advertisement

หนุ่มโอด สั่งของจากจีน โดนภาษีมูลค่าเพิ่มแพงหนัก หรือรัฐถังแตกจริงๆ


advertisement

          เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ทำให้หลายคนสนใจ เมื่อผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้ออกมาเผยถึงภาษีมูลค่าเพิ่มที่รู้สึกว่าแพงขึ้น โดยเขาได้ระบุว่า….

         "ที่บอกว่ารัฐบาลถังแตก? ช่วงนี้ผมลองสั่งของผ่านทาง Ali Express เล่นๆดูจากข่าวที่บอกว่าจะเริ่มจัดเก็บภาษีสินค้าที่ไม่เกิน 1500 บาท 

       ปรากฏว่า… จริงด้วย!!! ผมลองสั่งสินค้าที่ราคาประมาณ 1100-1200 บาท โดนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากศุลกากรไป 511 บาท นั่นแปลว่าความชิบหายได้มาเยือนพ่อค้าแม่ค้ารายย่อยแล้ว ต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้นประมาณ 50% ครับ ถ้าคุณเคยสั่งมา 1000 เอามาขาย 1500 กำไร 500 บาทต่อชิ้น

        ต่อไปคุณต้องขาย 2000 บาทถ้าคุณยังอยากได้กำไร 500 บาทต่อชิ้นอยู่ ของจะแพงขึ้น คนจะซื้อน้อยลง กำไรก็จะน้อยลง… ประเทศไทยจงเจริญ"

        แต่สำหรับกรณีนี้ หลายคนมองว่าเป็นการเก็บในอัตราเดิม และเป็นเพราะชิปปิ้งที่เลือกด้วย ส่วนเฟซบุ๊กเพจชื่อดังอย่าง Drama-addict ได้พูดถึงเรื่องนี้ ว่า…


advertisement

        "ประเด็นน่าสนใจ ก่อนอื่น ตอนนี้ เรื่องเก็บภาษีนำเข้า สินค้าที่มูลค่าน้อยกว่า 1500 บาท ยังไม่เริ่ม อยู่ในขั้นตอนการศึกษา ส่วนประเด็นในโพส เป็นการจัดเก็บตามเรทเดิม แม้ราคาสินค้าจะไม่เกิน 1500 บาท แต่ประเด็นคือ…อันนี้กูก็เพิ่งรู้เหมือนกัน คือเวลาศุลกากรพิจารณาราคาสินค้านำเข้า เขาไม่ได้พิจารณาจาก ราคาสินค้าอย่างเดียว แต่จะเป็นการประเมิน ราคาศุลกากร (CIF) ซึ่งจะประกอบด้วย Cost = ต้นทุน ราคาสินค้า I = Insurance ราคาประกันภัยสินค้า และ F Freight ค่าขนส่ง รวมกันเป็น CIF ที่จะใช้ราคาตรงนี้ไปประเมินการเก็บอากรขาเข้าอีกที


advertisement

        มิน่ากูเคยสั่งของราคาพันกว่าๆจาก ตปท มาแล้วเจอเก็บอากรขาเข้า เพราะงี้นี่เอง ส่วนในภาพนี่ ตรง invoice ด้านซ้าย จะมีการแจงรายละเอียดเอาไว้ C = 1149.46 บาท I = 11.49 บาท F = 520 บาท รวมกันก็ประมาณพันเจ็ดร้อยบาท เป็นราคา CIF เกิน 1500 ไปหน่อยนึงพอดี เลยต้องคิดอากรขาเข้าตามเกณฑ์สินค้าที่ CIF เกิน 1500" 


advertisement

         สำหรับคนที่ไม่เคยสั่งสินค้าหรือนำเข้าจากต่างประเทศ อาจจะไม่คุ้นเคยกับกรณีนี้สักเท่าไหร่ แต่สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ อาจจะเข้าใจว่านี่คือเรื่องปกตินั่นเอง

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก  โอภาส อาลมิสรี – Opas Almaseri


advertisement