advertisement

อัพเดทความคืบหน้า อุโมงค์ไฟฟ้ายักษ์ใต้ดินใจกลางกรุงเทพฯ


advertisement

       การไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน. ได้ดำเนินการสร้างอุโมงค์ขนาดยักษ์ เพื่อเพิ่มเส้นทางการจ่ายไฟฟ้าด้วยระบบสายไฟฟ้าแรงสูงใต้ดินให้ครอบคลุมพื้นที่ในเขตเมืองมากยิ่งขึ้น โดยเป็นการดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์แบบ Shielded Tuneling เพิ่มเติมจากถนนชิดลมถึงถนนสารสิน (ตลอดแนวถนน) และถนนเพลินจิต (จากสี่แยกชิดลมถึงสี่แยกเพลินจิต) โดยก่อสร้างในส่วนต่อขยายจากอุโมงค์ไฟฟ้าใต้ดินเดิมของ กฟน. ที่ปัจจุบันเชื่อมต่อการจ่ายระบบไฟฟ้าระหว่างสถานีต้นทางบางกะปิถึงสถานีต้นทางชิดลม ขนาดแรงดัน 230 กิโลโวลต์ (kV)

อุโมงค์ไฟฟ้ายักษ์ใต้ดินใจกลางกรุงเทพฯ

       ในการก่อสร้างอุโมงค์ใช้เครื่องขุดเจาะขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.6 เมตร และ 3.6 เมตร ซึ่งเป็นรูปแบบที่สามารถขุดอุโมงค์พร้อมกับการติดตั้งผนังอุโมงค์ได้ในคราวเดียวกัน และยังสามารถกำหนดทิศทางการเจาะเป็นเส้นโค้งได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาใช้ในการรักษาความปลอดภัย เช่น ระบบป้องกันความปลอดภัยในกรณีเกิดอุทกภัยด้วยระบบระบายน้ำ (Drainage Pump System) และการก่อสร้างทางลงอุโมงค์ในระยะพ้นน้ำ (Freeboard) ในขนาดความสูง 1.20 เมตร รวมถึงการติดตั้งระบบแจ้งเตือนอัคคีภัย และระบบระบายอากาศเพื่อป้องกันเหตุเพลิงไหม้ ใช้งบประมาณกว่า 878 ล้านบาท และใช้ระยะเวลาการก่อสร้างทั้งสิ้น 1,080 วัน (ตั้งแต่ พ.ศ. 2560 – 2563)


advertisement

       ในปัจจุบัน มีโครงการอุโมงค์สายไฟฟ้าใต้ดินแรงดันสูง 230 กิโลโวลต์ ของ กฟน. อยู่ 4 แห่ง โดยแบ่งเป็นโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ คือ อุโมงค์สถานีต้นทางบางกะปิถึงสถานีต้นทางชิดลม ระยะทาง 7 กิโลเมตร และอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าลาดพร้าว-วิภาวดี ส่วนโครงการที่ดำเนินการอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง คือ โครงการบริเวณคลองพระโขนง และโครงการอุโมงค์ Outgoing สถานีต้นทางชิดลม

ความคืบหน้า 


advertisement
ใช้ระยะเวลาการก่อสร้างทั้งสิ้น 1,080 วัน


advertisement

        นับว่าเป็นโครงการที่ดีที่ช่วยในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งนอกจากประชาชนจะได้ใช้ไฟฟ้าอย่างมั่นคงและเพียงพอ ระบบมีคุณภาพ และครอบคลุมอย่างทั่วถึงแล้ว ยังทำให้ทัศนียภาพสวยงาม ไร้เสาไฟและสายไฟมาบดบังทัศนียภาพอีกด้วยค่ะ

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com 


advertisement