advertisement
เป็นอีกหนึ่งวัสดุที่ใช้ในห้องน้ำ สำหรับ กระจกกั้นห้องน้ำ ฉากกั้นอาบน้ำ กระจกห้องน้ำ กระจกเทมเปอร์นิรภัย นอกจากแบ่งส่วนแห้งส่วนเปียก ความสวยงาม ทำให้ไม่เสี่ยงต่อการลื่น ยังให้ความหรูหราต่อตัวห้องน้ำ
ล่าสุด ทางด้านผู้ใช้เฟสบุ๊ก Sorasak Chotiwongsuroje ได้โพสต์ภาพของกระจกกั้นห้องน้ำ ที่อยู่ๆ ก็แตกเอง เจ้าของบ้านสงสัยว่าเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ โดยได้โพสต์ระบุว่า…
สอบถามครับ กระจกในห้องน้ำระเบิดครับ เกิดจากอะไรครับ
advertisement
เดา กระจกน่าจะแนบติดพื้นแล้วพื้นห้องน้ำขยายตัวบีบนกระจกแตก
advertisement
กระจก temper ผมเคยเอาค้อนทุบทิ้ง10กว่าบาน ทุบแรงๆตรงๆไม่แตก แตกทุบที่ขอบข้าง เดาว่าตัวหนีบกระจกขันแน่นไป ขยายตัวไม่ได้ หรือขันตัวหนีบไม่เท่ากันบานตกบิด ภาระไปหนักกับอีกตัวเลยแตกครับ
advertisement
กระจกเทมเปอร์ระเบิดได้ด้วยตัวเอง มีหลายปัจจัย เช่นกระจกไม่ได้ผ่านการเจียรขอบ และมีรอยบิ่น ทำให้กระจกวิ่งแตก (ปกติโรงงานแปรรูปส่วนใหญ่จะแนะนำให้เจียรขอบอยู่แล้ว) หรือเกิดจากการติดตั้ง ที่ให้กระจกรับน้ำหนักมากเกินไปที่มุมใดมุมหนึ่ง
หรือเนื่องจากมีสาร nickel sulfide ซึ่งพบได้ทั่วไปในเนื้อกระจกใส โดยสารดังกล่าวจะขยายตัวจากการอบกระจกเทมเปอร์ในเตา และกระจายตัวไปอยู่ในพื้นที่ที่บอบบางของตัวกระจก พอ nickel sulfide ขยายตัวมาก ๆ เข้า กระจกก็จะระเบิดแตกได้ด้วยตัวเอง เรียกว่า spontaneous breakge
สังเกตง่าย ๆ ว่า การระเบิดแตก เกิดจาก nickel sulfide หรือไม่ คือดูที่ pattern การแตก ถ้าในบริเวณที่แตกจากกลางแผ่น มีรูปเลข 8 หรือลักษณะคล้าย ๆ ปีกผีเสื้ออยู่ แปลว่าเกิดจาก nickel sulfide ขยายตัว (แต่จะสังเกตออกก็ต่อเมื่อ ใช้กระจกเทมเปอร์เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระจกลามิเนตที่มีฟิล์ม interlayer PVB / SGP ตรงกลางเพื่อยึดกระจกสองแผ่นเข้าด้วยกัน พอกระจกระเบิดแตก จะสามารถเห็น pattern การแตกได้ จากการที่เศษกระจกยังติดอยู่ที่ตัวฟิล์ม แต่ในกรณีใช้เทมเปอร์แผ่นเดี่ยว ๆ เมื่อกระจกแตกเศษก็จะตกกรูลงมาทั้งแผ่น ทำให้ยากจะหาสาเหตุได้อยู่ดีครับ ว่าแตกที่อะไร)
วิธีการแก้ปัญหา
1. ใช้กระจกใสพิเศษ (clear vision / low iron) เนื่องจากเนื้อกระจกบริสุทธิ์มากกว่า (ใสมากกว่า) เพราะนำสารจำพวก iron ออกจากกระบวนการทำกระจกดิบ สาร nickel sulfide พบได้น้อยลงในเนื้อกระจก โอกาสเกิดการระเบิดแตกจึงน้อยกว่า
2. ใช้กระจก heat strengthened แทน เทมเปอร์ จะไม่เกิด spontaneous breakage แต่กระจก heat strengthened เวลาแตก จะแตกเข้ามุมเป็นแผ่นใหญ่ เหมือนกระจกปกติที่ไม่ผ่านการอบ จึงควรใช้เป็นกระจก heat strengthened นำมาแปรรูปเป็นกระจกลามิเนตอีกที
แต่เนื่องจากฟิล์ม interlayer ที่ใช้แปรรูปกระจกลามิเนตจะเป็น PVB ซึ่งมีคุณสมบัติดูดกลืนความชื้น ไม่สามารถใช้ในห้องน้ำได้ จึงต้องใช้ฟิล์มอีกประเภทคือ SGP ที่ไม่ดูดกลืนความชื่น และนิยมให้ในกระจกจำพวกราวกันตก (balustrade) อาคารสูง แต่จะทำให้ต้นทุนแพงขึ้นหลายเท่า
3. ใช้กระจกเทมเปอร์ Heat Soaked Test อธิบายง่าย ๆ คือเอากระจกเทมเปอร์เข้าเครื่อง Heat Soak เพื่อทดลองว่ากระจกเทมเปอร์จะระเบิดแตกเองหรือไม่ จะช่วยแก้ปัญหาที่กระจกระเบิดแตกในภายหลังได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่ได้รับประกัน 100% ว่ากระจกเทมเปอร์จะไม่ระเบิดแตกเองครับ
advertisement
กระจ่างเลยงานนี้ ที่กระจกแตกเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่นกระจกไม่ได้ผ่านการเจียรขอบ และมีรอยบิ่น ทำให้กระจกวิ่งแตก หรือเกิดจากการติดตั้ง ที่ให้กระจกรับน้ำหนักมากเกินไปที่มุมใดมุมหนึ่ง
เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก Sorasak Chotiwongsuroje
advertisement