advertisement

ผู้ประกันตนควรรู้ สิทธิประกันสังคม มาตรา 33 39 40 ช่วยเหลืออะไรบ้างในช่วงวิกฤต


advertisement

        จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคระบาด ที่สร้างผลกระทบต่อประเทศ ประชาชนไปทั่วโลก กระทบเศรษฐกิจ กระทบรายได้ ประชาชนเดือดร้อน ตกงาน ว่างงานกันเป็นจำนวนมาก ทางรัฐบาลก็พยายามช่วยเหลือเยียวยากันอยู่ อาจจะไม่ทั่วถึง ส่วนผู้ที่ประกันตนในระบบประกันสังคม  ไม่ว่าจะเป็นมาตรา 33, มาตรา 39 หรือมาตรา 40 ก็ยังได้รับความช่วยเหลือตามสิทธิประกันสังคมอยู่บ้าง ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแต่ละมาตรา วันนี้เราจะพาไปเช็กกันดูว่า มาตราการไหนช่วยเหลืออย่างไรบ้าง ตามไปดูกันเลย 

        1. ผู้ประกันตน มาตรา 33

        ผู้ประกันตน มาตรา 33 คือ พนักงาน มนุษย์เงินเดือน หรือลูกจ้างเอกชนที่ยังทำงานกับนายจ้างอยู่ในสถานประกอบการ ซึ่งทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะส่งเงินสมทบเดือนละ 5% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 750 บาท ทั้งนี้ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโรค ผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 จะได้รับสิทธิ์หลายข้อ ทั้งกรณีรักษาพยาบาล กรณีว่างงาน ดังนี้

        กรณีตรวจหาเชื้อโรค

        สามารถตรวจฟรีที่โรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม หากเข้าเกณฑ์กลุ่มเสี่ยง คือ

          1. เคยมีไข้ หรือมีอุณหภูมิร่างกาย 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับอาการทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง (ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อย ปอดอักเสบ)

          2. มีประวัติเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่ง คือ

          – เคยเดินทางไปหรือมาจากประเทศเสี่ยง หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค


advertisement

          – ประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับนักท่องเที่ยว สถานที่แออัด หรือติดต่อกับคนจำนวนมาก

          – ไปในสถานที่ชุมนุมชน หรือสถานที่ที่มีการรวมกลุ่มคน เช่น ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า สถานพยาบาล หรือขนส่งสาธารณะ

          – สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อ

          แต่หากไม่สามารถไปโรงพยาบาลตามสิทธิได้ เช่น ตอนนี้อยู่ต่างจังหวัด อยู่ต่างพื้นที่ เราสามารถเข้ารักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ หรือโรงพยาบาลรัฐทุกแห่งตามระบบประกันสังคมได้ก่อนเลย โดยจะเบิกจ่ายเป็นกรณีฉุกเฉิน 72 ชั่วโมง ซึ่งหากเราต้องสงสัยว่าติดเชื้อและต้องถูกกักกัน ให้แจ้งโรงพยาบาลตามสิทธิเพื่อรับผิดชอบค่าใช้จ่าย
          หากไม่เข้าเกณฑ์ 2 ข้อนี้ แต่อยากตรวจหาเชื้อ สามารถไปตรวจได้ที่สถานพยาบาลต่าง ๆ ที่รับตรวจ โดยต้องออกค่าใช้จ่ายเอง

          กรณีป่วยติดเชื้อต้องรักษาตัว

          หากตรวจพบว่าติดเชื้อ สามารถเข้ารับการรักษาตัวได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 2 ทางคือ

           1. ค่าจ้างจากนายจ้าง สามารถใช้สิทธิ์ลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างจากนายจ้างไม่เกิน 30 วัน/ปี

           2. เงินทดแทนการขาดรายได้จากประกันสังคม

           กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ประกันสังคมจะจ่ายเงินทดแทนฯ ให้ในอัตรา 50% ของค่าจ้าง หรือสูงสุดวันละ 250 บาท (คิดจากฐานอัตราเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท) โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นเป็นโรคเรื้อรัง จะได้รับเงินทดแทนฯ ไม่เกิน 365 วัน แต่ต้องมีหนังสือรับรองจากนายจ้างว่าได้รับค่าจ้างในวันลาป่วยครบ 30 วันทำงานใน 1 ปีปฏิทินแล้ว ส่วนที่ลาป่วยเกิน 30 วัน จึงสามารถยื่นขอรับเงินทดแทนฯ จากประกันสังคมได้

