advertisement

อ.เจษฎา แจงทำธนาคารน้ำใต้ดินผิดหลักอาจเป็นอันตราย


advertisement

     จากกรณีที่ถูกแชร์กันไปทั่วโลกโซเชียล สำหรับเรื่องการทำ ธนาคารน้ำใต้ดิน เป็นศัพท์ที่ใช้ในการเติมน้ำลงชั้นน้ำบาดาล โดยจะมีการขุดหลุดแล้วนำขยะลงไปฝังมีทั้งขวดพลาสติก ยางต่างๆ ซึ่งหลายฝ่ายได้ออกมาวิจารย์ว่าเป็นเรื่องที่ผิด 

       ล่าสุด ทางด้าน อาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ก็ได้ออกมาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของธนาคารน้ำใต้ดิน โดยระบุว่า…

      สืบเนื่องจากโพสต์ที่แล้ว เรื่อง "ธนาคารน้ำใต้ดิน" เห็นได้ชัดว่า วิธีการที่มีการรณรงค์ให้ทำกันอยู่ อย่างในรูปนี้ เป็นวิธีที่ "ผิดหลักวิชาการ" อย่างแน่นอน .. เพราะหลุมมีขนาดเล็กมาก (กว้างสักฟุตหนึ่ง) ตื้นมาก (ประมาณแค่เมตรเดียว) แล้วยังใส่ขยะลงไป อย่างพวกขวดพลาสติก อีกด้วย

      ที่ถูกนั้น ถ้าจะทำให้ได้ผลเหมือนอย่างที่มีต้นแบบในอินเดีย จะต้องทำหลุมขนาดใหญ่ที่กักเก็บน้ำได้ ควรมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เมตรขึ้นไป และลึก 2-3 เมตรหรือจนถึงระดับที่ดินมีรูพรุน เช่น เป็นชั้นหินทราย เพื่อให้ส่งน้ำลงไปถึงชั้นน้ำบาดาลใต้ดินได้ ….ตัวหลุมเองก็ต้องทำด้วยวัสดุธรรมชาติ เช่นหินกรวด ทราย ไม่ใช่ขยะอย่างยางรถยนต์ หรือขวดพลาสติก ซึ่งเมื่อสลายตัว ก็จะเป็นการส่งสารที่อาจเป็นอันตรายลงไปในน้ำด้วย

      นอกจากนั้น ยังต้องผ่านการทดสอบวิเคราะห์ก่อนว่า น้ำผิวดินที่จะลงไปในหลุม เป็นน้ำที่สะอาดจริง ไม่ได้มีสารที่เป็นอันตราย ทั้งปุ๋ย ยากำจัดแมลง และน้ำเสียอื่นๆ ลงไปด้วย เพราะจะยิ่งลงไปสะสมในชั้นน้ำบาดาล และเมื่อสูบขึ้นมาใช้ ก็จะเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้

      สรุปคือ ใครทำกันอยู่ หรือมีคนมาชวนให้ทำแบบนี้ ก็อย่าทำเลยครับ สิ้นเปลืองทั้งแรง เวลา และงบประมาณครับ


advertisement
ที่อินเดียเขาทำอย่างถูกวิธี 


advertisement

       เป็นความรู้ดีๆ ที่อาจารย์เจษได้ออกมาชี้แจงให้สังคมได้รู้กันว่าการทำธนาคารน้ำใต้ดิน แบบที่ทำอยู่นั้นมันผิดหลัก แล้วยังอาจจะเป็นอันตราย ทำร้ายสิ่งแวดล้อมอีกตั้งหาก ถ้าหากว่าใครจะทำต้องทำให้ถูกหลักซึ่งมีขนาดหลุดที่ใหญ่กว่าที่เราทำมาก 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก Jessada Denduangboripant 


advertisement