advertisement

เตือนภัย โรคติดเกมทำให้เด็กสมาธิสั้น ก้าวร้าว ผู้ใหญ่ติดเกมก็ยิ่งแก้ยาก


advertisement

      เป็นคลิปที่ถูกแชร์อยู่ในโลกโซเชียลและมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากถึงปัญหาที่น่าเป็นห่วง สำหรับปัญหาเด็กติดเกม ทุบคอมพิวเตอร์และแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อครอบครัวหลังเล่นเกมแพ้

       โรคติดเกม (Gaming Disorder) คือ โรคที่เกิดจากพฤติกรรมการเสพติดในทางสมอง มีลักษณะคล้ายการติดสารเสพติด เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาสมอง พัฒนาการ และพฤติกรรมของเด็ก ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการเล่นเกมทางอินเทอร์เน็ต องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้เป็นหนึ่งโรคทางจิตเวชรุนแรง และต้องได้รับการบำบัดรักษา เช่นเดียวกับโรคอื่น ๆ โดยสามารถสังเกตอาการติดเกมได้ดังนี้

       1. ใช้เวลาเล่นเกมนานเกินไป

       2. ขาดการควบคุมตนเองในการใช้ชีวิตปกติ เช่น การกิน การนอน

       3. เสียหน้าที่การเรียนและการงาน

       นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เป็นปัญหาจิตเวชเด็กและวัยรุ่นที่พบบ่อยในอายุระหว่าง 6 – 18 ปี มีความสัมพันธ์กับชนิดของเกมประเภทต่อสู้ออนไลน์แบบมีผู้ลงแข่งเป็นทีมเป็นหลัก และเกิดโรคร่วมทางจิตเวช เช่น โรคสมาธิสั้น วิตกกังวล ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน โรคติดสารเสพติด โรคจิต และโรคลมชัก โดยเฉลี่ยเด็กและวัยรุ่นจะใช้เวลาเล่นเกมนาน 5 ชม.ต่อวัน และเล่นเกมแข่งขันต่อสู้ออนไลน์ 1 – 4 เกมสลับกันไป ซึ่งเกินระดับความปลอดภัยในการเล่นเกม 9 ชั่วโมง /ต่อสัปดาห์

       เด็กมักแสดงอาการหงุดหงิด ก้าวร้าวเมื่อให้เลิกเล่น และมักไม่ทำหน้าที่ตามความรับผิดชอบของตนเองซึ่งเกิดผลกระทบต่างๆ ตามมา ได้แก่ ปัญหาการเรียน สอบตก ไม่ยอมไปโรงเรียน ซ้ำชั้น เรียนไม่จบ จากการเล่นนานเกิน 4 ชั่วโมงต่อวันขึ้นไป พฤติกรรมก้าวร้าวทางกาย เช่น การทุบตีคนอื่น อาละวาดทำลายของ คุกคามคนใกล้ชิด รังแกกันทางสื่อสังคมออนไลน์


advertisement


advertisement

       แนวทางแก้ไขปัญหาเด็กติดเกม 

       โรคติดเกมเกิดได้กับเด็กและผู้ใหญ่ ในกรณีที่เป็นเด็ก พ่อแม่หรือผู้ปกครองจะมีบทบาทสำคัญที่สุด อย่ามองเกมที่เด็กเล่นว่าไม่เป็นพิษเป็นภัยเหมือนเป็นของเล่นชนิดหนึ่ง ควรตระหนักเสมอว่าเด็กมีโอกาสติดเกมได้ ก่อนที่จะอนุญาตให้เด็กเล่นเกม ควรมีการสัญญาและตกลงกันก่อนว่า จะต้องทำการบ้าน อ่านหนังสือ หรืออาบน้ำกินข้าวก่อนถึงจะเล่นเกมได้ จำกัดเวลาเล่นเกม เลือกประเภทเกมให้เด็กเล่น ให้รางวัลเมื่อเด็กทำตามที่ตกลงกันไว้ได้ เก็บอุปกรณ์ในการเล่นเกมรวมทั้งมือถือให้ห่างไกลจากเด็ก เบี่ยงเบนความสนใจของเด็กให้หันไปทำกิจกรรมอื่น ๆ โดยเฉพาะกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกับพ่อแม่ได้

        และยังผู้ใหญ่จำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะในวัยทำงานเป็นโรคติดเกม ผู้ใหญ่ที่ติดเกมอาจจะแก้ไขได้ยากกว่าเด็ก เพราะไม่มีผู้ปกครองคอยตักเตือน โดยเฉพาะในรายที่อยู่คนเดียว แนวทางการแก้ไข เช่น จำกัดเวลาเล่นเกม แบ่งแยกเวลาการทำงานกับการเล่นเกมให้ชัดเจน ปรึกษาคนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิทให้ช่วยคอยห้ามคอยเตือน ให้กำลังใจ หรือคอยชักชวนให้หันไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ในรายที่ติดเกมรุนแรงมากอาจต้องพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์

         ยุคนี้ต้องยอมรับเลยว่าเกมมือถือทำให้เด็กๆ และผู้ใหญ่หลายคนติดอยู่กับมันเป็นเวลานานจนไม่รู้แล้วว่าตัวเองติดเกมมากไปหรือเปล่า เกิดอารมณ์ ใส่อารมณ์เข้าไปกับมันมากจนเกินไปทำร้ายสุขภาพของตัวเองไปแล้ว ใครรู้ว่าตัวเองติดเกมควรที่จะรีบปรับแนวคิดใหม่แล้วล่ะ 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com 


advertisement