advertisement

หมอล็อต แจงดราม่า พลายถ่าง เป็นช้างป่าในตำนานจริง ไม่ใช่ช้างบ้าน


advertisement

      จากกรณี หมอล็อต นายสัตวแพทย์(น.สพ.) ภัทรพล มณีอ่อน   หัวหน้ากลุ่มงานสุขภาพสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้โพสต์ภาพกำลังยื่นมือตัวเอง แตะกับงวงช้างตัวหนึ่ง แล้วระบุว่า ช้างตัวดังกล่าวเป็นช้างพลายที่ตัวเองเคยรักษา เมื่อหลายปีที่ผ่านมา ต่อมาได้เจอช้างป่าตัวนี้อีกครั้ง ช้างจำได้ว่าหมอเคยรักษา จึงยื่นงวงมาทักทย กลายเป็นภาพที่มีการแชร์ต่อๆ กันในโลกโซเชียลจำนวนมาก

       ต่อมา สำนักข่าวแห่งหนึ่งได้นำเสนอว่า ช้างตัวที่ยืนงวงมาแตะกับมือหมอล็อตนั้นเป็นช้างบ้าน ไม่ใช่ช้างป่า เพราะสังเกตเห็นว่ามีเชือกผู้กอยู่ที่คอ จึงมีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้กันต่อ

        ล่าสุด หมอล็อต ได้ออกมาโพสต์ชี้แจงดราม่าดังกล่าวว่าพลายถ่าง ยืนยัน เป็นช้างป่าในตำนาน หลายคนรู้จักดี โดยระบุว่า…. 

         ​LotterSuper:”ยักษ์หลับ” 

         ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ช้างป่าออกหากินนอกพื้นที่ไกลสุดถึง ๒๐๐ กิโลเมตร  กรณีของช้างป่าตัวหนึ่งที่เดินหากินออกนอกพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ผ่านเข้าพื้นที่ชุมชนของจังหวัดจันทบุรีเข้าสู่จังหวัดตราด ในระยะเวลาประมาณ ๖ เดือน สร้างความเดือดร้อนในทุกพื้นที่ที่ช้างป่านี้หากิน ดังนั้นการดำเนินการจัดการกับช้างป่าตัวนี้ ณ เวลานั้น คือ การนำช้างป่ากลับคืนสู่พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ด้วยวิธีการทางสัตวแพทย์ร่วมกับวัฒนธรรมคนกับช้าง  โดยใช้ช้างบ้านขนาดใหญ่ที่ประกอบไปด้วยช้างเพศผู้ ๓ เชือกและเพศเมีย ๑ เชือก เข้าไปประคับประคองในการเคลื่อนย้ายขึ้นรถสำหรับขนย้ายร่วมกับให้ยาซึม เพื่อลดความเครียดและอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินการ ซึ่งต้องคำนึงถึงสุขภาพตัวสัตว์ พฤติกรรมของช้างป่าที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม การจัดเตรียมความพร้อมในการขนย้าย และการคาดเดาถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นรวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาในระหว่างเคลื่อนย้ายช้างป่า โดยผลของการดำเนินการประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่งสามารถนำช้างป่า กลับคืนสู่ป่าได้และทำการติดปลอกคอวิทยุครั้งแรกในช้างป่าของประเทศไทย เพื่อติดตามพฤติกรรมและเส้นทางหากินของช้างป่าตัวนี้ หลังจากนำกลับคืนสู่ป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เพื่อประเมินศึกษาพฤติกรรมและเส้นทางในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นงานใหญ่และเป็นครั้งแรกที่มีการเคลื่อนย้ายช้างป่าที่ไกลที่สุด ช้างที่มีความอันตรายที่สุด และอยู่ในตัวเมืองจังหวัดตราด ซึ่งเต็มไปด้วยข้อจำกัดต่างๆมากมาย โดย ณ เวลานั้น นายแพทย์อรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธ์ เลขารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกียรติมาเป็นประธาน ซึ่งมี ท่านจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคนปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอุทยานฯในขณะนั้น และยังมี ผอ.โสภณ ดำนุ้ย ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์ รองอธิบดีกรมป่าไม้ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า นายชัชวาล  พิศดำขำ เด็กนักเรียนและประชาชนในพื้นที่ เข้าร่วม สร้างความปลาบปลื้มและประทับใจเป็นอย่างมาก


