advertisement

อัพเดทความคืบหน้า ก่อสร้างและตกแต่งภายในสถานีรถไฟกลางบางซื่อ


advertisement

      เริ่มนับถอยหลังที่จะได้ใช้งานกันแล้วล่ะค่ะ สำหรับสถานีรถไฟที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย "สถานีกลางบางซื่อ" ว่าที่สถานีรถไฟศูนย์กลางของระบบรถไฟทางไกลที่จะมาแทนที่สถานีรถไฟกรุงเทพหรือหัวลำโพง ที่มีการออกแบบสร้างอย่างใหญ่โต​

สถานีกลางบางซื่อ

         ล่าสุด เฟซบุ๊กเพจ โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure ได้มาอัพเดทความคืบหน้าการก่อสร้างและตกแต่งภายในสถานีรถไฟกลางบางซื่อ พร้อมระบุว่า…


advertisement

​         "Update ความคืบหน้า การก่อสร้าง และตกแต่ง ภายในสถานีกลางบางซื่อ

         วันนี้ผมได้รูปงามๆ มาจากลูกเพจ ผมเลยขอมาแชร์ความอลังการ และวิธีการติดตั้ง กระจกที่ทุกคน ถามถึงกันมาก ทั้งเป็นห่วง เรื่องการทำความสะอาดอีก 

         ซึ่งวันนี้ ขอมาพูดเฉพาะแต่ส่วนงานงานก่อสร้าง และตกแต่ง ภายในภายนอก ของสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งเมื่อวานผมได้แชร์ภาพให้ดูว่ากระจกหน้าสถานีเกือบจะเสร็จสมบูรณ์แล้ว วันนี้เท่าที่ดูเสร็จสมบูรณ์จริงๆ แล้วครับ จะมีโบ๋อยู่ตรงเสานิดนึง แต่ไม่ใช่เป็นส่วนกระจกลอยด้านหน้าหลักแล้ว จริงๆประเทศเรา เคยเห็นวิธีการติดกระจกแบบลอยแบบนี้ครั้งแรกในการก่อสร้าง สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งตอนนั้น ก็เป็นนวัตกรรมใหม่มาก สมัยที่ก่อสร้างเลย ว่ากระจกจะลอยอยู่ได้ยังไง ในเมื่อไม่มีเสามาให้เกาะ


advertisement

         แต่ในโครงการของสุวรรณภูมิ ก็มีการทำ โครงสร้าง ในการยึดเกาะ ทั้งแกนหลัก และแกนเสริมเพื่อทำให้ กระจก เหมือนลอยอยู่มากที่สุด จนเราได้ Terminal ที่เป็นกล่องกระจกมา 1 หลัง และสถาปัตยกรรมนี้ก็ได้ขยายออกมาสร้าง สถานีมักกะสัน และมาถึงบางซื่อในปัจจุบัน 

         ถ้าใครสงสัยเรื่องการยึดและแขวนของการก่อสร้างรูปแบบนี้ แนะนำให้ไปดูทางลิ้งค์นี้ครับ อธิบายอุปกรณ์ทุกตัว และการยึดผนังกระจกไว้ได้ละเอียดมาก http://kongkrit1902.blogspot.com/2019/01/facade.html?m=1 อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับน้ำหนักและยึกเกาะของกระจก จะมีตามนี้


advertisement

         1. Vertical Truss

         2. Compression Truss

         3. Horizontal Truss

         4. Finger

         5. Spider

         6. Tension Rod

         7. Routel หรือ Fitting

         8. Anchor Casting

         9. Portal Frame

         10. Linkage

         11. Super Truss Frame

         แต่เนื่องจาก โถงทางเข้าหลังของสถานีกลางบางซื่อ ไม่ได้มีความสูงและกว้างเหมือนสุวรรณภูมิ เลยไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ในการยึดเกาะ และรับน้ำหนักมากเท่าของสุวรรณภูมิ เท่าที่ดูด้วยสายตา จะใช้เพียงแค่

         1. Vertical Truss

         2. Horizontal Truss

         3. Finger


advertisement

         ผมก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ซะด้วย ถ้าใครมีความรู้ทางด้านนี้ รบกวนช่วยมาอธิบายเพิ่มเติมด้วยนะครับ ส่วนรูปต่อๆไปก็เป็น พื้นที่พาณิชย์กรรม ด้านหน้าสถานี ด้านข้างของโถงทางเข้าหลัก พื้นที่โถงรอคอย ชั้น 1 ก่อนขึ้นชานชลา พื้นที่ชานชลา ชั้น 2 สำหรับรถไฟชานเมือง สายสีแดง และรถไฟทางไกลทุกเส้นทาง ในอนาคต พื้นที่ชานชลา ชั้น 3 สำหรับรถไฟความเร็วสูง ทุกสาย ตั้งแต่ 3 สนามบิน, อิสาน, เหนือ และใต้ ผมว่าจากในรูปนี้คงหนำใจลูกเพจทุกท่านพอสมควรแล้วนะครับ"

กระจกหน้าสถานีเกือบจะเสร็จสมบูรณ์แล้ว

คืบหน้าไปมาก 

โถงทางเข้าหลังของสถานี

ตกแต่งภายใน 

กว้างขวางใหญ่โต 

        เริ่มนับถอยหลังที่จะได้ใช้งานกันแล้วล่ะค่ะ สำหรับสถานีรถไฟที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย "สถานีกลางบางซื่อ" ว่าที่สถานีรถไฟศูนย์กลางของระบบรถไฟทางไกลที่จะมาแทนที่สถานีรถไฟกรุงเทพหรือหัวลำโพง ที่มีการออกแบบสร้างอย่างใหญ่โต

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure 


advertisement