advertisement
เมื่อวาน (19 เม.ย.63) ที่ผ่านมา ที่ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าวโรคติดเชื้อ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงผลการวิจัยฟ้าทะลายโจรกับเชื้อโรคระบาด ซึ่งเป็นความร่วมมือของกรมการแพทย์แผนไทยฯ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และองค์การเภสัชกรรม
โดย นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ในการกำจัดเชื้อและยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อได้ แต่ไม่มีฤทธิ์ในการป้องกันเซลล์จากการติดเชื้อ จึงไม่แนะนำให้รับประทานเพื่อการป้องกันโรค โดยที่ยังไม่มีอาการ เพราะไม่มีผลในการป้องกัน แต่ให้รับประทานทันทีเมื่อเริ่มมีอาการคล้ายอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ มีไข้ ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อที่ก่อโรคไข้หวัดใหญ่ หรือเชื้อที่ก่อโรคทางเดินหายใจอื่น
โดยรับประทานครั้งละ 4 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน ส่วนสารสกัดฟ้าทะลายโจร ครั้งละ 1-2 แคปซูล เพื่อให้ได้รับสารสำคัญแอนโดรกราโฟไลด์ประมาณ 20 มิลลิกรัม/ครั้ง วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร การรับประทานยาทั้งสองแบบในขนาดที่แนะนำ จะให้สารแอนโดรกราโฟไลด์ประมาณ 60 มิลลิกรัม/วัน แนะนำให้มียาฟ้าทะลายโจรเป็นยาประจำบ้าน อาจใช้ร่วมกับยาพาราเซตามอลได้ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน ให้รีบพบแพทย์ [ads]
advertisement
ด้าน ดร.สุภาพร ภูมิอมร ผู้อำนวยการสถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า จากการศึกษาศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อโรคของสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในหลอดทดลอง พบว่า สามารถทำลายเชื้อโรคโดยตรง และต้านไม่ให้เชื้อเพิ่มจำนวนเซลล์ได้ แต่ไม่มีฤทธิ์ในการชักนำให้เซลล์หลั่งสารที่ช่วยยับยั้งเชื้อ จึงไม่แนะนำให้รับประทานเพื่อการป้องกันโรค และจำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัยในคนต่อไป
เป็นอีกหนึ่งสมุนไพรไทยที่เป็นยานำมารักษาอาการไข้ได้ ตามที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่ไม่แนะนำให้กินหากไม่มีอาการ กินเมื่อเริ่มมีอาการเท่านั้น
advertisement
เรียบเรียงโดย : thaihitz.com
advertisement