advertisement

เช็กมาตรการ 8 แบงก์รัฐ ช่วยเหลือระบาดระลอก 3 เข้าเกณฑ์ขอได้เลย


advertisement

      สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรค ระลอก 3 ที่มีผู้ติดเชื้อในแต่ละวัน เป็นหลักพันนั้น นอกจากจะส่งผลกระทบในเชิงสุขภาพแล้ว ยังส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจด้วย ทั้งคนเดินทางน้อยลง ทำงานจากที่บ้าน ลดการจับจ่ายใช้สอย และงดการกิจกรรมท่องเที่ยว จึงทำให้ภาคส่วนต่างๆ ตั้งแต่ภาคประชาชน ภาคธุรกิจตั้งแต่ขนาดกลางและขนาดย่อม จนถึงขนาดใหญ่ ได้รับผลกระทบมากน้อยแตกต่างกันไปในด้านการเงิน

      ล่าสุด 8 แบงก์รัฐ ก็ได้มีมาตรการช่วยเหลือด้านการเงินสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อโรคระลอก 3 ซึ่งมีรูปแบบความช่วยเหลือ ได้แก่ การพัก การลด การขยาย และ การเติม แบงก์ไหนช่วยยังไง ไปเช็กกันเลยครับ  

      1. ธนาคารออมสิน 

      ออกมาตรการ พักชำระหนี้ ได้แก่ มาตรการผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ ซึ่งแบ่งเป็น 2 คือ สำหรับประชาชนฐานรากและบุคคลทั่วไป และสำหรับ ผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี โดยเป็นการช่วยเหลือแก้ไขหนี้ ตามความสามารถรายบุคคล สิ้นสุดมาตรการวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ส่วนมาตรการเติมเงินที่มีวงเงินเหลืออยู่ ได้แก่ โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ในภาคการท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง (ซับพลาย เชน) ในอัตราดอกเบี้ย 3.99% ต่อปี วงเงินรายละ ไม่เกิน 5 แสนบาท และโครงการสินเชื่อดอกเบี้ย ต่ำเพื่อฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี วงเงินรายละ ไม่เกิน 100 ล้านบาท ทั้งสองโครงการกำหนดยื่นขอสินเชื่อภายใน 30 มิถุนายน 2564

      2.ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) 

      เช่น มาตรการพักชำระเงินต้น (ชำระแต่ดอกเบี้ย) นาน 3 เดือน สำหรับบุคคลทั่วไป ที่ขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยหรือ สินเชื่อที่ใช้ที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน มาตรการขยายระยะเวลาโดยลดอัตราผ่อนชำระหนี้ ไม่เกิน 12 เดือน สำหรับบุคคลทั่วไป มาตรการขยายเวลาโดยลดอัตราผ่อนชำระ สูงสุด 24 เดือน หรือ พักชำระเงินต้น (ชำระแต่ดอกเบี้ย) ไม่เกิน 6 เดือน นอกจากนี้ มาตรการที่มีวงเงินเหลืออยู่ คือ มาตรการสนับสนุนวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ให้แก่ผู้ประกอบเอสเอ็มอี ในภาคท่องเที่ยว ภาคค้าส่ง/ค้าปลีก เป็นต้น


advertisement


advertisement

      3.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)

      ได้แก่ มาตรการพักชำระเงินต้น ระยะเวลา 3 เดือน จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน สำหรับผู้กู้ไม่เกิน 3 ล้านบาท ขยายความช่วยเหลือรอบใหม่ถึง 30 เมษายน 2564 มาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ระยะเวลา 3 เดือน โดยไม่เกินวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 สำหรับลูกค้าเดิมที่เข้ามาตรการที่ 1,2,3,4 และ 6 มาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่เคยเข้าร่วม และมารการช่วงเหลือลูกหนี้ที่มีสถานะหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ที่อยู่ระหว่างปรับโครงสร้างหนี้ โดยเลือกจ่ายเงินงวดเหลือ 25% 50% และ75% ตัดทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย [ads]

      4.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 

      โครงการใหม่ ได้แก่โครงการพักชำระหนี้ต้นเงินให้แก่ลูกค้าที่กู้เงินตามโครงการสนับสนุนสินเชื่อฉุกเฉินสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยขยายเวลาชำระหนี้ 6 เดือน แต่ไม่พักชำระดอกเบี้ย สำหรับผู้ประกอบการและ สถาบันเกษตรกร และโครงการพักชำระหนี้ต้นเงินให้แก่ลูกค้าที่กู้เงินตามโครงการสนับสนุนสินเชื่อฉุกเฉินสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยขยายเวลาชำระหนี้ 1 ปี แต่ไม่พักชำระดอกเบี้ย สำหรับ ลูกค้าเกษตรกรและลูกค้าบุคคล นอกจากนี้ มีมาตรการสินเชื่อฉุกเฉินเสริมสภาพคล่องดอกเบี้ย 4% ต่อปี สำหรับผู้ประกอบการและสถาบัน สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 

      5.ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิม แบงก์) 

      เช่น มาตรการฟื้นฟูผู้ประกอบการหลังโควิด-19 โดนเติมสินเชื่อเพิ่ม 20% ของวงเงินเดิม มาตรการสินเชื่อที่มีวงเงินเหลืออยู่ ได้แก่ มาตรการสินเชื่อ SMEs ผ่อนปรน อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี และมาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

      6.บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) 

      เช่น มาตรการขยายระยะเวลาค้ำประกันสินเชื่อโครงการ PGS ระยะที่ 5-7 โครงการค้ำประกันสินเชื่อ พระราชกำหนด พ.ร.ก. สินเชื่อฟื้นฟู โครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. SMEs สร้างชาติ (PGS9) โครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. Micro ต้องชนะ (MICRO4) และ โครงการต้ำประกันสินเชื่อระยะพิเศษ Soft Loan เป็นต้น

      7.ธนาคารพัฒนาวิสหกิจขาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอี ดี แบงก์) 

      ได้แก่ ขยายเวลามาตรการบรรเทาภาระการชำระหนี้ลูกหนี้เดิมเพิมเติมจากมาตร ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มาตรการขยาย หรือ ผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และมาตรการพักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 2 ปี รวมทั้ง โครงการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย (Extra Cash)

      8.ธนาคารอิสลาม (ไอ แบงก์) ได้แก่ มาตรการพักชำระเงินต้น/อัตรากำไร ขยายระยะเวลาสินเชื่อ ยกเว้นค่าชดเชย (เบี้ยปรับ) ช่วยเหลือวงเงินเพิ่มเติม สำหรับลูกค้าและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ที่เกิดจาการแพร่ระบาดขอวโควิด-19


advertisement

      ทั้งนี้ สามารถดูความเคลื่อนของมาตรการใหม่ จากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ได้ที่ www.gfa.or.th ที่จัดทำขึ้นโดย สมาคมสถาบันการเงินรัฐ ที่ได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ ของ สถาบันการเงินของรัฐไว้

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com 


advertisement