           ใครมีสิทธิ์ : ต้องส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนวันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล โดยแพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษาตัว

          กรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย

          จะได้รับเงินกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย ตามเงื่อนไขดังนี้

          – นายจ้างหยุดกิจการเอง ลูกจ้างไม่สามารถทำงานตามปกติได้

          – หน่วยงานภาครัฐสั่งหยุดกิจการชั่วคราว เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด

          – นายจ้างไม่ให้ทำงาน โดยให้ลูกจ้างกักตัว 14 วัน เนื่องจากสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด 19

          ใครมีสิทธิ์ : ต้องเป็นผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนการว่างงานหรือถูกรัฐสั่งให้กักตัว หากส่งเงินสมทบไม่ครบ 6 เดือน จะไม่สามารถรับเงินชดเชยได้

          รับเงินชดเชยเท่าไร : ได้รับเงิน 62% ของค่าจ้างรายวัน ตลอดระยะเวลาที่นายจ้างหยุดประกอบกิจการ แต่ไม่เกิน 90 วัน ดังนั้น จะได้รับเงินสูงสุดไม่เกินเดือนละ 9,300 บาท (ฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท)

          วิธียื่นรับสิทธิ์

          – กรอกแบบฟอร์มขอรับประโยชน์ กรณีว่างงาน (สำหรับลูกจ้าง/ผู้ประกันตน) ที่นี่

          – นายจ้างต้องกรอกแบบฟอร์มยืนยันการหยุดงานของลูกจ้างด้วย (ที่นี่) ลูกจ้างจึงจะได้รับสิทธิ์เงินชดเชยจากประกันสังคม

          เปิดขั้นตอน ลงทะเบียนประกันสังคม มาตรา 33 โครงการ "เหตุสุดวิสัย" รับเงินทดแทน 62%

          แต่กรณีต่อไปนี้ ไม่สามารถขอรับเงินว่างงานจากประกันสังคมได้

          – ลูกจ้างถูกปรับลดเงินเดือน

          – ลูกจ้างยินยอมลางานโดยไม่รับค่าจ้าง (Leave without Pay)

          – สถานประกอบการหยุดชั่วคราว ลูกจ้างไม่ต้องมาทำงาน แต่นายจ้างยังคงจ่ายเงินให้ลูกจ้างอยู่ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเท่าไรก็ตาม

          – นายจ้างหยุดชั่วคราวเนื่องจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ และไม่ให้ลูกจ้างทำงาน (กรณีนี้ นายจ้างต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้าง 75% ของค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน)
กรณีลาออกจากงานเอง

          รับเงินชดเชยเท่าไร : หากลาออกเองในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 จะได้รับเงิน 45% ของค่าจ้างรายวัน แต่ไม่เกิน 90 วัน ดังนั้น จะได้รับเงินสูงสุดไม่เกินเดือนละ 6,750 บาท (ฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท)

          ใครมีสิทธิ์ : ต้องเป็นผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนการว่างงาน

         วิธียื่นรับสิทธิ์

         – ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์กรมการจัดหางาน โดยใช้เลขบัตรประชาชนในการเข้าสู่ระบบ กรอกข้อมูลจากบัตรประชาชน พร้อมกรอกเลขหลังบัตรประชาชน (laser Code) จะได้รหัสผ่านเพื่อใช้งานระบบ

         – เมื่อลงทะเบียนเข้าสู่ระบบเสร็จสิ้นแล้ว ให้ยื่นคำขอ "รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) e-form" บนเว็บไซต์

         – รายงานตัวเดือนละครั้ง ผ่านเว็บไซต์กรมการจัดหางาน

          กรณีถูกเลิกจ้าง

          รับเงินชดเชยเท่าไร : หากลาออกเองในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 จะได้รับเงิน 70% ของค่าจ้างรายวัน แต่ไม่เกิน 200 วัน เท่ากับว่าจะได้รับเงินสูงสุดไม่เกินเดือนละ 10,500 บาท (ฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท)

          ใครมีสิทธิ์ : ต้องเป็นผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนการว่างงาน

