advertisement

อ.หมอธีระ แนะ 9 ข้อ พฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่ควรเปลี่ยน เพื่อสู้กับโรคระบาด


advertisement

        จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคในประเทศไทยที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในตอนนี้ ถึงแม้ว่ายอดผู้ติดเชื้อจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด แต่เรายังประมาทไม่ได้ ที่บ้านเมืองจะกลับมาสู่สภาวะปกติอีกไม่กี่วันนี้ ต้องมีมาตรการในการรับมือที่ดีเพื่อป้องการกลับมาระบาดอีกครั้ง 

       ล่าสุด ทางด้านรศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้ออกมาโพสต์ข้อความแนะนำข้อคิดในการปรับตัวเพื่อที่บ้านเมืองจะกลับมาปกติอีกครั้ง ควรปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตประจำวัน 9 ข้อ โดยระบุว่า…

        การเตรียมตัวสู่ “New Normal” = New “Me” โดย รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรศ.ดร.พญ.ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

         กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ที่เราไม่ได้เห็นจำนวนติดเชื้อโรครายใหม่น้อยเช่นนี้ 15 คนคือรายงานสำหรับวันนี้ 10 คนติดจากไปสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อมาก่อน จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวมาก่อนก็ตาม คิดเป็น 67% 1 คนมาจากต่างประเทศ แต่ที่เหลือมาจากการมีอาชีพที่พบปะคนอื่นๆ ในสังคม และการตะลอนไปตามชุมชน ห้าง ตลาด ที่แออัด คิดเป็น 27% ของทั้งหมด…

        นี่คือสัญญาณย้ำเตือนว่า ลักษณะติดเชื้อรายใหม่ที่เกิดขึ้นอยู่ทุกวันนี้จะเลี่ยงได้ยากมาก หากดำเนินชีวิตไปมาหาสู่แบบเมื่อก่อน “New Normal” ไม่ใช่แค่คำสวยหรูสำหรับการประกาศเชิญชวน แต่เป็นสิ่งที่เราทุกคนในสังคมต้องตระหนักถึงความสำคัญที่จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราเองให้เปลี่ยนไปจากที่เคยทำประจำในอดีตให้ได้ แม้จะไม่ชอบ ไม่สะดวกสบาย หรือฝืนใจ

        แต่หากเรารักตัวเรา รักพ่อแม่พี่น้องและคนใกล้ชิด ไม่อยากติดเชื้อจากใคร ไม่อยากแพร่ให้เขา ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากเสียชีวิต ไม่มีทางเลือกอื่นใด นอกจากทำให้เป็น New “Me” ควรตั้งแง่สงสัยไว้เสมอว่า คนที่เราพบเจอในชีวิตประจำวันนั้น ไม่ว่าจะรู้จักคุ้นเคยกันดีเพียงใด ก็ล้วนอาจติดเชื้อโรค COVID-19 อยู่โดยไม่รู้ตัว โรคนี้ยังไม่มีวิธีรักษามาตรฐาน โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แถมการตรวจก็ทรมาน และใช้ทรัพยากรมาก [ads]

        ถ้าเป็นต้องรักษาตัวอยู่นานหลายสัปดาห์ และมีโอกาสตาย ไม่ใช่หวัดธรรมดา New “Me” ประกอบด้วยขั้นตอนปฏิบัติในชีวิตประจำวันอย่างน้อยอีก 1 ปีถัดจากนี้ ดังนี้..

        1.ตั้ง Default ของชีวิตว่า “อยู่กับบ้าน” ออกจากบ้านเมื่อยามจำเป็นจริงๆ เท่านั้น

        2.ต้องเช็คอาวุธประจำตัวก่อนก้าวเท้าออกไปจากบ้าน “ใส่หน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัย พกเจลแอลกอฮอล์หรือสเปรย์แอลกอฮอล์” พร้อมวางแผนให้ชัดว่าจะไปไหน ทำอะไร เจอใคร และพยายามจัดการให้เสร็จโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อลดเวลาสัมผัสผู้คนภายนอก หากไม่จำเป็นจริงๆ อย่าไปลงแรงออกจากบ้านให้เสี่ยงเลย ใช้โทรหรือวีดิโอคอลล์ติดต่อแทนจะดีกว่า


advertisement

        3.ล้างมือเป็นประจำทุกครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงขณะอยู่ข้างนอก แต่ถ้าเผลอไปจับสิ่งของสาธารณะ หรือจับหน้ากากตัวเองเมื่อไหร่ ให้ล้างมือเมื่อนั้น และระวังอย่าเอามือไปขยี้ตาและล้วงแคะแกะเกาจมูกปาก

