advertisement
เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งในการตัดสินใจที่จะซื้อบ้านเพื่อให้ได้บ้านที่สมบูรณ์แบบและมาตรฐานที่สุด สำหรับ การให้วิศวกรและโฟร์แมน ตรวจสอบบ้านที่กำลังก่อสร้าง การตรวจสอบบ้านก่อนโอน เพราะว่าเราเองอาจจะมองด้วยตาไม่เห็น แต่ล่าสุด ทางด้านผู้ใช้เฟสบุ๊ก Rattanachot B. Thongpong ได้โพสต์สอบถาม หลังจากที่มีการตรวจโครงการก่อสร้าง โดยมีตำหนิ แทบทุกจุดเลยทีเดียว โดยระบุว่า….
ขออนุญาตสอบถามครับพี่ๆ เคสแบบนี้ มีคำแนะนำไหมครับ ควรดำเนินการแก้ไขอย่างไร ขออนุญาตสงวนเครดิตภาพ และโครงการนะครับ
เยอะขนาดนี้เลยหรอ
advertisement
ทุกจุดเลย
จะทำยังไงเนี่ย
advertisement
advertisement
– [ads]
–
advertisement
ความคิดเห็นจากชาวเน็ต
โอ๊ว แบบนี้ก็โหดเกินไปนะครับ จากประสบการณ์ที่ผมรับงานนอกเวลาตรวจสอบงานบ้านก่อนโอนมาร่วม 10 ปี แล้ว ( ตอนนี้ไม่ได้ทำแล้ว ) และอยู่ในวงการอสังหามาด้วย ( ฝั่งโครงการ ) ผมมองว่า
1. ผู้รับจ้างตรวจบ้านและคอนโด ก่อนโอน มีมากมายในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นวิศวกรที่มีใบ กว. และที่ไม่มี หรือมีวุฒิในระดับอื่นๆ หลากหลาย หรือมั่วมาก็มีนะครับ
2. อาชีพนี้ ไม่มีบทบัญยัติ หรือ กฏหมายควบคุม ทั้งของสภาวิศวกร วิศวกรรมสถาน และสภาสถาปนิก ทำให้ไม่มี standard ที่ชัดเจนออกมารับรอง method statement การทำงานที่ถูกต้องของอาชีพผู้ตรวจงานตรวจสอบก่อนโอนนี้ ทำให้หลงทิศหลงทางไปมาก และทำให้เกิดข้อทะเลาะโต้เถียงกันมาตลอดของฝั่ง เจ้าของโครงการ ลูกค้า และผู้รับจ้างตรวจ เกิดการทำงานเบี่ยงเบน เพื่อเอาใจเจ้าบ้าน หรือ บางครั้งก็กลัวเจ้าของโครงการ ที่มาลุมล้อมกันหลายคน เลยตรวจได้ไม่ตรงประเด็นที่สำคัญ
3. งานส่วนใหญ่ที่ตรวจๆกันเรียกว่า ตรวจ End. Product กันนะครับ เพราะงาน Finishing มันจบหมดแล้ว ถ้าในเชิงวิศวกรรมนั้นควรตรวจ Inprocess มากกว่านะครับ
4. ถ้าผมมีโอกาสเข้าประชุมกับสภาวิศวกร จะยกเรื่องนี้ถามความเห็นอาจาร์ยหลายๆท่าน เพื่อให้อาชีพนี้ งานนี้ มีหลักการมาตรฐานที่ถูกต้อง เพื่อยกระดับงาน มิใช่มาหากินแบบไม่มีมาตรฐานกันครับ
ตรวจแบบนี้สร้างเองเถอะ
เป็นการตรวจงานที่ต้องบอกเลยว่าทำเอาคนสร้างท้อใจเลยทีเดียว มันจะผิดอะไรขนาดนั้น ผิดไปแทบทุกจุดเลย แล้วจะแก้ยังไงล่ะงานนี้
เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก Rattanachot B. Thongpong
advertisement