advertisement

อ.เจษฎา แจงแล้ว หน้ากากอนามัย ไม่มี VFE ป้องกันไม่ได้จริงหรือ?


advertisement

      เป็นประเด็นที่ส่งต่อกันไปทั่วโลกออนไลน์ หลังจากที่มีการสร้างกระแสข่าวออกมาว่า หน้ากากอนามัย ที่ไม่มี VFE ระบุเอาไว้ที่กล่อง ไม่สามารถป้องกันเชื้อได้ ใส่ไปก็ไม่มีประโยชน์ สร้างความวิตกกังวลให้แก่ประชาชน และเกิดคำถามขึ้นว่า จริงตามข่าวลือหรือไม่

ไม่มี VFE ป้องกันไม่ได้จริงหรือ

         ล่าสุด อ.เจษฎา เด่นอาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาให้ความรู้ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นนี้ ระบุว่า…


advertisement

         หน้ากากอนามัยผลิตได้มาตรฐาน ก็ป้องกันการแพร่ไวรัสได้ แม้ไม่มี VFE ครับ เมื่อเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมา มีคนแชร์เรื่องนี้มาถามเยอะมากเลย แต่ขออภัยด้วย ติดธุระอยู่ เพิ่งมีโอกาสได้มานั่งเขียนตอบตอนนี้ มีการแชร์ข้อความเกี่ยวกับการเลือกซื้อหน้ากากอนามัย เลยบอกว่า ถ้าไม่ระบุคำว่า VFE ทำให้ป้องกันไวรัสไม่ได้ ไม่ให้ซื้อ ไม่ให้ใส่

         จริงๆ ต้องเข้าใจอย่างหนึ่งก่อนว่า การที่เราใส่หน้ากากอนามัยในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของนั้น ก็เพื่อลดการแพร่เชื้อโรคออกจากร่างกายเรา ในฐานะที่เป็นพาหะของเชื้อ ทั้งแบบที่มีอาการไอจาม และแบบไม่มีอาการ (แต่มีละอองน้ำลายออกไปได้ เวลาพูดจา) แต่มันไม่ได้มีหน้าที่หลัก ในการป้องกันการรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย อย่างที่หลายคนเข้าใจผิดกัน (ซึ่งถ้าต้องการแบบนั้นจริงๆ คงต้องไปใส่หน้ากาก n95 ในสถานการณ์ที่อยู่ใกล้กับผู้ติดเชื้อโดยตรง , หรือไม่งั้น ก็ต้องใส่หน้ากากผ้า ทับหน้ากากอนามัยอีกชั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความกระชับ)

         ดังนั้น ถ้าหน้ากากอนามัยนั้น มีความสามารถในการกรองไม่ให้ละอองน้ำลายที่เราไอจามออกไป ออกไปสู่ผู้อื่นได้ดีเพียงพอแล้ว ก็สามารถนำมาใช้ได้เลย (หลักการเดียวกับการที่แพทย์ใส่หน้ากากอนามัยแบบนี้ สำหรับผ่าตัด เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำลายตัวเอง ลงไปในแผลของคนไข้ระหว่างผ่าตัด)


advertisement


advertisement

         เมื่อดูข้างกล่องของผลิตภัณฑ์หน้ากากอนามัยแล้ว อาจจะพบตัวอักษรย่อ ที่บ่งบอกเรื่องความสามารถในการกรอง ของแผ่นกรองหน้ากาก ได้แก่ BFE (กรองเชื้อแบคทีเรีย Bacterial Filtration Efficiency) , VFE (กรองเชื้อไวรัส Viral Filtration Efficiency) และ PFE (กรองอนุภาคฝุ่น Particle Filtration Efficiency) ซึ่งเป็นการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM F2100

          ซึ่งผลิตภัณฑ์หน้ากากอนามัยที่ผ่านการทดสอบ PFE แล้ว ก็สามารถจะบอกได้ว่ากรองไวรัสได้เช่นกัน เพราะว่าขนาดของฝุ่นที่ใช้ในการทดสอบนั้นก็มีขนาดเล็กมาก คือขนาด 0.3 ไมครอนเท่านั้น ขณะที่มาตรฐานของหน้ากากอนามัยทางการแพทย์นั้น กำหนดต้องทดสอบทั้ง PFE และ BFE แต่ VFE เป็นการทดสอบเสริม ไม่จำเป็นต้องทำ .. แต่บางยี่ห้อที่ทดสอบ VFE อาจต้องการเน้นโฆษณาเพื่อสร้างจุดเด่นของสินค้า (แต่ไม่ใช่ว่า ถ้าหน้ากากไม่มีผล VFE จะห้ามใช้) ที่น่าเป็นห่วงมากกว่าคือ อาจจะมีการแอบอ้าง เพียงแค่พิมพ์ BFE , PFE หรือ VFE ข้างกล่องนั้น โดยไม่ได้ผ่านการทดสอบมาตรฐานจริงๆ ก็ได้

         ดังนั้น อ่านที่ถูกต้องมากกว่าก็คือ ให้เลือกซื้อหน้ากากอนามัย ที่ อย. รับรองแล้ว ก็จะมั่นใจได้ว่า มีคุณสมบัติในการป้องกันการแพร่เชื้อไวรัส ออกไปพร้อมละอองฝอยของน้ำลายได้ แม้ว่าไม่ระบุข้อมูล VFE ก็ตาม (สามารถตรวจสอบรายชื่อหน้ากากอนามัยที่ได้รับอนุญาตจาก อย. ได้ที่ www.fda.moph.go.th

         สรุป ถึงหน้ากากอนามัยนั้น จะไม่ได้ระบุ VFE (หรือระบุวัตถุประสงค์อื่น เช่น ป้องกันฝุ่นละออง ป้องกันกลิ่น) ก็มีประสิทธิภาพในการป้องกันการทะลุผ่านของละอองฝอย และเชื้อไวรัสที่ปนมากับละอองฝอยได้"


advertisement

         บางครั้ง ข่าวที่ออกมาอย่างไม่มีมูลความจริง ก็สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนได้ ซึ่งก็ได้ทราบข้อเท็จจริงกันไปแล้วค่ะ

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์  


advertisement