advertisement

ไขข้อสงสัย ชาวเน็ตห่วงบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ จะโดนส่งข้อมูลให้สรรพากรไหม


advertisement

      จากกรณีที่ คุณบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ ได้นำเงิน 1 ล้านบาท ไปบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมทั้งเปิดรับบริจาคเงิน จนตอนนี้มีประชาชนร่วมบริจาคเงิน ยอดทะลุกว่า 130 ล้านบาทแล้ว ท่ามกลางเสียงชื่นชมจากประชาชน แต่หลายคนก็แอบเป็นห่วง ว่าคุณบิณฑ์ จะโดนส่งข้อมูลให้สรรพากร พิจารณาภาษีหรือไม่

คุณบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์

      ล่าสุด เฟซบุ๊กเพจ TaxBugnoms ได้ออกมาให้ความรู้ ว่า…


advertisement

      "การรับเงินบริจาคแบบพี่บิณฑ์แบบนี้ จะโดนส่งข้อมูลให้พี่สรรพากรไหมครับ?

      มีหลายคนถามปัญหานี้เข้ามา พร้อมกับแทคเพจ TaxBugnoms ให้พรี่หนอมช่วยตอบที ขออนุญาตตอบเป็นความเห็นโดยอ้างอิงตามหลักการกฎหมายดังนี้ครับ

      1. ถ้าถามว่า จะโดนส่งข้อมูลไหม คำตอบคือ ถ้าเข้าเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ นั่นคือ ตั้งแต่ 3,000 ครั้ง/ปี ขึ้นไป หรือ 400 ครั้ง/ปี และมียอดเงินตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป ย่อมจะถูกส่งข้อมูลอยู่แล้วครับ ดังนั้น ถ้าถามว่ากรณีพี่บิณฑ์ถูกธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร คำตอบคือ ต้องถูกส่ง และถูกส่งภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563 ตามเงื่อนไขของกฎหมาย

      2. แต่ประเด็นต่อคือ จะถูกประเมินภาษีไหม? คำตอบตรงนี้ต้องแยกก่อนว่า กรณีที่ธนาคารส่งข้อมูลให้กับสรรพากรนั้น ทางสรรพากรเองไม่สามารถประเมินภาษีได้ทันที หรือถ้าจะประเมินจากกรณีนี้ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ถูกต้องสักเท่าไร เพราะตัวพี่บิณฑ์เองน่าจะมีหลักฐานการบริจาคที่ชัดเจนให้เห็นอยู่แล้วว่า เงินที่เข้าบัญชีหมด ได้ถูกส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือเรื่องน้ำท่วมต่อไป


advertisement

      ถ้ามองในแง่ของการทำงาน และหลักฐาน โดยส่วนตัวคิดว่าไม่น่าจะมีการประเมินภาษีจากกฎหมายในส่วนนี้ได้ เพราะว่าเงินที่ได้มานั้นมันมีหลักฐานการเข้าออกบัญชีที่พิสูจน์ได้ว่า ไม่ใช่รายได้ของพี่บิณฑ์ แต่เป็นเพียงทางผ่านของเงินไปเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหา

      ดังนั้น กฎหมายฉบับนี้ไม่สามารถเก็บภาษีได้ครับ จากหลักฐานที่ว่ามา และมันเป็นเครื่องยืนยันอย่างนึงให้เราเข้าใจว่า ถ้าหากเรามีหลักฐานการใช้จ่ายเงิน หรือรับเงินที่พิสูจน์ได้ ต่อให้ถูกส่งข้อมูลให้สรรพากรไปจริงๆ ก็ไม่สามารถประเมินภาษีได้

      3. ถ้าหากจะมองในแง่ของปัญหาด้านภาษีจริงๆ อาจจะไปดูที่เรื่องของ #ภาษีการรับให้ น่าจะเป็นไปได้มากกว่า เพราะว่ากรณีนี้มีการได้รับเงินมากกว่า 10 ล้านบาทแน่ๆ และถ้ามองในแง่ของกฎหมาย การให้เงินทั้งหมดนี้ จะถูกตีความว่าเป็นการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา ให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีจากบุคคลอื่นหรือเปล่า อันนี้ขึ้นอยู่กับว่าทางสรรพากรเองมองไปในทางไหน


advertisement

      (เพิ่มเติม) ถ้าให้มองจริงๆ เงินก้อนนี้ควรได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาที่ผู้ให้แสดงเจตนาใช้เพื่อกิจการสาธารณประโยชน์มากกว่า

      อย่างไรก็ดี พรี่หนอมคิดว่าเรื่องใหญ่ที่คนในชาติกำลังช่วยเหลือกันแบบนี้ คงไม่มีใครจะมาคิดจัดเก็บภาษีจากเงินก้อนนี้หรอกครับ เพราะเราก็รู้กันดีว่าเงินก้อนนี้ถูกใช้เพื่อช่วยเหลือคนอื่นต่อ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของตัวเอง

      …จริงไหมครับ?

      โพสนี้ถือว่าแลกเปลี่ยนเป็นความรู้และมุมมองการวิเคราะห์เรื่องภาษีดีกว่าครับ และเป็นการย้ำเตือนว่า บัญชีรายรับรายจ่าย หรือรายการต่างๆในบัญชี เป็นเรื่องที่เราทุกคนควรให้ความสำคัญกับมันครับ

      ข้อกฎหมายทีเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้

      – พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48)

      – พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40)

      – มาตรา 42(29)

      #TAXBugnoms"

        นอกจากจะเป็นห่วงผู้ประสบภัยน้ำท่วมในจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว ทุกคนยังเป็นห่วงคุณบิณฑ์อีกด้วย เพราะตอนนี้คุณบิณฑ์เสียสละจนเป็นฮีโร่ของคนไทยไปแล้ว

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก TaxBugnoms 


advertisement