advertisement
ปัญหาหนี้สินครูและบุคลากร ซึ่งปัจจุบันครูทั่วประเทศประมาณ 9 แสนคน คิดเป็นร้อยละ80 มีหนี้รวมกัน 1.4 ล้านล้านบาท มีเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดคือ สหกรณ์ออมทรัพย์ครู วงเงิน 8.9 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 64 และธนาคารออมสิน วงเงิน 3.49 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 25
ล่าสุด ทางด้านผู้ใช้เฟสบุ๊ก Wiriyah Eduzones ได้โพสต์ข้อสงสัยเกี่ยวกับครู ทำไมถึงมีหนี้เยอะ โดยได้โพสต์ระบุว่า…
สงสัยว่า ทำไมครูและบุคลากรทางการศึกษามีหนี้เยอะ
advertisement
ความคิดเห็นจากชาวเน็ต
ต้นทุนชีวิตคนเราไม่เท่ากันค่ะ เราเป็นหนี้ตั้งเรียนกู้ กยศ เรียน ตอนทำงานก็จ่ายหนี้ กยศ ไม่เคยขาด ได้บรรจุก็อยากให้ทางบ้านสบายช่วยเหลือทางบ้านบ้าง ไม่มีใครอยากเป็นหนี้หรอกค่ะถ้าไม่จำเป็น เคยสำรวจหน่วยงานราชการอื่นกันมั้ยคะ ทำไมสำรวจเฉพาะครูตลอด
advertisement
advertisement
นักธุรกิจหนี้เยอะกว่าคะ ครูอย่างมากแค่1-3ล้าน. แต่นักธุรกิจ สิบล้านก็มี มองให้ทะลุ คิดให้กว้าง
ซื้อโน้ตบุ๊ค เครื่องปริ้น หมึก อุปกรณ์ทำสื่อ อุปกรณ์การสอน สื่อการสอน บ้านอยู่ห่างจากโรงเรียนแค่ 10 กม. แต่ค่าน้ำมันเดือนละ 5000 เป็นอย่างต่ำเพราะงานโรงเรียน ค่าซองงานในชุมชน บางคนบ้านอยู่ไกลจากโรงเรียนก็มีค่าเช่าบ้าน ไม่มีรถก็ไม่ได้เพราะทำอะไรก็ต้องใช้รถ ผ่อนรถอีก ต้องเรียนต่ออีก
advertisement
อยากมีพ่อแม่ร่ำรวยบ้างเหมือนกันครับจะได้ไม่ต้องมีหนี้ ไม่ต้องกู้ แต่เผอิญพ่อแม่เป็นชาวไร่ชาวนาครับ แต่ก็ภูมิใจที่ท่านยังส่งเรียนจนได้เป็นครู เกิดมาคงไม่มีใครอยากเป็นหนี้หรอก คนอื่นจะมองว่า เป็นครูแล้วฟุ้งเฟ้อ ซื้อรถ ซื้อบ้าน ถึงเป็นหนี้เยอะ ใคร ๆ ก็อยากมีบ้านมีรถทั้งนั้น ไม่ว่าอาชีพไหน แต่ก็อย่างว่าครู ไม่มีโอที ไม่มีโบนัส แต่ครูเป็นคนมีค่า ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ารถ ค่าบ้าน ค่าเน็ต ค่าสื่อการเรียนการสอน ตอนนี้ก็มีค่าอุปกรณ์สอนออนไลน์ และอีก ฯลฯ ค่ะ
ครูที่ไม่เป็นหนี้ก็มีครับ ต้นทุนบ่คือกัน บางคนมั่งมีมูลหลาย บางคนดิ้นรนตั้งแต่สมัยเรียนก่อนมาเป็นครู
ต้องมองไปถึงต้นทุนชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แล้วการใช้เงิน การบริหารการเงิน ปัจจัยต่างๆ ครูที่ไม่มีหนี้ก็มี และอาชีพอื่นๆ ก็มีหนี้ไม่น้อยไปกว่าวงการครู
เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก Wiriyah Eduzones
advertisement