advertisement

ติดตั้งโซล่าเซลล์ 14 แผง เปิดแอร์ทั้งวัน 4 เครื่อง บิลค่าไฟมาจ่ายหลักสิบ


advertisement

         ช่วงนี้ต้องบอกเลยว่าค่าครองชีพปรับสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นราคาสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ ปรับตัวสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ข้าวอาหาร ตั้งแต่มาม่า ปลากระป๋อง รวมไปถึงเรื่องของค่าไฟ กกพ.ปรับขึ้นค่าไฟเป็น 4 บาทต่อหน่วย ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม – สิงหาคม 2565 ทำให้หลายคนหันมาให้คนสนใจเกี่ยวกับแผงวงจรแสงอาทิตย์หรือโซล่าเซลล์ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่สามารถแปลงพลังงานแสงหรือโฟตอนเป็นพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้งานภายในบ้านได้ 

        ล่าสุด ทางด้านผู้ใช้เฟสบุ๊ก หัสธนนท์ หลักหลวง ได้โพสต์รีวิวการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ด้วยตัวเอง แผง 600w จำนวน 8 แผง และ 420w  จำนวน 6 แผง นำไฟมาใช้ภายในบ้าน จะประหยัด ใช้งานได้เยอะขนาดไหนนั้นตามไปดูกันเลย โดยได้โพสต์ระบุว่า….

ค่าไฟพอได้ครับ โซล่าเซลล์ระบบบ้าๆ บวมๆ กลางวันเปิดแอร์ 12,000BTU 4 ตัว กลางคืน 3 ตัว ใช้ไฟบ้าน 3 หลัง (มือใหม่ครับ)


advertisement

          เจ้าของบ้านเลือกติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ด้วยตัวเอง แผง 600W  จำนวน 8 แผง และ 420W  จำนวน 6 แผง รวมแล้ว 7,320W โดยช่วงกลางวันมีการเปิดแอร์ 12,000BTU จำนวน 4 เครื่อง ส่วนในช่วงกลางคืนเปิดแอร์ จำนวน 3 เครื่อง และใช้ไฟบ้านถึง 3 หลัง 

        มาดูระบบด้านในที่ติดตั้งเอง โดยใช้แบตเตอรี่ 100A จำนวน 12 ลูก ราคาแบตเตอรี่ลูกละ 13,500 บาท รวมแล้วเฉพาะแบตเตอรี่ ก็ 162,000 บาทแล้ว มีการติดตั้งกล้องดูการทำงาน สามารถเข้ามือถือเช็กได้ตลอดเวลาเลย เป็นอีกหนึ่งไอเดียดีๆ เราไม่ต้องเดินเข้าไปเช็กเอง แค่ดูผ่านทางกล้องวงจรผ่านมือถือ 


advertisement


advertisement

         ผลของการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์แผง 600W  จำนวน 8 แผง และ 420W  จำนวน 6 แผง มีการเปิดเครื่องปรับอากาศทั้งกลางวัน กลางคืนจำนวน 3-4 เครื่อง พอบิลค่าไฟมาถึงกับตกใจ แค่ 47.87 บาทเท่านั้นเอง แสดงว่าใช้ไฟจากการไฟฟ้าน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้ไฟจากระบบโซล่าเซลล์ 

ความคิดเห็นจากชาวเน็ต 


advertisement

ใช้ระบบ 48 v 55000 w ติดตั้งเองใช้ประมาณ 300,000 กว่าบาท 

อยากได้มาเปิดแอร์ กลางวัน-กลางคืนต้อง งบเท่าไหร่ เจ้าของโพสต์ตอบว่าต้องใช้งบประมาณแสนต้นๆ ก็น่าจะพอแล้ว 

        เป็นการลงทุนในระยะยาวที่คุ้มค่าเป็นอย่างมาก ระบบของบ้านนี้รวมๆ แล้วประมาณ 300,000 บาท ยิ่งช่วงนี้ค่าไฟปรับสูงขึ้น ถือว่าเป็นแนวทางในการลงทุนและลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวลงไปด้วย ใครที่ส่วนในก็ลองศึกษาหาข้อมูลกันดูก่อนได้ ไว้ไหมกับการลงทุน และต้องการขนาดแผงเท่าไหร่กับการใช้งานภายในบ้านตัวเอง 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com  ขอขอบคุณข้อมูลจาก หัสธนนท์ หลักหลวง 


advertisement