advertisement

ผู้ดูแลหอศิลป์สุดท้อ เด็กทำผลงานศิลปะพัง แต่แม่เด็กขอรับผิดชอบครึ่งหนึ่ง


advertisement

         เรื่องนี้คงต้องบอกว่า เป็นเรื่องดราม่าที่ให้แง่คิดทั้งเรื่องการประเมินค่าผลงานศิลปะ และให้ข้อคิดเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กของพ่อแม่เลยล่ะค่ะ กับเรื่องราวจากผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Wiroon Kingpaiboon ผู้ดูแลหอศิลป์ ที่เจอประสบการณ์สุดทำร้ายจิตใจจากครอบครัวหนึ่ง ที่เด็กมาทำผลงานศิลปะในงานเสียหาย แต่พ่อแม่เด็กกลับขอรับผิดชอบแค่ครึ่งราคา ผู้ใช้เฟซบุ๊กท่านนี้ ได้เล่าเหตุการณ์ทั้งหมดว่า….

        #เรื่องเล่าในวันที่ใจบาง(ดราม่านะครับ ใครไม่ชอบกดข้ามเลย)

        รู้สึกว่า…ช่วงนี้ตัวเองใจบางมากๆ จนไม่กล้าไปดูหนัง เรื่องโจ๊กเกอร์ คิดไว้ว่า…ต้องใช้เวลา…รักษาเยียวยาสักระยะให้ดีขึ้นแล้ว…ค่อยไปดู แต่แล้วก็มีเรื่องมาทำให้มันแตกออก….เมื่อวานนี้

        ในขณะที่ผมและทีมงานกำลังทำงานพิธีเปิดนิทรรศการศิลปะบนชั้นดาดฟ้า น้องทีมงานในห้องนิทรรศการ ก็วิ่งมาบอกว่า ”พี่ครับ มีคนทำงานศิลปะแตก” ในนาทีนั้นคิดว่า เป็นกรอบรูปที่ตกลงมาแตก แต่เมื่อลงมาดูพบว่า…ไม่ใช่

        ชิ้นที่แตกเป็นงานศิลปะจัดวาง ของศิลปินรุ่นใหม่ ที่เพิ่งรับรางวัลศิลปกรรมรุ่นเยาว์มาหมาดๆ (งานชิ้นนี้อยู่ในซีรีย์ที่ได้รางวัล)

        ภาพตรงหน้า ทำให้ผมเข่าอ่อน รู้สึกหน้าชา ใจไม่ดีเลย… เจ้าของผลงานกำลังให้สัมภาษณ์บนเวทีเสวนาอยู่ เราจะบอกน้องเขาอย่างไร เขาจะรู้สึกอย่างไรนะ หลายคำถามผุดขึ้นมาในใจทันที เมื่อตั้งสติได้ จึงรีบถามหาสาเหตุ พบว่าเป็นเด็กคนหนึ่งที่คิดว่า งานศิลปะเป็นล้อรถ เลยวิ่งมาผลักเล่น…

        คุณแม่น้องเขาบอกว่า “ ขอโทษด้วย ลูกคิดว่าเป็นล้อรถ น้องเขาดื้อไปหน่อยพ่อเขาจับไม่ทัน” ผมที่ไม่เคยมีลูก เลยเข้าไม่ถึงเหตุผลนี้ เลยแก้ปัญหาด้วยการขอเบอร์โทรติดต่อคุณแม่น้องเขา แล้วบอกว่า เราขอคุยกับน้องศิลปินเจ้าของผลงานก่อนว่า จะดำเนินการอย่างไรต่อ


advertisement

        เสร็จพิธีเปิดงานแล้วค่อยคุยกัน ผมรีบขึ้นไปดูแลพิธีเปิดงานต่อ จริงๆแล้ว ก็อยากขึ้นมาพักใจ ไตร่ตรอง ขอคำปรึกษาทีมงาน ศิลปินและเพื่อนๆเขา ก่อนว่าจะตัดสินใจแบบไหน

