเหลืองตรงกลางให้ยุ่งยากด้วย เพราะอะไร เพื่ออะไร อยากเห็นหน้าคนออกแบบจริงๆ 


advertisement

โดยแผ่นกระเบื้องซีเมนต์สีเหลืองจะปูอยู่ตรงกลาง เป็นเส้นยาว และจะหลบหลีกเสาไฟตรงกลางด้วย เพื่ออะไร? 


advertisement

แต่ความจริงแล้วมีความหมายกว่าที่คิด 

ความคิดเห็นจากชาวเน็ต 


advertisement
         หลายคนคงยังไม่รู้ว่าอิแผ่นเหลืองๆ มีชื่อว่า เบรลล์บล็อก ให้ผู้พิการทางสายตาใช้เดินคล้ายๆกับอักษรเบรลล์ครับ แต่ผู้รับเหมาบางกลุ่มใช้ตกแต่ง 

วิจารณ์กันยับ 

        เบรลล์บล็อก (Braille Block) แผ่นปูพื้นที่มีสัญลักษณ์แทนตัวอักษรปรากฏอยู่บนทางเท้า ซึ่งสิ่งนี้ไม่ใช่การตกแต่งลวดลายบนพื้นแต่อย่างใด เพราะนวัตกรรมชิ้นนี้คือ เครื่องมือนำทางที่สร้างขึ้นมา เพื่อให้ผู้พิการทางสายตา สามารถใช้เดินทางได้อย่างสะดวกสบายและรวดเร็วขึ้นในชีวิตประจำวัน  

        เบรลล์บล็อก (Braille Block) ถูกพัฒนาคิดค้นโดยคุณครูผู้สอนในโรงเรียนตาบอดแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นที่ชื่อว่า เซะอิชิ มิยะเกะ (Seiichi Meyaki) ทางเดินนี้เป็นนวัตกรรมที่คนญี่ปุ่นเรียกกันว่า 点字ブロック (Tenji Burokku) หรือ Tactile Paving สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1965 ซึ่งก่อนที่คุณครูท่านนี้จะหยิบจับอักษรเหล่านี้ ขึ้นมาพัฒนาเป็นปุ่มกระเบื้องบนทางเดิน เดิมทีคุณครูตาบอดชาวฝรั่งเศสชื่อ หลุยส์ เบรลล์ เป็นผู้คิดค้นสัญลักษณ์แทนตัวอักษรขึ้นมาก่อน โดยเลือกใช้จุดนูนเล็ก ๆ ใส่ในแต่ละช่องรวมทั้งหมด 6 ตำแหน่ง และจัดวางสลับตำแหน่งไปมาเป็นรหัสแทนตัวอักษร เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาสามารถใช้เพื่อติดต่อสื่อสาร และเข้าถึงสิ่งต่าง ๆ ได้มากยิ่งขึ้น 

     แบบที่ 1 Warning Block

     ลักษณะเป็นปุ่มกลม ๆ ซึ่งมีความหมายว่า “ให้หยุด” หรือ แจ้งให้ทราบว่าทางข้างหน้าเป็น “ทางม้าลาย” หรือ “บันได” ในต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น ให้ความใส่ใจต่อผู้พิการทางสายตาเป็นพิเศษยิ่ง โดยแผ่นกระเบื้องบนทางเท้ายังมีเสียงแจ้งเตือนให้ทราบอีกด้วยว่า สัญญาณไฟจราจรขณะนี้เป็นสีเขียว หรือสีแดง เช่นหากเป็นไฟเขียว สัญญาณเสียงก็จะส่งเสียงให้ทราบเป็นจังหวะ แต่หากไฟจราจรกำลังจะเปลี่ยนสัญญาณ เสียงสัญญาณก็จะถี่ขึ้น หรือเร็วขึ้นนั่นเอง 

       แบบที่ 2 Guiding Block ลักษณะเป็นเส้นยาวตรง ซึ่งมีความหมายตรงตามสัญลักษณ์ นั่นคือ “ให้เดินตรงไป”

คลิกเพื่อ >>>ชมคลิป<<<

         สัญลักษณ์ทั้ง 2 แบบนี้ เมื่อผู้พิการทางสายตาใช้ไม้เท้าอำนวยความสะดวกในการเดิน ก็จะสามารถสัมผัสและเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น และที่สำคัญนอกจากอักษรเบรลล์ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ในการบอกทิศทางและอำนวยความสะดวกในการเดินแล้ว ยังมีเรื่องของ สี ซึ่งสีที่นิยมใช้คือ สีเหลือง เพื่อความสว่างและมองเห็นง่าย โดยกรณีนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการทางสายตาที่อาจจะมองเห็นได้บ้าง หรือผู้มีปัญหาทางการมองเห็นแบบเลือนราง 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก k2s_channel 


advertisement