advertisement
ไฟที่เราใช้ภายในบ้าน ใช้งานทั่วไปกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ซึ่งกระแสจะจ่ายจากโรงไฟฟ้า ผ่านโครงข่ายสายส่งและสถานีไฟฟ้าย่อย ก่อนจะเข้าสู่บ้านพักอาศัย โดยผู้ใช้สามารถต่อเข้าสู่เครื่องใช้ ด้วยการเสียบปลั๊กของเครื่องใช้เข้ากับเต้ารับในบ้าน โดยมีแรงดันประมาณ 220 ถึง 240 VAC โวลต์ RMS, และมีแรงดันโวลต์พีค 311Vp ถึง 339Vp
ล่าสุด ทางด้านผู้ใช้เฟสบุ๊ก Sataporn Suedee ได้โพสต์ภาพป้ายที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งได้ติดเตือนว่า ไฟฟ้าแรงสูง ใช้สำหรับ อุปกรณ์การแพทย์เท่านั้น (ไม่อนุญาตให้ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ อาจทำให้ชำรุด) โดยผู้โพสต์ได้สงสัย ระบุว่า….
จริงหรือไหม?
advertisement
ความคิดเห็นจากชาวเน็ต
circuit ที่ 2 ตู้ PB5 มันก็ single phase 220V นั่นแหละ แต่มันเป็นเต้ารับที่ผ่านระบบ Isolated สำหรับความเสถียรกระแสไฟฟ้า สำหรับอุปกรณ์ช่วยชีวิตทางการแพทย์
advertisement
ปล. ปกติแล้วผมออกแบบ รพ. ผมจะใช้สีเต้ารับที่แตกต่างกัน เช่น เต้ารับสีแดง = วงจร isolated สำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ , เต้ารับสีดำ = วงจรอุปกรณ์สื่อสารทางการแพทย์ที่ผ่าน UPS (พวกคอมพิวเตอร์) และเต้ารับสีเหลือง = วงจรที่ใช้แหล่งจ่ายเชื่อมต่อ generator หรือ emergency panel (ตู้ EP) เป็นต้น
advertisement
ปล 2. ที่ป้ายบอกอาจทำให้อุปกรณ์อื่นชำรุด อันนี้ถูกต้อง เพราะระบบ isolated ไวต่อกระแสกระเพื่อมมาก และมี ground fault detect คล้ายระบบ fire alarm คนไม่รู้เอาที่ชาร์จแบตฯ มือถือ โน๊ตบุ๊ค หรือ อะแดปเตอร์ อะไรก็แล้วแต่ไปเสียบที่มันคายประจุได้ มีผลต่อระบบครับ ยกตัวอย่าง เวลาเราเสียบอุปกรณ์พวกนี้บางครั้งจะสังเกตเห็นสะเก็ดไฟแป๊ะๆ นั่นแหละ พอเกิด fault ขึ้น มันก็จะไป alarm ดังที่ monitor ที่ติดตั้งไว้ที่ เคาน์เตอร์พยาบาลเขา
หลายคนมองว่าเป็นกุศโลบาย ไม่อยากให้คนใช้
advertisement
เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก Sataporn Suedee
advertisement