        เมื่อพิธีเปิดงานจบ น้องเจ้าของผลงาน กำลังพาประธานในพิธี อาจารย์ เพื่อนๆเขาลงไปชมผลงานนิทรรศการ ในห้องนิทรรศการ ก็ได้รับคำตอบว่าผลงานตัวเองเสียหาย ผมเห็นสีหน้าน้องเขา แล้วใจไม่ดีเลย เขาตัวสั่น พูดติดขัด บอกว่า “ไม่เป็นไรครับ ไม่เป็นไรครับพี่ “ แต่ผมอ่ะ เป็นไปแล้ว…จู่ๆ น้ำตาก็รื้นออกมา “ คิดในใจ “ แม่งเอ้ย!!! ทำไมต้องเป็นแบบนี้ด้วยวะ” แต่ภายนอกได้แต่นิ่ง แล้วพยายามแก้ไขเหตุการณ์ตรงหน้าต่อ ผมบอกน้องเขาว่า “เดี๋ยวค่อบคุยกับคนทำงานแตกเนาะ” น้องเขาลงมาเจอผลงานตัวเอง เขาก็เก็บผลงานให้เข้าที่เข้าทางผมเก็บภาพไว้ทันพอดี

        หลังจากนั้นแขกในงาน ประธาน อาจารย์ เพื่อนๆเขา ก็มาให้กำลังใจว่ามันเป็นอุบัติเหตุๆ จากนั้น….ผมก็กดโทรหาคุณแม่ของเด็ก ให้มาเจรจา เมื่อทั้งสามเจอกัน ผม(หอศิลป์) ศิลปิน และ คุณแม่น้องเขา ก็เกิดเดทแอร์หลายนาที ผมตัดสินใจพูดก่อน…ผมเสนอว่า…ควรชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับราคาที่น้องเขาติดไว้

        ศิลปิน ตัวสั่น แล้วพยายามยิ้มให้คุณแม่น้องเขา แล้วบอกว่า…” ผมไม่เป็นไร เข้าใจครับ ว่ามันเป็นอุบัติเหตุ“คุณแม่น้องเขา ขอโทษ บอกว่า “น้องเขายังเด็ก ขอชดใช้ ครึ่งราคา” หลังจากนั้น ผมไม่ขอเล่านะครับ มันไม่รู้จะเล่าแบบไหน …. #@#@$#%^))OOU&^^%$$^R#@!!!!!!!!!!

        ตลอดเวลาที่ทำงานนี้ ผมจะยึดหลักในการทำงานเสมอว่า… เขาไว้ใจให้เราทำงานนี้ ต้องทำให้ดีที่สุด ศิลปินไว้ใจให้เราเอาผลงานเค้ามาแสดง เราต้องดูแลงานเขาให้ดีที่สุด ดังนั้นผมจะ เซนซิทีฟ กับเรื่องนี้มาก นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ แต่ทุกครั้งที่เกิด มันจะจบลงด้วย สิ่งที่คาใจกับผมเสมอ…

        ถ้าคนคนหนึ่งเห็นคุณค่างานศิลปะ เหมือนหรือคล้ายๆที่เขาให้ค่า รถหรูของเขาโดนขูดเป็นรอย กระเป๋าใบงามโดนน้ำเสียหาย นาฬิการาคาแพงเป็นหน้าปัดแตก การเจรจาจะไม่ลงเอยแบบนี้ (ใจคนให้ค่าสิ่งของไม่เท่ากัน ผมเข้าใจ แต่ไม่น่าลดคุณค่าในสิ่งที่คุณไม่เห็นค่ามันนะ )

        ถ้าลูกคุณดื้อ..ก็ขอให้จับมือเค้าหน่อย… เราติดป้ายชัดเจน เด็กเค้าไม่อ่านหรอก แต่ผู้ปกครองควรอ่าน แล้วบอกกล่าวดูแลกันนิดนึง นะครับ ท้ายสุดแล้ว…สิ่งที่บอกผมเสมอ…คือ การจัดการงานนิทรรศการศิลปะว่ายากแล้ว….การสร้างวัฒนธรรมการชมงานศิลปะยากยิ่งกว่า….แต่ไม่ว่าจะยากอย่างไร เราก็ต้องทำอ่ะเน๊อะ…. ขอความร่วมมือด้วยนะครับ

        ขอบคุณที่อ่าน…ขอโทษ เพื่อน พี่ น้องศิลปินอีกครั้ง ไม่นานผมคงหายดี แล้วจะทำให้ดีขึ้นครับ


advertisement

         ศิลปะที่ศิลปินสร้างสรรค์ บางชิ้นกว่าจะออกมาเป็นชิ้นเป็นอันต้องใช้เวลาและความทุ่มเทมาก เราอาจจะไม่เห็นค่า แต่มันมีค่าสำหรับคนทำอย่างแน่นอน และยังให้ข้อคิดเรื่องการดูแลเด็ก เมื่อพาไปในที่สาธารณะอีกด้วยค่ะ เพราะเด็กยังไม่โต แต่พ่อแม่โตพอที่จะดูแลเด็กแล้ว

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก Wiroon Kingpaiboon 


advertisement