advertisement

นักวิทย์สิงคโปร์ คิดค้นวิธีย่อยสลายพลาสติกด้วยแสงอาทิตย์ ใช้เวลาแค่ 6วัน


advertisement

      หากพูดถึงเรื่องปัญหาขยะที่เกิดขึ้นจากการใช้ถุงพลาสติก ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ของสิ่งแวดล้อมเพราะว่าพลาสติกใช้เวลาในการย่อยสลายนาน และตอนนี้เริ่มมีการลดการใช้ถุงพลาสติกกันแล้ว เพื่อให้จำนวนขยะพลาสติก

        ล่าสุด สื่อต่างประเทศรายงานว่า นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง ประเทศสิงคโปร์ ค้นพบวิธีย่อยสลายพลาสติกได้ในระยะเวลาแค่ 6 วันจากแสงอทิตย์ 

        โดยทางด้านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง สิงคโปร์ แถลงการณ์ว่า ศาสตราจารย์ Soo Han Sen พร้อมกับทีมนักวิทยาศาสตร์ใช้เวลาราว 2 ปี เพื่อค้นคว้าการเร่งปฏิกิริยาในตัวทำละลาย จนในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ เปลี่ยนพลาสติกให้กลายเป็นสารที่นำไปสร้างประโยชน์ได้ด้วยแสงอาทิตย์ ภายในระยะเวลา 6 วัน จากเดิมที่ต้องใช้เวลานานนับร้อยปีเพื่อย่อยสลายตัวเอง

        ศ.Soo Han Sen และทีมวิจัย อาศัยพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์เป็นตัวทำปฏิกิริยาในขั้นตอนการย่อยสลาย ด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาวานาเดียม เปลี่ยนพลาสติกให้กลายเป็นกรดฟอร์มิก ที่นำไปใช้เป็นสารกันบูดหรือส่วมผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด นอกจากนี้ยังนำไปเป็นเชื้อเพลิงในพลังงานทดแทนจำพวกยานพาหนะไฟฟ้า

        ซึ่งวิธีนี้จะปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ดีกว่าการเผาที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกที่เป็นอันตรายในชั้นบรรยากาศโลก รวมทั้งการฝังที่ทำให้ดินเป็นพิษ ปนเปื้อนไปในน้ำและลงสู่ทะเลวิธีดังกล่าวจะใช้ได้แค่พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง (NON-PET) เช่น ถุงพลาสติกหรือโฟมเท่านั้น ยังไม่สามารถย่อยสลายพลาสติก PET (Polyethylene Terephthalate) จำพวกกล่องหรือขวดพลาสติกชนิดแข็งตัวได้


advertisement

      เป็นการคิดค้นวิธีการในการกำจัดขยะพลาสติกที่ดีมากๆ เลยทีเดียว จากถุงที่ต้องใช้เวลาย่อยสลายเป็นเวลานาน วิธีนี้ใช้เวลาแค่ 6 วัน แถมไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมด้วยสุดยอด 


advertisement

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com 


advertisement