advertisement

กระจ่าง รถไฟชนรถบัส ทำไมรถบัสเสียหายหนัก รถไฟไม่เป็นอะไรเลย


advertisement

      จากกรณีอุบัติเหตุครั้งใหญ่ สำหรับ รถไฟชนบัสคณะกฐิน บริเวณจุดตัดรถไฟ สถานีชุมทางคลองแขวงกลั่น ต.บางเตย อ.เมืองฉะเชิงเทรา ทำให้เกิดความสูญเสียเป็นจำนวนมาก สร้างความสะเทือนใจให้กับสังคมเป็นอย่างมาก 

       ล่าสุด ทางด้านสมาชิกพันทิปหมายเลข 3808787 ได้โพสต์สอบถามเกี่ยวกับข้อสงสัยเกี่ยวกับอุบัติเหตุครั้งนี้ว่าทำรถไฟไม่ได้รับความเสียหายเลย โดยระบุว่า…  

        สงสัยกรณีรถไฟชนรถบัส ทำไมคนในรถบัสได้รับความเสียหายอย่างหนัก แต่คนขับรถไฟไม่เป็นไรเลย 

         อยู่ในรถบัสโครงเหล็กทั้งดุ้น โดนรถไฟซึ่งก็ไม่ใช่วิ่งมาเร็วอะไร ประมาณน่าจะ 70 กม./ชม. ชนแล้วหัวรถบัสแค่หันไปอีกทาง ไม่ได้โครงสร้างฉีกขาดอะไรเลย  แต่ทำไมคนในรถบัสได้รับความเสียหายอย่างหนัก ในขณะที่คนขับรถไฟไม่เป็นไร

ความคิดเห็นจากชาวเน็ต 


advertisement

       ดูจากคลิปนี้นะครับ รถไฟชนรถบัสจากด้านข้างฝั่งซ้าย  โดยชนค่อนไปทางหัวรถบัส ทำให้รถบัสหมุนเหวี่ยงอย่างแรง  และตัวถังรถบัสก็ฉีกขาดมาก และถูกรถไฟลากไปด้วย คนในรถบัสจึงถูกเหวี่ยงออกมาบาดเจ็บ และสูญเสียกันเยอะ ส่วนรถไฟนั้นมีโมเมนตัมสูงมากเพราะมันเป็นรถไฟลากตู้คอนเทนเนอร์ น่าจะมีมวลหลายร้อยตัน  หลังการชนความเร็วแทบไม่ลดลงเลย เพราะชนกับรถบัสมวลแค่ 10 – 15 ตัน  ดังนั้น  เมื่อรถไฟความเร็วแทบไม่เปลี่ยน  จึงไม่มีการเปลี่ยนโมเมนตัม  ไม่มีการดล (Impulsive)  คนขับรถไฟจึงไม่เป็นไรเลยครับ [ads]


advertisement

       รถบัสโครงสร้างเป็นแผ่นเหล็กบางๆ ขึ้นโครงโดยเหล็กกลมหรือเหล็กกล่อง  ส่วนที่แข็งที่สุดคือ แชสซี รถไฟเหล็กกล้าทั้งคันยันล้อ


advertisement

        หัวรถจักร (CSR SDA3) มีนํ้าหนักเฉพาะหัวรถจักร 120 ตัน + นํ้าหนักเชื้อเพลิงรถไฟนํ้าดีเซล 5.5 ตัน แคร่ขนสินค้าเปล่า นํ้าหนัก 17 ตัน x 20 ตู้คอนเทนเนอร์เปล่า 40 ฟุต มีนํ้าหนัก 3.8 ตัน 1 ตู้คอนเทนเนอร์บรรทุกสินค้านํ้าหนัก 26 ตัน  

        ปกติจะวิ่งพ่วงลาก 20 แคร่บรรทุกสินค้า  = 40 ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต (หนักตู้ละ 29.8 ตัน) = นํ้าหนักสินค้าที่รถไฟลาก จากแหลมฉบังไป ICDลาดกระบัง
รถไฟจะบรรทุกสินค้าไปมีนํ้าหนัก 1,192 ตัน รวมกับนํ้าหนักรถไฟหัวรถจักรและแคร่เปล่า20+เชื้อเพลิง = 465.5 ตัน

        = ขบวรถไฟขนสินค้ามีนํ้าหนักทั้ง 1,657 ตัน

      ด้วยน้ำหนักและทิ้งทางในการชน ทำให้รถบัสเป็นฝ่ายที่เสียหายหนักกว่า รถไฟแทบจะไม่เป็นอะไรเลย รู้แบบนี้แล้ว การข้ามทางรถไฟทั้งที่มีไม้กั้นหรือไม่มีต้องระวังให้มาก 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก สมาชิกพันทิปหมายเลข 3808787 


advertisement