          วิธียื่นรับสิทธิ์

          – ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์กรมการจัดหางาน โดยใช้เลขบัตรประชาชนในการเข้าสู่ระบบ กรอกข้อมูลจากบัตรประชาชน พร้อมกรอกเลขหลังบัตรประชาชน (laser Code) จะได้รหัสผ่านเพื่อใช้งานระบบ

          – เมื่อลงทะเบียนเข้าสู่ระบบเสร็จสิ้นแล้ว ให้ยื่นคำขอ "รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) e-form" บนเว็บไซต์

          – รายงานตัวเดือนละครั้ง ผ่านเว็บไซต์กรมการจัดหางาน

          การจ่ายเงินสมทบ

          ผู้ประกันตนจะได้ปรับลดอัตราการส่งเงินสมทบประกันสังคม จาก 5% เหลือ 1% เท่ากับว่าจากเดิมเคยส่งเงินสมทบสูงสุดเดือนละ 750 บาท จะเหลือเดือนละ 150 บาท เป็นเวลา 3 เดือน (มีนาคม-พฤษภาคม 2563) หากใครส่งเงินสมทบ 5% ไปแล้วในเดือนมีนาคม 2563 สามารถยื่นขอรับเงินสมทบคืนได้ [ads]


advertisement

          ประกันสังคม มาตรา 39

          ผู้ประกันตน มาตรา 39 คือ พนักงาน-ลูกจ้างเอกชนที่เคยเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 12 เดือน แต่ปัจจุบันได้ลาออกจากงานแล้ว ไม่ได้ทำงานประจำแล้ว และสมัครใจเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 เพื่อรักษาสิทธิประกันสังคม ภายใน 6 เดือน หลังลาออก ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของโรค คือ
กรณีตรวจหาเชื้อ

          สามารถตรวจฟรีที่โรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม หากเข้าเกณฑ์กลุ่มเสี่ยง คือ

          1. เคยมีไข้ หรือมีอุณหภูมิร่างกาย 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับอาการทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง (ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อย ปอดอักเสบ)

          2. มีประวัติเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่ง คือ

          – เคยเดินทางไปหรือมาจากประเทศเสี่ยง หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค

          – ประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับนักท่องเที่ยว สถานที่แออัด หรือติดต่อกับคนจำนวนมาก

          – ไปในสถานที่ชุมนุมชน หรือสถานที่ที่มีการรวมกลุ่มคน เช่น ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า สถานพยาบาล หรือขนส่งสาธารณะ

          – สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อ

          แต่หากไม่สามารถไปโรงพยาบาลตามสิทธิได้ เช่น ตอนนี้อยู่ต่างจังหวัด อยู่ต่างพื้นที่ เราสามารถเข้ารักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ หรือโรงพยาบาลรัฐทุกแห่งตามระบบประกันสังคมได้ก่อนเลย โดยจะเบิกจ่ายเป็นกรณีฉุกเฉิน 72 ชั่วโมง ซึ่งหากเราต้องสงสัยว่าติดเชื้อและต้องถูกกักกัน ให้แจ้งโรงพยาบาลตามสิทธิเพื่อรับผิดชอบค่าใช้จ่าย

          หากไม่เข้าเกณฑ์ 2 ข้อนี้ แต่อยากตรวจหาเชื้อ สามารถไปตรวจได้ที่สถานพยาบาลต่าง ๆ ที่รับตรวจ โดยต้องออกค่าใช้จ่ายเอง 

          กรณีป่วยติดเชื้อต้องรักษาตัว

          หากตรวจพบว่าติดเชื้อสามารถเข้ารับการรักษาตัวได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้อันเนื่องมาจากการเจ็บป่วยและต้องหยุดงาน ตามคำสั่งของแพทย์ในอัตรา 50% ของค่าจ้าง (วันละ 80 บาท) โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นเป็นโรคเรื้อรัง จะได้รับไม่เกิน 365 วัน

          ใครมีสิทธิ์ : ต้องส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนวันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล โดยแพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษาตัว

          กรณีว่างงาน

          ประกันสังคม มาตรา 39 คุ้มครอง 6 กรณี คือ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ แต่ไม่คุ้มครองกรณีว่างงาน ดังนั้น ผู้ประกันตนที่หยุดทำงานชั่วคราว หรือไม่ได้ทำงานประจำ จะไม่สามารถรับเงินเยียวยากรณีว่างงานจากประกันสังคมได้ แต่สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เพื่อรับเงินช่วยเหลือจากกระทรวงการคลัง จำนวน 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน

