advertisement

หนุ่มวิศวะเครื่องกล แฉชัดเครื่องกรองอากาศบนหลังรถเมล์ แค่เหลือบตามองก็ส่ายหัวแล้ว


advertisement

        เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เป็นประเด็นที่สังคมกำลังวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก สำหรับ กรณีการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศบนหลังคารถเมล์ โครงการจากกระทรวงคมนาคม ประสานกรมการขนส่งทางบก และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) โดยนำร่องรถเมล์ ขสมก. ก่อน 3 คันต่อเส้นทาง รวมประมาณ 387 คัน ยืนยันว่าสามารถกรองอากาศได้ดีเลยทีเดียว 

        ล่าสุด ทางด้านผู้ใช้เฟสบุ๊ก Pat Hemasuk  ก็ออกมาสวนกลับเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องฟอกอากาศบนหลังคารถเมล์ ว่ามองแค่เหลือบตามองก็ส่ายหัว โดยระบุว่า..

        ผมสงสัยว่า องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ขสมก.ไม่ปรึกษาวิศวกรที่ทำงานอยู่ในองค์กรเลยใช่ไหม ถึงปล่อยให้ออกข่าวแบบนี้ออกมา ผมคงเอาปี๊บคลุมหัวถ้าผมต้องเป็นวิศวกรที่อยู่ในองค์กรที่ออกข่าวบ้องตื้นแบบนี้ออกมาสู่สาธารณะ

        เพราะตัวเลขที่อ้างว่าสามารถกวาดอากาศเข้าเครื่องกรอง ได้ 10,000 ลูกบาศก์เมตรต่อการวิ่งรถ 1 เที่ยว เมื่อรถโดยสารวิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในระยะทางยาว 20 กิโลเมตร โดยไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการดูดลมเข้าเครื่องกรอง มันจึงเป็นไปไม่ได้ทางวิศวกรรม


advertisement

        ใส้กรองที่ไร้ Friction หรือไม่มีความฝืด ไม่มีในจักรวาลนี้หรือจักรวาลไหนก็ตาม และเล่นเอาตัวเลขระยะทาง 20,000 เมตร มาคูณ 0.5 เป็นคำตอบ 10,000 ลูกบาศเมตร นั้นบ้องตื้นมาก เพราะว่าค่าตัวคูณทางอากาศพลศาสตร์ของกล่อง 4 เหลี่ยมนั้นมันเลวร้ายมากจนถึงมากที่สุดในบรรดารูปทรงที่ใช้กับการคำนวนแอโรไดนามิค ดูจากรูปที่ 3 ได้เลยครับ

        และการใช้คำว่า "เครื่องกรองอากาศที่มีหน้ากว้าง 0.5 ลูกบาศก์เมตร" เด็ก ม.ปลายสายวิทย์ก็รู้ว่าใช้หน่วยผิด การคำนวนอากาศขาเข้านั้นใช้หน่วยที่เป็นพื้นที่รับอากาศเพื่อนำมามาคูณกับความเร็วเพื่อหาปริมาณอากาศ ไม่ใช่ใช้ปริมาตรที่ยกขึ้นมาลอยๆ


advertisement

        อากาศที่ผ่านเครื่องกรองแล้วที่บอกว่าดีมากนั้นวัดได้อย่างไร ในเมื่ออากาศหลังกล่องเกิด turbulence หรือการปั่นป่วนของกระแสอากาศในขณะรถวิ่งเสียขนาดนั้นตามรูปที่ 3 แต่ในข่าวที่ออกมาเขียนว่า "อากาศก่อนเข้าเครื่องกรอง มีค่าอยู่ในระดับ 48 – 52 (คุณภาพอากาศปานกลาง) ในขณะที่ อากาศที่ผ่านเครื่องกรองออกมาแล้ว มีค่าอยู่ในระดับ 1 – 5 (คุณภาพอากาศดีมาก) "

        รูปที่สองถ้ามองเข้าใปข้างในกล่อง จะเห็นว่าใช้ใส้กรองอากาศที่ใช้กับเครื่องยนต์หรือรถยนต์สองตัวมาติดเอาไว้ในกล่อง แบบโง่ๆ ผมย้ำอีกทีว่าแบบโง่ๆ ดังนั้นการอ้างว่าสามารถกวาดอากาศเข้าเครื่องกรอง ได้ 10,000 ลูกบาศก์เมตรต่อการวิ่งรถ 1 เที่ยว ระยะทาง 20 กิโลเมตร หรือ 166.6 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที โดยไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการดูดลมเข้ากรองอากาศจึงไม่มีทางเป็นไปได้ แบบเด็กเรียนวิศวะเครื่องกลปี 2 แค่เหลือบตามองก็ส่ายหัว ไม่ต้องเอามาคำนวนให้เสียเวลาเสียด้วยซ้ำไป


advertisement

          เป็นการวิจารณ์จากคนที่เคยเรียนวิศวะเครื่องกลมา ข้อมูลแบบแน่นๆ ว่าเจ้าเครื่องฟอกอากาศบนหลังคารถเมล์เนี่ยมันไม่ได้ผลจริงหรอก คนที่เรียนมากดูนิดเดียวก็น่าจะรู้กัน แต่ทาง ขสมก.แจงการทดลองติดตั้งเครื่องกรองอากาศต้นแบบ กรองและลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) บนหลังคารถเมล์ วัดค่าผลอากาศหลังผ่านเครื่องกรองอยู่ในระดับ 1-5 (คุณภาพอากาศดีมาก) ไม่ลวงโลก สุดท้ายมันจะดีจริงหรือลวงโลกรอติดตาม 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก Pat Hemasuk


advertisement