advertisement

ชวนร่วมประกวด ออกแบบป้ายรถเมล์ใหม่ในใจคุณ รางวัลรวมกว่า 600,000 บาท


advertisement

      เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมดีๆ ที่อยากจะให้คนมีฝีมือในเรื่องของการออกมาร่วมแข่งขัน สำหรับ การประกวดป้ายรถเมล์ใหม่ในใจคุณ ที่มีรางวัลสูงถึง600,000 บาท โดยเป็นป้ายรถเมย์ กว่า 1,000 ป้ายที่กำลังจะปรับปรุงในอนาคต โดยทางด้านเพจเฟสบุ๊ก โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure ได้แจ้งข่าวโดยระบุว่า… 

        ออกแบบป้ายรถเมล์ใหม่ในใจคุณ ร่วมประกวดป้ายด้วยตัวคุณเอง รางวัลรวมกว่า 600,000 บาท [สมัคร และ ส่งแบบได้ถึง 17 ธันวาคม 63] โครงสร้างพื้นฐานประเทศไทย 

        สำนักการจราจรและขนส่ง – สจส. ข่าวดีจ๊ะพี่ เรียนเชิญพ่อแม่พี่น้อง ที่มีไอเดียในการออกแบบป้ายรถเมล์ในดวงใจ มาช่วยกันออกแบบ ป้ายรถเมล์มาตรฐานใหม่ของ กทม. กว่า 1,000 ป้ายที่กำลังจะปรับปรุงในอนาคต ซึ่งรอบนี้ ทาง กทม. จะทำการเปิดรับไอเดียการออกแบบป้ายรถเมล์ จากประชาชนทั่วไป เพื่อนำไปพัฒนา เป็นป้ายรถเมล์ในอนาคต

        เว็บไซต์โครงการ https://mayday.city

        แต่ไม่ได้ให้มาทำงานฟรีๆ เด้อ รางวัลรวมกว่า 600,000 บาท ไม่ใช่เล่นๆ โดยงานนี้ แบ่งการประกวด เป็น 2 กลุ่ม คือ

        1. กลุ่มนักเรียน นักศึกษา (กำลังศึกษาอยู่ ไม่เกินระดับปริญญาตรี)

        2. กลุ่มบุคคลทั่วไป


advertisement

        ผู้ส่งแบบสามารถเสนอทั้งเดี่ยวและทีม สูงสุดไม่เกิน 5 คน

        รายละเอียดและโจทย์ในการส่งแบบ https://drive.google.com/…/19Xmu0CaCV9N2ZfCYnn1…/view…

        รายละเอียดโครงการประกวดแบบ ป้ายรถเมล์ใหม่ กทม.


advertisement

        – โจทย์การออกแบบป้ายรถเมล์ในฝัน

        1. สะดวก

        1) ศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจําทางควรมีความเหมาะสมต่อการพักคอยและยืนรอในระยะเวลา 30 นาที

        2) สามารถใช้งานได้ทั้งในเวลากลางวัน / กลางคืน

        3) สามารถรองรับปริมาณผู้พักคอยหนาแน่นได้ในพื้นที่ที่จํากัด

        4) มีความเหมาะสมต่อผู้เดินทางคนเดียวพร้อมสัมภาระอย่างต่ำ 1 ชิ้น (สะพายหลัง / สะพายข้าง)

        2. ปลอดภัย

        1) งด! พื้นที่จุดเสี่ยง หรือพื้นที่จุดอับสายตา เพื่อป้องกันความเป็นไปได้ในการเกิดเหตุอาชญากรรม

        2) พื้นที่ติดกล้องวงจรปิดที่สามารถมองเห็นพื้นที่โดยรอบได้

        3) รองรับระบบเตือนภัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

        4) โครงสร้างแข็งแรง ทนทานต่อสภาพอากาศในกรุงเทพมหานคร

        3. เหมาะสม

        1) เข้าถงึ ได้ง่าย เหมาะสมกับสภาพทางเท้า ไม่กีดขวางการสัญจรบนทางเท้า

        2) กําหนดให้มขี นาดความกวา้ งของศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจําทาง ตงั้ แต่ 1.50 – 3.00 เมตร (ความกวา้ งของหลังคาในแนวขวางของทางเท้า)

        3) สามารถให้ร่มเงาเชื่อมต่อกับพื้นที่โดยรอบได้

        4. ไม่หลง

        1) มีพื้นที่ข้อมูลดังต่อไปนี้ ป้ายชื่อศาลา, เลขสายรถประจําทางที่ให้บริการ, ตารางเวลาการเดินรถ, จอแจ้งเวลา ที่ให้บริการ และแผนที่เส้นทางเดินรถ

