advertisement

การเซ็นลายเซ็นที่ง่ายๆ ในการทำธุรกรรมการเงิน อันตรายจริงไหม?


advertisement

       ถ้าหากพูดถึงเรื่องของการเซ็นลายชื่อเอกสารที่สำคัญ จะต้องเซ็นลายเซ็นเป็นลายมือของเราที่ผู้อื่นไม่สามารถปลอมแปลงได้ง่ายๆ ล่าสุด ทางด้านสมาชิกพันทิปหมายเลข 1412736 ก็ได้สอบถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ เพราะหลังจากที่ไปเซ็นเอกสารที่ธนาคารมา เจ้าหน้าที่ทักว่าเป็นลายเซ็นที่ง่ายต่อการปลอมแปลง อยากสอบถามชาวเน็ตว่ามีใครเคยเจอเซ็นลายเซ็นง่ายๆ แล้วเกิดปัญหาหรือไม่ โดยระบุว่า…

       วันนี้เราไปที่แบงค์มา เจ้าหน้าให้เราเซ็นลายเซ็นให้เหมือนกับสมุดธนาคารที่เปิดไว้ พอดีเจ้าหน้าที่ทักว่า ลายเซ็น เซ็นง่ายจัง เลยได้คุยกันเรื่องลายเซ็นนิดหน่อย พอมานั่งคิดดู ลายเซ็นเราง่ายจริงด้วย อยากทราบว่าเพื่อนๆ มีลายเซ็นแบบไหนค่ะ ยาก ง่าย เคยมีปัญหาอะไรเกี่ยวกับลายเซ็น ที่ ง่ายๆไหมค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

ความคิดเห็นจากชาวเน็ต 


advertisement

      เวลาถูกปลอมลายเซ็น และเป็นคดีความกัน จะมีการนำลายเซ็นที่ถูกปลอมและลายเซ็นจริงไปตรวจพิสูจน์ (เอาไปเทียบกัน) ส่วนมาก ลายเซ็นเส้นขีกๆยึกยือๆ เจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์จะไม่สามารถระบุได้ค่ะ ว่าลายเซ็นนั้นเป็นลายเซ็นปลอมรึเปล่า แต่ถ้าลายเซ็นเป็นแบบเขียน (คือเขียนชื่อไปเลยค่ะ) แบบนี้ เจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์สามารถตรวจได้ค่ะว่าปลอมหรือจริง เพราะแบบตัวเขียน แต่ละตัวอักษรจะมีการลงน้ำหนักหนักเบาต่างกันค่ะ

      (ทั้งหมดนี้ เอามาจากประสบการณ์ที่เคยเห็นรายงานการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อ และจากการเข้าอบรมการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อค่ะ)

      รู้จักอัยการท่านนึง จะมี 2 ลายเซ็น ลายเซ็นง่ายๆ สำหรับเซ็นตอนทำงานค่ะ (เพราะต้องเซ็นเยอะ วันนึงเซ็นหลายสิบครั้ง บางวันถึงร้อยก็มี) และจะมีลายเซ็นยากๆแบบตัวเขียนอีกลายเซ็นนึง สำหรับทำธุรกรรมทางการเงินค่ะ

       ปล.เคยมีคนแนะนำเราว่าให้ใช้ลายเซ็นตัวเขียนเป็นภาษาไทย เพราะคนต่างชาติจะปลอมยากหน่อยค่ะ


advertisement

       นานแล้ว นายเราเคยสอนไว้ว่า หากมีหน้าที่สำคัญ เช่น เซ็นเช็ค และหากมีผู้ปลอมแปลงลายเซ็นจะเกิดความเสียหาย ให้ป้องกันดังนี้

       1. เซ็นด้วยปากกาด้ามเดียวกันตลอด นายมีปากกาที่ใช้เซ็นชื่อ นามสกุลอย่างเดียว ไม่ใช้อย่างอื่น

       2. ใช้ปากกาหมึกซึม และใช้หมึกสีเดียวกันตลอด นายเราใช้หมึกน้ำเงินเข้ม (Dark Blue) ยี่ห้อเดียว ไม่เคยเปลี่ยน (ใช้หมึกสีดำแล้วไม่รู้ว่าถ่ายเอกสารหรือต้นฉบับ)

       3. ลายเซ็นที่ลากเส้นยาว จะปลอมยากกว่าลายเซ็นเส้นสั้น ๆ โดยเฉพาะหากใช้ปากกาหมึกซึม ปริมาณหมึกที่กองตรง ท้ายเส้นก่อนยกปากกา จะเป็นสัญญลักษณ์ที่คนอื่นปลอมไม่ได้

       ตอนนั้นเราเป็นพนักงานระดับล่าง ไม่รู้จริงแค่ไหน นายว่าไงก็พยักหน้า แต่พอจำได้คร่าว ๆ นายเป็นเยอรมัน นามสกุล Pohl เซ็นเฉพาะนามสกุล ลากเส้นยาว ๆ เส้นเดียวขึ้น ๆ ลง ๆ อ่านออกว่า Pohl ซะด้วย


advertisement
เอกสารสำคัญก็ควรเซ็นให้ยากหน่อย        

       กันไว้ดีกว่าแก้ ถ้าหากว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ เอกสารสำคัญ ก็ควรที่จะเซ็นให้ยาก ปลอมได้ยาก เพื่อประโยชน์ของตัวผู้เซ็นเอง 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก สมาชิกพันทิปหมายเลข 1412736


advertisement