          การส่งเงินสมทบ

          ปรับลดอัตราการส่งเงินสมทบประกันสังคม จากเดิมจ่ายเงินสมทบเดือนละ 432 บาท จะเหลือจ่ายเพียงเดือนละ 86 บาท เป็นเวลา 3 เดือน (มีนาคม-พฤษภาคม 2563) หากใครส่งเงินสมทบเกินไปแล้ว สามารถยื่นขอรับเงินสมทบคืนได้

          นอกจากนี้ ยังให้ขยายการนำส่งเงินสมทบออกไปอีก 3 เดือน คือ

          – เงินสมทบเดือนมีนาคม ให้จ่ายวันที่ 15 กรกฎาคม 2563

          – เงินสมทบเดือนเมษายน ให้จ่ายวันที่ 15 สิงหาคม 2563

          – เงินสมทบเดือนพฤษภาคม ให้จ่ายวันที่ 15 กันยายน 2563

          ประกันสังคม มาตรา 40

          ผู้ประกันตน มาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่ทำอาชีพอิสระ หรือเป็นแรงงานนอกระบบ เช่น พ่อค้า แม่ค้า เกษตรกร ช่างก่อสร้าง ฟรีแลนซ์ ขายของออนไลน์ และอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 หรือ 39 แต่สมัครใจสมัครเป็นผู้ประกันตนประกันสังคมเพื่อรับสิทธิ์ต่าง ๆ โดยเลือกจ่ายเงินสมทบได้ 3 ทางเลือก คือ

          – ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน รัฐช่วยจ่ายสมทบ 30 บาท/เดือน รวมเป็นจ่ายสมทบ 100 บาท/เดือน

          – ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน รัฐช่วยจ่ายสมทบ 50 บาท/เดือน รวมเป็นจ่ายสมทบ 150 บาท/เดือน

          – ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน รัฐช่วยจ่ายสมทบ 150 บาท/เดือน รวมเป็นจ่ายสมทบ 450 บาท/เดือน

          อย่างไรก็ตาม สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากสถานการณ์จะแตกต่างกันไป ตามนี้

          กรณีตรวจหาเชื้อและรักษาพยาบาล

          ผู้ประกันตน มาตรา 40 ไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ เนื่องจากประกันสังคม มาตรา 40 ไม่ครอบคลุมการรักษาพยาบาล หากต้องการใช้สิทธิ์ตรวจหาเชื้อ หรือรักษาพยาบาลเมื่อป่วยติดเชื้อ ต้องใช้สิทธิบัตรทอง จาก สปสช.

          อย่างไรก็ตาม กรณีแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว 3 วันขึ้นไป หรือกรณีเป็นผู้ป่วยในต้องนอนโรงพยาบาล ประกันสังคมจะจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วยให้ ดังนี้


advertisement

          กรณีว่างงาน

          หากผู้ประกันตน มาตรา 40 ต้องหยุดกิจการชั่วคราว หรือว่างงานเพราะปิดกิจการ จะไม่สามารถรับเงินเยียวยากรณีว่างงานจากประกันสังคมได้ เพราะสิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ไม่ได้คุ้มครองเรื่องนี้ แต่สามารถลงทะเบียน www.เราไม่ทิ้งกัน.com เพื่อรับเงินช่วยเหลือจากกระทรวงการคลัง จำนวน 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน

          การส่งเงินสมทบ

          ผู้ประกันตน มาตรา 40 ยังต้องส่งเงินสมทบเท่าเดิม ไม่ได้มีการปรับลดอัตราการส่งเงินสมทบเหมือนกับผู้ประกันตน มาตรา 33 และมาตรา 39

          สามารถตรวจสอบสิทธิประกันสังคม สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 ทั้งหมดได้ที่นี่

          ประกันสังคม มาตรา 40 เพิ่มสิทธิประโยชน์ใหม่อะไรบ้าง

          หากตรวจสอบแล้วพบว่าเราเข้าข่ายได้รับความช่วยเหลือด้านใด ก็สามารถยื่นเรื่องขอรับสิทธิ์นั้นได้ แต่ถ้ายังมีข้อสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคม โทร. 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม, สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ 


advertisement