advertisement

มุมสูงเมืองเก่าสงขลา หลังคากระเบื้องอิฐดินเผา ภูมิปัญญาที่ค่อยๆ สูญหายไป


advertisement

       สิ่งก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นบ้าน อาคาร หรือว่าสถานที่ต่างๆ แต่ละยุคแต่ละสมัยก็แตกต่างกันออกไป ด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างนั้นมีความเปลี่ยนแปลง พัฒนาไปตามกาลเวลา ถูกพัฒนาไปตามความทันสมัยของมนุษย์ แต่เราก็ยังจะเห็นสิ่งก่อสร้างแบบเก่าหลงเหลือให้เห็นอยู่

        อย่างล่าสุด ทางด้านผู้ใช้เฟสบุ๊ก Lek's Chantarat ได้โพสต์ภาพมุมสูงของย่านเมืองเก่า อ.เมือง จ.สงขลา จะเห็นได้ว่ามีบ้านหลายหลังที่หลังคายังเป็นกระเบื้องอิฐดินเผาแบบโบราณ โดยได้โพสต์ระบุว่า….

        ย่านเมืองเก่า อ.เมือง จ.สงขลา จากมุมสูง จะเห็นหลังคาที่ทำจากกระเบื้องอิฐดินเผาแบบโบราณที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองสงขลา #ณ วันฝนพรำ

มุมสูงเมืองเก่า 


advertisement

สงขลา 

        กระเบื้องดินเผา คือหนึ่งในมรดกทางภูมิปัญญาที่สำคัญในอดีตในชุมชนเก่าแก่เกาะยอ ความรุ่งเรืองของกระเบื้องดินเผา มีความเจริญแพร่หลายตั้งแต่ รัชกาลที่ 3 ถึง รัชกาลที่ 5 โดยปรากฏในเอกสารต่างๆ


advertisement


advertisement

บ่อยครั้งที่ทางเมืองหลวงจะมีการเกณฑ์ให้เมืองสงขลาทำกระเบื้องส่งไปให้ ซึ่งในรัชกาลที่ 4 มีการให้เกณฑ์เมืองสงขลาทำกระเบื้องหน้าวัวปูพื้น 50,000 แผ่น ปูบริเวณ อุโบสถวัดสุทัศเทพวราราม และวัดเขมาภิรตาราม ในรัชกาลที่ 5 มีการนำกระเบื้องดินเผาเมืองสงขลา ไปใช้มุงหลังคาพระวิหารหลวงในการซ่อมแซมพระบรมธาตุไชยา ประวัติยาวนานมาก  

หลงเหลือให้ได้เห็น 


advertisement

มรดกทางภูมิปัญญา 

กระเบื้องดินเผาเกาะยอ 

     กระเบื้องดินเผาเกาะยอ เป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่ค่อยๆ สูญหายไปจากลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และอีกไม่นานอาจจะหลงเหลือไว้เพียงชื่อ

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก Lek's Chantarat 


advertisement