advertisement

         ต่อมา หลังจากที่ปล่อยช้างป่าตัวนี้ที่ตั้งชื่อว่า”พลายถ่าง”ดำรงชีวิตในพื้นที่เขตรักษาสัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จากการติดตามสัญญาณวิทยุพบว่า พลายถ่างเดินหากินมุ่งหน้าไปทางจังหวัดสระแก้ว แล้วเดินย้อนลงมาทางจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นเส้นทางและพื้นที่เดิมที่ช้างป่าพลายถ่างเคยเดินออกหากินนอกพื้นที่จนมาถึงจังหวัดตราด พบปลอกคอวิทยุที่หลุดออกตามระยะเวลาที่คาดไว้  ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า ช้างป่าพลายถ่าง มิใช่ช้างป่าพลัดหลง แต่เป็นช้างป่าที่เรียนรู้และปรับตัวได้เป็นอย่างดีกับการเดินหากินนอกพื้นที่ป่า แหล่งเกษตรกรรม หรือชุมชน สร้างความเดือดร้อน และโกรธแค้นเป็นอย่างยิ่ง มีกลุ่มคนที่ต้องการฆ่าพลายถ่างทิ้งเพื่อป้องกันอันตรายและความเสียหายของทรัพย์สิน แต่เนื่องจากมีการประชาสัมพันธ์ และติดตามเฝ้าระวังโดยเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนโดยตลอด ไปไหนไปด้วยห่างๆ โดนวิ่งไล่ก็แยกย้ายแล้วรวมตัวกันใหม่ ทำให้ไม่มีใครคิดทำร้ายพลายถ่างแต่อย่างใด 


advertisement

         อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านได้ขอร้องให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการเคลื่อนย้ายพลายถ่างกลับคืนสู่ป่า หากไม่มีการดำเนินการ อาจมีชาวบ้านที่เดือดร้อนทำร้ายพลายถ่างจนถึงแก่ชีวิตได้ 

         สิ่งที่น่ากังวล เพิ่มขึ้นเมื่อผลจากการตรวจสุขภาพพลายถ่าง  ปรากฏว่าพบโรคทางปรสิต โดยพบเชื้อ Trypanosoma  evansi ทำให้เกิดโรคที่มีชื่อว่า Trypanosomiasis หรือ Sirra ซึ่งเป็นโรคติดต่อร้ายแรงตาม พรบ.โรคระบาดสัตว์ ๒๔๙๙  โดยโรคนี้เกิดจากเชื้อโปรโตซัวในกระแสโลหิต ที่สามารถติดต่อไปมาระหว่างม้า ลา ฬ่อ อูฐ กระบือ โค สุนัข และช้างบ้าน อาการทั่วไปที่พบได้แก่ มีไข้ เบื่ออาหาร ผอมโซ บวมน้ําโดยเฉพาะบริเวณ คาง คอหรือท้อง ตาอักเสบหรือขุ่น ขาแข็ง หลังแข็ง คอบิด โลหิตจางอาจตายอย่างเฉียบพลันได้ และในสัตว์บางชนิดทำให้พฤติกรรมที่ดุร้ายขึ้น จึงได้ประสานงานไปยังสำนักงานปศุสัตว์จันทบุรี เพื่อเข้าร่วม จากประสบการณ์ที่ตรวจสุขภาพช้างป่ามา ไม่เคยพบเชื้อตัวนี้ในช้างป่าเลย เคยมีรายงานว่าในประเทศไทยมีแมลงวันป่าและเหลือบเป็นพาหะ มักพบในช่วงฤดูฝนที่มีแมลงชุกชุม [ads]


advertisement

         จากการเดินทางของช้างป่าพลายถ่างจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนไปยังจังหวัดตราด ซึ่งผ่านหมู่บ้าน แหล่งชุมชน แหล่งเกษตรกรรม แหล่งปศุสัตว์ และแม่น้ำ ถือว่าช้างป่าเป็นตัวชี้วัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างหนึ่ง ว่าในพื้นที่ที่ช้างป่าพลายถ่างเดินทางไปนั้นมีบางพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องโรคเกิดขึ้น นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ช้างป่าพลายถ่างอาจได้รับเชื้อตัวนี้มา

         ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาชีวิตช้างป่าพลายถ่าง จากการถูกทำร้าย และรักษาโรค Trypanosomiasis และควบคุมป้องกันไม่ให้โรคนี้ติดต่อสู่ช้างป่า กระทิง วัวแดง และสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ รวมไปถึงดำเนินการหาพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การดำรงชีวิตของช้างป่าพลายถ่างในอนาคต จึงได้มีการประชุมเพื่อหาแนวทางการจัดการที่เหมาะสมในด้านสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อสวัสดิภาพของช้างป่าและความปลอดภัยของคน ด้วยการเตรียมสถานที่พิเศษในการรักษาที่ต่อเนื่องและรักษาให้หายขาด ซึ่งใช้เวลานาน

         ต่อมา นายดำรงค์ พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในขณะนั้น ได้ให้ความห่วงใยและไปเยี่ยมพลายถ่างด้วยตัวเองและมอบหมายให้ผม ติดตามความคืบหน้าในการรักษาพลายถ่าง จึงได้มอบหมายให้ทีมสัตวแพทย์ประจำกรมอุทยานฯเข้าประเมินผลการรักษาโรค และจากการตรวจสุขภาพพบว่าพลายถ่างร่างกายเริ่มสมบูรณ์แข็งแรง กินอาหาร กินน้ำ และขับถ่ายได้ปกติ ยังคงเหลือบาดแผลติดเชื้อบริเวณสะโพกด้านขวา เนื่องจากผลข้างเคียงของโรคส่งผลต่อภูมิคุ้มกันของพลายถ่าง  โดนอะไรกัดนิดหน่อยก็จะเกิดแผลติดเชื้อได้ง่าย และได้ทำการตรวจเลือดเพื่อประเมินสุขภาพและยืนยันผลการรักษาโรค Trypanosomiasis ด้วยวิธี thin smear ไม่พบเชื้อส่วนค่าโลหิตวิทยาต่างๆอยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งก่อนหน้านี้อาการพลายถ่างในช่วงที่แสดงอาการของโรคนั้นค่อนข้างหนักเนื่องจากเชื้อโรคในร่างกายมีจำนวนมาก ต้องขอบคุณและชื่นชมทีมงานทุกคน โดยเฉพาะเหล่าบรรดาช้างเชือกต่างๆที่เป็นพี่เลี้ยงในการดูแลรักษา

        วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๕ ภารกิจเกี่ยวกับสัตว์ป่าภารกิจสุดท้าย ก่อนจะเกษียรอายุราชการ ท่านอธิบดีดำรงค์  พิเดช ได้เดินทางมาเยี่ยมพลายถ่าง และเป็นประธานในการส่งพลายถ่างไปฟื้นฟูพฤติกรรมที่ป่า ออป. โดยในวันนั้น ท่านอธิบดีมีความสุขมาก ที่ได้เป็นส่วนสำคัญในการจัดการช้างป่าพลายถ่าง และให้ความห่วงใยช้างป่าพลายถ่างในทุกๆเรื่อง ซึ่งผมมั่นใจว่า หากไม่ดำเนินการด้วยวิธีเช่นนี้ ช้างป่าพลายถ่างต้องตายแน่นอน


advertisement

          ช้างป่าพลายถ่างฝากบอกกับทุกคนว่า “ถึงผมจะต้องใช้เวลาในการรักษาโรคและฟื้นฟูพฤติกรรมเป็นเวลานาน งาผมยาวขึ้นมาก แต่ผมก็ยังใช้คำนามว่า ตัว “เพราะผมไม่มีตั๋วรูปพรรณ ไม่ได้ฝังไมโครชิพ” อาจเห็นผมดื้อ ดุร้าย หงุดหงิดบ้างตามประสาช้างป่าวัยหนุ่ม (แอบกระซิบ… ไอ้หมอมันกลัวผมกระซากแขนไปแทงมาก) แต่ผมก็ต้องการให้หมอเข้ามารักษาผม ค่าเลือดผมผันแปรไม่ปกติ เสี่ยงต่อการวางยา เชือกเส้นเล็กที่คอ จึงใส่ไว้เพื่อสะดวกต่อการเข้ารักษา  และเมื่อผมแข็งแรง หมอบอกว่ากลับบ้านได้ ผมก็จะออกจากป่านี้กลับป่าแห่งใดสักแห่ง เพราะสถานะของผมคือ “ช้างป่า ” และกำลังถูกปลุกให้ตื่น…

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก ภัทรพล ล็อต มณีอ่อน 


advertisement