advertisement

หมอโอภาส เผยปอดอักเสบรุนแรง สาเหตุไม่ได้มาจาก COVID-19 อย่างเดียว


advertisement

        เมื่อวันที่ 13 เม.ย. 63 เฟซบุ๊ก Opass Putcharoen ของ ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้โพสต์ให้ความรู้ ถึงอาการปอดอักเสบรุนแรง ที่เกิดจากเชื้อโควิด-19 โดย หมอโอภาส ได้ระบุว่า….

        "การเกิดปอดอักเสบรุนแรงที่เกิดจาก COVID-19 (เวลาอ่าน 3 นาที —บทความเป็นความเห็นส่วนตัว ในมุมของหมอโรคติดเชื้อคนหนึ่ง) ปอดอักเสบที่ไม่ได้เสียหายจากไวรัสเพียงอย่างเดียว

        การศึกษาหลายๆการศึกษาในระยะหลังชี้ให้เห็นว่าบทบาทของการทำให้คนไข้โรคปอดอักเสบโควิดมีอาการรุนแรงจนเกิดภาวะหายใจล้มเหลวส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไปจนเกิดภาวะสร้างสารต่อต้านการอักเสบเป็นจำนวนมาก (cytokine storm) มาทำลายเซลล์ปอด เกิดการอักเสบของหลอดเลือดเล็กๆในปอด การกระตุ้นการอักเสบที่มากก็เกิดจากเชื้อไวรัส และอีกส่วนหนึงที่อาจจะมากกว่าเกิดจากการอักเสบของร่างกายที่ทำงานมากเกินไป [ads]

        การใช้แต่ยาต้านไวรัสเพียงอย่างเดียวก็อาจจะไม่พอ ในบางรายที่เกิด cytokine storm อาจมีการให้ยาที่ลดหรือต้าน cytokine ที่ร่างกายสร้างมามากขึ้น ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เรามีประสบการณ์ร่วมกับหมอโรคปอดในการใช้ยา tocilizumab ที่เป็น IL-6 recptor blocker เพื่อลดกระบวนการที่ทำลายปอดจากการสร้างสาร interlukin 6 ที่มากเกินไป ในผู้ป่วย 6 ราย โดยการตอบสนองเกิดขึ้นหลังจากให้ยา 3-4 วัน ติดตามอาการ การแลกเปลี่ยนออกซิเจนดีขึ้น จนไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและถอดท่อช่วยหายใจได้


advertisement

        การรักษาอื่นๆที่ช่วยในการลดปริมาณ cytokine ที่มากไปได้แก่การทำการกรองแบบ hemoperfusion ที่พิจารณาทำในผู้ป่วยบางราย
ในรูปเป็นเอกซเรย์ปอดคนไข้ในไอซียูศูนย์โรคอุบัติใหม่จุฬา มาด้วยปอดอักเสบและมี progression ของการอักเสบมากขึ้นจนต้องใส่ท่อช่วยหายใจ รูปสุดท้ายเป็นรูปหลังจากที่ได้ tocilizumab ร่วมกับยาต้านไวรัส (ก่อนให้ยา tocilizumab ตรวจพบว่าระดับของ IL-6, ferritin ที่ชี้ว่ามีอาการอักเสบอยู่ในระดับสูง) ขนาดที่ใช้คือ 400-800 มิลลิกรัม

        เลือกใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและมีระดับของ IL-6 สูงขึ้น ยังคงต้องติดตามข้อมูลกันต่อเรื่องการอักเสบในโรคโควิด น่าจะมีมากขึ้นเรื่อยๆครับ


advertisement

        **ขอบคุณเทพๆทั้งหลายได้แก่ ทีม chest ทีม critical care ทีม kidney ที่ช่วยกันดูแลคนไข้หนักของเราทุกรายครับ"

        เป็นอีกหนึ่งข้อมูลความรู้ที่เราจะต้องรู้เท่าทันโควิด-19 ซึ่งแน่นอนว่า ตอนนี้ทุกคนต่างต้องช่วยกันร่วมมือในการดูแลป้องกันตนเอง และอยู่บ้านช่วยกันหยุดเชื้อเพื่อชาติ

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก Opass Putcharoen 


advertisement