advertisement

มรภ.สวนสุนันทา แปลงเปลือกมะพร้าวเป็นภาชนะรักษ์โลก ลดขยะเพิ่มรายได้


advertisement

        บรรจุภัณฑ์นวัตกรรมเกี่ยวกับวัสดุที่เป็นมิตรต่อโลกมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อทดแทนวัสดุที่สร้างมลภาวะเสียๆ ให้กับโลกของเรามากขึ้น อย่างล่าสุด ทางด้านทีมวิจัยอาจารย์และนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ก็ได้ ได้ร่วมกันทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์กระดาษมะพร้าว ภายใต้ชื่อ COCONUT BIOWARE โดยนำวัตถุดิบเปลือกมะพร้าวที่เหลือทิ้ง มาทำเป็นภาชนะและบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก

      น.ส.จิตรลดา ชูมี อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (มร.สส.) เปิดเผยว่า เป็นบรรจุภัณฑ์นวัตกรรมใหม่รักษ์โลก ที่ทีมวิจัยโดยอาจารย์และนักศึกษาได้ร่วมกันทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์กระดาษมะพร้าว โดยนำวัตถุดิบเปลือกมะพร้าวที่เหลือทิ้งของชุมชนบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ในการผลิตน้ำมะพร้าวและกะทิที่มีปริมาณจำนวนมากตลอดทั้งปี

      ผ่านกระบวนการผลิตเป็นกระดาษมะพร้าว นำมาขึ้นรูปเป็นภาชนะและบรรจุภัณฑ์ ซึ่งผลงานดังกล่าวนี้เป็นการต่อยอดนวัตกรรมสีเขียวจากงานวิจัยกระดาษเปลือกมะพร้าวผสมสา 

      ผลิตภัณฑ์นี้ เป็นนวัตกรรมที่เพิ่มมูลค่าขยะทางการเกษตร ยังเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้แก่ชุมชนและช่วยลดขยะประเภทกล่องโฟม ถุงและภาชนะพลาสติกอีกหลายชนิด เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงลดภาวะโลกร้อนได้


advertisement

      ทั้งนี้ ผลงานดังกล่าวได้รับความสนใจจากภาคเอกชนให้พัฒนานวัตกรรม เป็นบรรจุภัณฑ์ภาชนะบนโต๊ะอาหารจากกระดาษมะพร้าวที่ใช้ได้จริง โดยทดลองขึ้นรูปกับเครื่องเป็นภาชนะ ต้องอาศัยแรงอัด ความร้อน และส่วนผสมพลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้ ต่อยอดเป็นนวัตกรรมภาชนะรักษ์โลกได้สำเร็จไปอีกขั้นหนึ่ง

      เรียกได้ว่าเป็นวิจัยนวัตกรรมรักษ์โลกจริงๆ ใช้วัสดุธรรมชาติ ที่ทิ้งแล้วนำมาทำให้เกิดประโยชน์และช่วยลดขยะในอนาคตได้ด้วย คนไทยทำได้ไม่แพ้ชาตใดในโลกเลย สุดยอด

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา 


advertisement

advertisement