        4.ใช้ขนส่งสาธารณะเท่าที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น ถ้าจะใช้รถเมล์ รถไฟ รถตู้ ควรเช็คให้ดีว่าแออัดไหม ถ้าใกล้กันกว่าหนึ่งเมตร อาจต้องรับรู้ไว้ว่าเสี่ยงติดเชื้อนะ ไม่ไปจะดีกว่าไหม รอคันอื่น หรือเลือกเวลาที่ไม่แออัด แต่หากเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องคอยสังเกตอาการ ประเมินความเสี่ยงของตนเอง เมื่อสงสัยควรรีบไปตรวจที่สถานพยาบาลหรือปรึกษาแพทย์

        5.ใช้บริการมอเตอร์ไซค์ นั่งซ้อนแล้วควรใส่หน้ากากอนามัยเสมอ และสังเกตด้วยว่าคนขับนั้นใส่หน้ากากและใส่หมวกกันน็อคไหม ถ้าไม่ ก็ควรบอกให้ใส่ ถ้าไม่ใส่ ไม่ควรใช้บริการ ตอนนั่งซ้อนมอเตอร์ไซค์ ควรหันข้าง ไม่นั่งคร่อม คุณผู้หญิงคงจะชิน แต่ผู้ชายอาจลำบาก ถ้าจะนั่งคร่อม อาจต้องหันหน้าไปด้านข้าง จะดีกว่า เพื่อกันไม่ให้เราหายใจรดหลังคนขับ แม้จะใส่หน้ากากแล้วก็ตาม


advertisement

        6.อยู่ข้างนอก ระแวงคนอื่นไว้เยอะๆ จะได้อยู่ห่างๆ จากเขา อย่างน้อย 1-1.5 เมตรเสมอ ไม่ว่าจะเป็นคนใกล้ชิดคุ้นเคย เจ้านายลูกน้อง หรืออื่นๆ เพื่อทั้งเราและเขาจะได้ปลอดภัย

        7.“ยืดอก…พกถุง” พกถุงผ้าไว้ติดตัว เวลาซื้ออาหารหรือของจิปาถะจะได้ใช้ได้เสมอ ไม่ต้องแชร์ หยิบจับภาชนะกับคนอื่นในสังคม ไม่ติดไม่แพร่ถ้าไม่แชร์

        8.จำไว้ว่า อย่าแชร์แก้ว แชร์ขวด แชร์ช้อนส้อมจานชาม หรือแม้แต่แชร์บุหรี่กับใครก็ตามที่ไม่ใช่ตัวเราเอง จำได้ไหมว่าแพร่กระจายกันกระจุยแถวทองหล่อ ดังนั้นต้องไม่ทำ ไม่ว่าจะกลางวันหรือกลางคืน

         9.กลับถึงบ้านอย่าเพิ่งไปกอดหอมทักทายคนรักคนใกล้ชิด ล้างมือก่อนเข้าบ้าน เข้าบ้านแล้วไปอาบน้ำก่อนดีกว่า

        หากรัฐเขาจะปลดล็อคการใช้ชีวิตในสังคมในรูปแบบใดก็ตาม จะเสี่ยงมากเสี่ยงน้อยก็แล้วแต่ ขอให้ทุกคนที่พออยู่นิ่งๆ แบบที่ทำกันมาตลอดในเดือนมีนาคมและเมษายน จงอยู่นิ่งๆ กับบ้านต่อไปดีกว่าครับ เพราะทั่วโลกที่ปลดล็อคนั้น เขาโชว์ให้เราเห็นแล้วว่า มีโอกาสระบาดซ้ำสูงมาก ถ้าเราไหว ทำงานที่บ้านเยอะๆ อยู่นิ่งๆ ไปก่อน ดูลาดเลาเงียบๆ ตลอดเดือนพฤษภาคม

        ถ้าเราเป็นเจ้านาย ให้ลูกน้องทำงานจากบ้านเยอะๆ ตลอดเดือนพฤษภาคม จะช่วยป้องกันเราและลูกน้องได้มาก หากเกิดระบาดซ้ำ อย่างน้อยเราก็จะได้เป็นกำลังเสริมสำหรับสังคม ช่วยเหลือคนอื่นๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือ ระบาดรุนแรงครั้งนี้ เราจะรอดกันได้ ถ้าเราวางยุทธศาสตร์การใช้ชีวิตอย่างรอบคอบ ห่วงตนเอง คนรัก คนใกล้ชิด ใช้ชีวิตพอเพียง..

       เราจะต้องเตรียมตัวการกลับมาสู่สภาวะปกติ ที่จะต้องมีมาตรการในการในชีวิตให้ปลอดภัยจากเชื้อโรคกันต่อไป เปลี่ยนพฤติกรรมที่เพื่อสู้กับเชื้อโรค 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก Thira Woratanarat  


advertisement