advertisement
เป็นประเด็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันในช่วงวันลอยกระทงที่ผ่านมาก สำหรับ ปัญหาขยะจากการลอยกระทงเอง และอีกปัญหาที่น่าเป็นห่วงก็คือการลอยโคมลอย ที่อาจจะเกิดอันตรายต่อบ้านเรือน สายไฟฟ้า เป็นเหตุให้เกิดไฟไหม้ได้
ล่าสุด ทางด้านเพจ Lanna ได้โพสต์ภาพที่หาดูได้ยาก เป็นภาพที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 7 ทรงทอดพระเนตรการปล่อยโคมลอย ที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโคมลอยใหญ่สมัยโบราณที่ไม่ใช้ไฟแต่ใช้ควันจากไฟ โดยทางเพจระบุว่า…
ภาพ : ในหลวงรัชการที่ 7 ทรงทอดพระเนตรการปล่อยโคมลอย ที่ จ.เชียงใหม่ ประเพณีดั้งเดิมจริงๆ "โคมลอย" คือ "โคมฮม" ที่ใช้ควันซึ่งมีอากาศร้อนเป็นตัวทำให้ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า ส่วน "ว่าวไฟ" นั้น ไม่ใช่ "โคมลอย" แต่คนเอาไปเรียกผิดๆ ว่าเป็นโคมลอยไปทั้งหมด ประเพณีดั้งเดิมจริงๆ จึงไม่มี "ว่าวไฟ" หากท่านศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนาโดยถ่องแท้ จะพบว่า "ว่าวไฟ" เพิ่งมีมาไม่นาน ไม่เกิน 30 ปีที่ผ่านมานี่เอง..
"แต่ก่อนมีแต่โคมลอย ทางเหนือเฮาฮ้องว่า "โกมลอย" ทำจากกระดาษสีๆ เอามาแปะต่อๆ กัน แล้วก็ใส่ควันเข้าไป พอแรงดันได้มันก็จะลอยขึ้นไป ไม่เคยเกิดเหตุไฟไหม้ เพราะมันมีแต่ควัน จะมีประทัดเล็กๆ ร้อยเป็นสายติดไปด้วย แต่แป๊บเดียวมันก็ดับ แล้วเวลาเฮาปล่อยโคม เฮาก็จะบอกว่าปล่อยเคราะห์ปล่อยโศก แล้วถ้าโคมไปตกที่บ้านใครก็ถือว่าโชคร้าย โชคไม่ดี ต้องนิมนต์พระมาถอน ตอนหลังเลยมีการเขียนชื่อลงไป จะได้ตามได้ว่าใครเป็นเจ้าของเคราะห์นั้น" วรวิมลกล่าว (จากบทสัมภาษณ์ นสพ.กรุงเทพธุรกิจ)
ทรงทอดพระเนตรการปล่อยโคมลอย ที่ จ.เชียงใหม่
advertisement
เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในการทำโคมลอยกับความเชื่อในการลอยความทุกข์โศกออกไป ใช้ควันจากไฟให้โคมลอยขึ้นได้ หมดห่วงเรื่องไฟไหม้เมื่อโคมตกลงพื้น
เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก Lanna
advertisement
advertisement