advertisement

การให้เงินพ่อแม่ทุกเดือน เป็นวัฒนธรรมเอเชีย หรือมีแค่ที่ไทย


advertisement

      เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ลูกๆ หลายบ้านทำคือการให้เงินพ่อแม่ในทุกๆ เดือน ให้พ่อแม่เอาไว้ใช้ส่วนตัวท่าน พ่อแม่บางคนก็เก็บไว้ให้ลูกเหมือนเดิมนั่นแหละ เผื่อฉุกเฉินมีค่าใช้จ่าย แต่บางครอบครัวก็ไม่เหมือนกัน ไม่ได้ให้เงินแม่ในทุกๆ เดือน ก็ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะว่าการดูแลพ่อแม่แต่ละบ้านไม่เหมือนกัน 

        ล่าสุด ทางด้านสมาชิกพันทิปหมายเลข 2656139 ได้โพสต์ความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเงินให้พ่อแม่ทุกเดือนคือวัฒนธรรมเอเชียไหม หรือมีแค่ที่ไทย โดยระบุว่า… 

       ตามหัวข้อเลยค่ะ เราไปเรียนต่างประเทศ ในยุโรปที่เพิ่งออก brexits ตั้งแต่ จบม.6 ยันป.โท ทำงานที่นั่นแปปนึง ตอนนี้กลับมาทำงานที่เมืองไทยแล้ว ได้คุยกับเพื่อนฝรั่ง/เอเชียที่นั่นเรื่องบริหารเงิน  พอเราบอก หักส่งให้ที่บ้านรายเดือน ทุกคนงงมาก ถามว่าค่าอะไรๆ

       เราก็ไม่รู้จะตอบว่าค่าอะไร บอกค่ากตัญญูที่เขาเลี้ยงเรามา* เพื่อนบอก that's parents dutyนะ ที่ไทยพ่อแม่คิดเงินด้วยหรอ จุกมาก ไม่มีใครต้องส่งให้ที่บ้านสักคน มีเราเนี่ย ขนาดเพื่อนฮ่องกง จีนมาเลยังไม่ส่งให้ที่บ้านเลย ทำให้งงว่า ตอนแรกคิดว่าasian culture พอเพื่อนเอเชียบอกไม่ได้ทำ เลยเอ๊ะว่า หรือเป็นแค่ที่ไทย

       Edit  * เราไม่ได้บอกว่าทุกครอบครัวต้องทำนะคะ เราเข้าใจดีว่าหลายท่านก็ไม่ได้ทำ แต่ก็เห็นว่า in general ในสังคมเรามันเหมือนผู้ใหญ่ปลูกฝังมารุ่นสู่รุ่นว่า นี่คือหนึ่งในหน้าที่ของลูก ก็เลยแปลกใจว่ามีแค่ที่ไทยไหม หรือ เอเชียประเทศอื่นมีไหม หรือในโลกนี้มีที่ไหนอีกไหมที่มีแบบนี้

       ** ขยายความ ค่ากตัญญูค่ะ เราอธิบายไม่ชัดเจนต้องขออภัย เราก็ไม่ได้พูดไปตรงๆว่า ค่ากตัญญู ค่าน้ำนมอะไรแบบนี้นะคะ เราอธิบายไปเหมือนกันค่ะว่า เป็นการตอบแทนบุญคุณที่เขาเลี้ยงมาจนโต แต่เพื่อนมองว่านั่นคือหน้าที่ของพ่อแม่ปกติอยู่แล้วนี่นา ต้องตอบแทนหรอด้วยการให้เงินทุกเดือนหรอ? ทำกันเป็นปกติมานานแล้วหรอ? เราคิดว่าถ้าเราพูดเรื่องรัฐสวัสดิการที่บ้านเราไม่ได้มีมาก คิดว่าเพื่อนอาจจะเข้าใจมากขึ้นนะคะ ใครคือคนต้นคิดไอเดีย อยากจะย้อนเวลาไปนั่งคุยด้วยสักที  


advertisement


advertisement

ความคิดเห็นจากชาวเน็ต ​

      น่าจะแล้วแต่บ้าน แต่หลายๆ ครอบครัวก็มีลูกเพื่อหวังให้ส่งเสียเลี้ยงดูตัวเองตอนแก่ โดยเฉพาะคนกลุ่มรากหญ้า  บางคนยังไม่ทันจะเรียนจบ หนี้ก็มากองท่วมหัวให้ช่วยชดใช้แล้ว แต่อีกมุมหนึ่ง บ้านเราลูกก็พึ่งพ่อแม่มากเกินไป บางคนขอเงินพ่อแม่ยันจบ ป.โท หรือเอาเงินเขาไปเรียนต่างประเทศเลยด้วยซ้ำ  ส่วนประเทศพัฒนาแล้ว  ​หลายๆ บ้านลูกแยกตัวออกไปดูแลตัวเองตั้งแต่จบ high school มีเงินก็เรียนมหาวิทยาลัย ไม่มีเงินก็ทำงานเลย  ถ้าจะเปลี่ยน culture ก็คงต้องทำตั้งแต่ต้นทางอ่ะ  พ่อแม่ก็จะได้ไม่ลำบากต้องเอาเงินมาจมกับลูกหมด   ไม่ใช่ว่าตอนเด็กอยากได้ culture ประคบประหงมแบบไทย  แต่พอหาเงินได้อยากได้ culture ดูแลตัวเองแบบฝรั่ง 


