advertisement

ไขข้อสงสัย ทำไมเชื้อโควิดกินปอดแล้ว ปอดจึงฟื้นฟูกลับมาเหมือนเดิมไม่ได้


advertisement

       สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยและทั่วโลกตอนนี้ยังคงน่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก เพราะว่ายอดผู้ติดเชื้อยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุด (17 มี.ค.63) ยอดผู้ติดเชื้อในประเทศไทยเพิ่มอีก 30 คน รวมมียอดผู้ติดเชื้อเป็น 177 ราย 

        ล่าสุด ทางด้านสมาชิกพันทิป Styer ได้โพสต์สอบถามข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ว่า ทำไมเชื้อโควิดกินปอดแล้ว ปอดจึงฟื้นฟูกลับมาเหมือนเดิมไม่ได้ครับ 

       จากที่เคยรู้มาว่า อวัยวะภายในของคนเรามี 2 อย่างที่เสียหายแล้วจะสามารถกลับมาฟื้นฟูเหมือนเดิมได้คือ ตับกับปอด และเท่าที่รู้ว่า คนที่เคยเป็วัณโรคมาก่อน ขณะเป็นก็ถูกเชื้อ TB กินปอดอย่างหนักหน่วง แต่พอหายแล้ว ปอดก็ฟื้นฟูกลับคืนสภาพเดิมได้

       แต่ทำไมผมเห็นหมอและนักวิชาการหลายท่านออกมาพูดว่า เมื่อเชื้อโควิดกินปอดแล้ว ปอดจะเสียหายถาวรเลยล่ะครับ ในเมื่อปอดมันฟื้นฟูตัวเองได้ และผู้ที่เคยป่วยเป็นวัณโรค เมื่อหายปอดก็สามารถฟื้นฟูกลับมาเหมือนเดิมได้ ทำไมมันจึงต่างกัน มีอะไรที่เชื้อโควิดจัดเต็มกว่าเชื้อ TB หรือเปล่าครับ กินดุหรือหนักหน่วงกว่าหรือเปล่า จึงทำให้ปอดเสียหายถาวรไปเลย หรือว่าข้อมูลนี้เป็นแค่ข่าวลือเท่านั้น ยังไงใครพอจะทราบข้อมูลบ้างครับ


advertisement

        การที่เชื้อโควิดกินปอดแล้วไม่สามารถฟื้นฟูได้เพราะเซลเสียหายเพราะไคโตคอลคอมเพล็กไม่สามารถส่งออกซิเจนมายังเซลได้เพื่อซ่อมแซมฟื้นฟูครับแต่เชื้อtbไม่สามารถไปยับยั้งไคโตคอลให้ส่งออกซิเจนไปยังเซลได้ครับเพราะเชื้อโควิดไปยับยั้งไคโตคอลไม่ให้ส่งออกซิเจนไปยังเซลเกินเวลาที่กำหนดเซลก็เลยเสียหายและฝังตัวอยตัวอยู่ในเซลปอดเลยและรุนแรงมากทำให้ปอดทำงานไม่ได้เลยหายใจไม่ออกและเสียครับ

สามารถผ่าตัดเปลี่ยนได้แต่ฟื้นฟูไม่ได้ 


advertisement


advertisement

        กระจ่างสำหรับของสงสัยนี้ ตอนนี้เชื้อโควิด-19 แพร่ระบาดไปทั่วเลย เราประชาชนต้องระมัดระวังตัว ป้องกันตัวเวลาที่ไปไหนมาไหนให้มากยิ่งขึ้น 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก Styer 


advertisement