        5. สร้างสรรค์

        1) มีอัตลักษณ์ความเป็นเมืองกรุงเทพมหานคร

        – ขนาดพื้นที่ในการออกแบบ

        ไม่จำกัดขนาดทางยาว (ด้านขนานฟุตบาท) แต่ความลึก 1.5-3 เมตร (ความกว้างฟุตบาทในการก่อสร้างป้ายรถเมล์)

        การประกวดแบบแบ่งเป็น 2 รอบ คือ

        รอบที่ 1 Concept Design

        – เนื้อหาที่ต้องนําเสนอ

        1) งานออกแบบ ออกแบบแบบร่าง (Sketch Idea) ที่จะสะท้อนแนวคิดการออกแบบศาลาฯ ที่ใช้เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ และตอบโจทย์การเดินทางภายในเมืองกรุงเทพฯ

        2) คําบรรยาย บรรยายแนวคิดแบบร่าง (Sketch Idea) ศาลาฯ พร้อมตอบคําถาม เบื้องต้นเกี่ยวกับทัศนคติที่มีต่อ ศาลาฯ กับบริบทโดยรอบ

        – รูปแบบการนําเสนอ

        1) PowerPoint จํานวน 5 หน้า

        หน้าที่ 1 : แนวคิดและภาพรวมการออกแบบศาลาฯ หน้าที่2:รูปภาพแสดงแบบร่าง(SketchIdea)‘ด้านหน้า’ศาลาพกัผู้โดยสารรถประจําทาง

        หน้าที่ 3 : รูปภาพแสดงแบบร่าง (Sketch Idea) ‘ด้านข้าง’ ศาลาพักผู้โดยสารรถประจําทาง

        หน้าที่ 4 : บรรยายแนวคิดการออกแบบศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจําทาง

        หน้าที่ 5 : ตอบคําถามประเมินทัศนคติที่ว่า “อาม่าทอดลูกชิ้นขายที่ศาลามา 10 กว่าปีแล้ว อาม่าควรย้าย ศาลาควรย้าย หรืออาม่ากับศาลาอยู่ด้วยกันได้เพราะอะไร?”

        รอบ 2 รอบสุดท้าย (10 ทีม/กลุ่ม) พร้อมกับได้รับทุนในการต่อยอดแบบ 5

        – กิจกรรม Workshop : User Centric Design

        มีการสัมมนา เรื่องป้ายรถเมล์ที่ดี 2 วัน 1 คืน ให้ผู้เข้ารอบ วันที่ 9-10 มกราคม 2563

        – เนื้อหาที่ต้องนําเสนอ ประกอบการนําเสนอ ได้แก่


advertisement

        1. งานออกแบบ

        1.1) แบบจําลองศาลาฯ (Model) มาตราส่วน 1:10 (ขนาดพื้นที่จัดแสดง A2 งบประมาณทีม

        ละ 5,000 บาท)

        1.2) บอร์ดนําเสนอผลงาน (Presentation Board) ขนาด A1 จํานวน 2 แผ่น เนื้อหา

        1.2.1) รูปด้านสองมิติ (Elevations)

        1.2.2) รูปตัด (Primary Section)

        1.2.3) ภาพที่มองจากด้านบน (Primary Floor Plans) 1.2.4) รายละเอียด (Details)

        1.2.4.1) วัสดุหลัก (Key Materials)

        1.2.4.2) การวางผังและภูมิทัศน์ (Site or Landscape) 1.2.5) ไดอะแกรม (Diagrams)

        1.2.6) รูปทัศนียภาพ (Perspective)

        2. รูปแบบการนําเสนอ

        1) บอร์ดนําเสนอผลงาน (Presentation Board) ผู้เข้าประกวดจะต้อง จัดพิมพ์ขนาด A1 พร้อมสําหรับ

        การจัดแสดงคู่กับโมเดล และนําเสนอต่อหน้าคณะกรรมการ และจัดพิมพ์ขนาด A4 จํานวน 22 ชุด เป็นเอกสารประกอบการนําเสนอ แก่คณะกรรมการ

        2) จัดทําดิจิทัลไฟล์ บอร์ดนําเสนอผลงาน (Presentation Board)

        การสมัคร และส่งแบบ

        สามารถสมัครโครงการและส่งแบบได้จากลิ้งค์นี้ https://forms.gle/SDGnHvAS5BnVWsGU9


advertisement
— [ads]

        ผมอยากจะชวนพี่ๆน้องๆ ที่มีไอเดียในการออกแบบป้ายรถเมล์ ที่บ่นๆกันมาตลอด มาปล่อยของกันครับ ได้ไม่ได้ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่สำคัญกว่าคือเรามีโอกาสในการออกแบบเมือง ด้วยตัวของเราเอง

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure 


advertisement