advertisement

       เมื่อ 40-50 ปีมาแล้ว การศึกษาภาคบังคับไม่มีเรียนฟรี อุปกรณ์ฟรี พ่อแม่ต้องหาเงินมาจ่ายค่าเทอมค่าหนังสือเรียน ทุกเปิดเทอม บางบ้าน ลูกได้เรียนแค่ภาคบังคับ จบ ป.4 เพราะครอบครัวไม่มีเงินส่งเรียนต่อ พ่อแม่เรา ยอมเอาเงินทุกบาททุกสตางค์ในบ้าน ส่งลูกเรียนจนจบ ป.ตรี พ่อแม่ ไม่เคยเก็บเงินไว้ เพื่อดูแลตัวเองเลย เขาทุ่มเทให้ลูกทุกอย่าง ถ้าพ่อแม่ทำแค่ that's parents duty เราคงได้เรียนแค่ ป.4 แล้วไปทำงานใช้แรงงาน ตอนนี้ เรายินดีที่จะส่งเงินให้พ่อแม่ทุกเดือนตลอดไปค่ะ 

         ครอบครัวเดิมลำบากไหมคะ  พ่อแม่มีลูกหลายคน กู้หนี้ยืมสิน ส่งคุณเรียน เรียนจบ คุณก็อยากช่วยเหลือพ่อแม่ ช่วยน้องให้เรียน แบ่งเบาภาระพ่อแม่ ถ้าครอบครัวเดิม พ่อแม่มีเงินเดือนสูง ไม่ได้ลำบาก ส่วนใหญ่ลูกไม่ต้องส่งให้ค่ะ แค่ครอบครัวคนไทย ก็ต่างกันแล้ว ไม่ต้องถามถึงต่างชาติค่ะ  บ้านเขาสวัสดิการคนสูงวัยดี เพราะจ่ายภาษีสูงตอนทำงาน มันเทียบกันยากนะ กับบ้านเรา เอาเป็นว่า ให้เงินพ่อแม่ สะดวกให้ก็ให้ค่ะ  ไม่สะดวกก็ไม่ต้อง มีคนเยอะแยะที่ไม่ได้ให้เงินพ่อแม่ แต่ดูแลท่านในรูปแบบอื่น  


advertisement

       ไม่รู้ว่า culture ไหน แต่ที่ไทย ก็ไม่ใช่ทุกครอบครัวที่จะส่งให้พ่อแม่รายเดือน เพราะถูกเลี้ยงดูและปลูกฝังมาคนละแบบ บางครอบครัวสอนว่า เรียนจบต้องส่งเงินให้พ่อแม่ ส่งน้องเรียน บางคนครอบครัวก็แค่ลูกเอาตัวรอดก็พอใจ เพราะที่บ้านไม่ได้ลำบาก ลูกบางคนเลยให้เป็นเดือน บางคนให้เฉพาะโอกาสพิเศษ ฉะนั้น แล้วแต่สะดวกและไม่เดือดร้อนของแต่ละคน 

       น่าจะอยู่ที่ครอบครัวค่ะ ถ้าที่บ้านเดือดร้อน เป็นหนี้ ไม่มีกินมีใช้ เราว่าคนชาติอื่นก็มีส่งเงินไปช่วยเหลือนะคะ และอย่างที่เมนท์อื่นว่า ถ้าสวัสดิการของประเทศนั้นดี พ่อแม่แก่ตัวไปได้รับเงินใช้รายวีคอยู่ได้สบายๆ ลูกๆ ก็ไม่ต้องช่วยเหลือเรื่องเงิน

         แต่ละครอบครัวไม่เหมือนกัน การดูแลพ่อแม่ไม่ใช่การให้เงินพ่อแม่เสมอไป มีรูปแบบอื่นอีกมากมายในการดูแลพ่อแม่ ไม่ให้พ่อแม่ลำบาก ดูแลทางใจให้มีความสุข ดูแลตอนแก่เฒ่าก็ดีแล้ว 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก สมาชิกพันทิปหมายเลข 2656139  


advertisement