advertisement

ไอเดียบ้านฟางสุดน่ารัก จากนิทานลูกหมูสามตัว สู่บ้านของจริง


advertisement

       ในสมัยที่เรายังเป็นเด็ก เราคงเคยได้ยินนิทานลูกหมูสามตัว นิทานที่ให้ข้อคิดแห่งความพยายาม ซึ่งลูกหมูตัวแรกมีการสร้างบ้านง่ายๆด้วยฟาง ทำให้หมาป่ามาพังบ้านเอาได้ง่ายๆ เพราะไม่แข็งแรง

       แต่วันนี้ บ้านฟางในนิทาน จะกลายมาเป็นบ้านจริงๆ และมันก็จะไม่อ่อนแอเหมือนในนิทานด้วย โดยเฟซบุ๊กเพจ BuilderNews ได้เผยภาพ พร้อมระบุว่า…

       "“บ้านฟาง” ไอเดียบ้านหมูสามตัวกับวัสดุเหลือใช้ภาคการเกษตร

       ตอนเด็ก ๆ เราเคยได้ยินนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว หมูสร้างบ้านด้วยฟาง ไม้ และอิฐ ตามท้องเรื่องนิทานบอกเราว่า “บ้านฟาง” หมาป่าใช้เวลาไม่นานก็เป่ากระจุยแล้วเป็นหลังแรก และบ้านที่ทนที่สุดคือบ้านที่สร้างจาก “อิฐ” แต่ใช่ว่าฟางจะไม่มีประโยชน์เสียทีเดียวจนไม่สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุสร้างบ้านได้"

         บ้านฟางไม่ดีจริงไหม ทำไมภูมิปัญญาการสร้างบ้านจากวัสดุธรรมชาติของไทยถึงนิยมใช้ดินมากกว่าฟาง เหตุผลทั้งหมดนี้ BuilderNews จะอธิบายให้ฟัง


advertisement

        “ฟาง” มาจากไหน?


advertisement

       สำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่า “ฟาง” คือผลผลิตของเกษตรส่วนไหน คำตอบคือฟางที่เราเห็นเป็นเส้น ๆ เหล่านี้คือลำต้นแห้งที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวข้าวหรือข้าวสาลี เดิมนิยมทำลายด้วยการเผา แต่ต่อมาจากความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม คนจึงนำลำต้นข้าวแห้งเหล่านี้ไปบดและอัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมและใช้ประโยชน์ด้านอื่นแทน

      การบีบอัดฟางเป็นก้อนสี่เหลี่ยม ส่วนหนึ่งมาจากการประหยัดพื้นที่ด้านการขนส่ง อีกส่วนคือฟางก้อนเหล่านี้คนนิยมนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ต่อหรือไม่ก็นำไปตกแต่งเป็นเก้าอี้นั่งตามงานต่าง ๆ ที่มีรูปแบบคันทรีนิด ๆ พอวางกองฟางก็เสริมบรรยากาศที่เป็นกันเองมากขึ้น เป็นต้น [ads]


advertisement

      ฟางกับการสร้างบ้าน

      ถ้าบอกว่าสร้างบ้านด้วยฟางและดูจากภาพเหล่านี้ มองเผิน ๆ แล้วอาจจะรู้สึกเหมือนนำก้อนฟางเข้าบล็อกแล้วเรียงแบบง่าย ๆ แต่ความจริงถ้าเราตั้งใจนำฟางมาใช้เป็นวัสดุเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยจำเป็นจะต้องอาศัยเทคนิคอื่นเข้าช่วยเพื่อสร้างความแข็งแรง เรายังไม่รู้ชื่อเรียกของเทคนิคนี้ในไทย แต่สำหรับในต่างประเทศเขาเรียกว่า “Nebraska style” โดยเป็นรูปแบบการก่อสร้างที่นิยมในศตวรรษที่ 19 ของสหรัฐอเมริกามาใช้

        Nebraska คือรูปแบบการสร้างบ้านจากฟางที่ใช้ฟางเป็นฉนวนกำแพงและส่วนต่าง ๆ ของบ้านแทนคอนกรีต มีการสร้างโครง สร้างฐาน สร้างวงกบ แล้วใส่ฟางเข้าไป แต่ก็เพิ่มดีเทลจากการใส่เสาไม้ด้านในฟางเพื่อความแน่นหนา จากนั้นนำมาฉาบด้วยดินหรือซีเมนต์เพื่อความแข็งแรงก่อนทาสีตกแต่ง ดังนั้น บ้านที่สร้างด้วยฟางจึงไม่ได้โดนลมเป่ากระเด็นง่าย ๆ เหมือนในนิทานอย่างที่เข้าใจ


advertisement

       ที่สำคัญข้อดีของการใช้ฟางเป็นวัสดุก่อสร้างตามส่วนประกอบต่าง ๆ ของบ้าน คือ ฟางมีคุณสมบัติในฐานะฉนวนที่สามารถกันความร้อน ถ่ายเทอุณหภูมิได้ดี บ้านที่สร้างด้วยฟางส่วนใหญ่จะเย็นและประหยัดพลังงานที่ใช้สำหรับกันความร้อนและเพิ่มความเย็นให้ตัวบ้านได้ถึง 75%

       นอกจากนี้ยังดูดซับเสียงได้ด้วย และด้วยความเป็นวัสดุจากธรรมชาติ เมื่อเสื่อมสภาพก็สามารถคืนสู่ธรรมชาติได้ 100% แต่ขณะเดียวกันมีข้อด้อยคือปัญหาเรื่องการดูดน้ำของฟาง ดังนั้น ถ้าก่อสร้างก็ต้องมั่นใจอยู่ 2 เรื่อง

       1.ฟางที่นำมาสร้างต้องเป็นก้อนฟางที่แห้งสนิทแล้ว ไร้ความชื้น ป้องกันปัญหาเรื่องเชื้อรา

        2.ต้องก่อสร้างบ้านในบริเวณน้ำท่วมไม่ถึงโดยยกฐานหรือพื้นสูงเหนือน้ำ โดยอย่างต่ำฐานต้องสูงจากพื้นราว 20 ซม. เหตุเพราะถ้าน้ำท่วมบ้าน ฟางจะซับน้ำจนเน่าและทำให้โครงสร้างเสียหาย ทว่าสำหรับเรื่องน้ำฝน ตราบเท่าที่มีการฉาบรอบข้างบ้านและน้ำไม่สามารถแทรกเข้าถึงเนื้อในของบ้านได้ บ้านก็ไม่เสียหายอย่างแน่นอน

       เป็นบ้านหลังน้อยที่น่ารักจริงๆค่ะ จากบ้านในนิทานอันเป็นตำนาน กลายเป็นบ้านในชีวิตจริง ที่ไม่ได้ดูอ่อนแอเหมือนในนิทานเลย 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก BuilderNews 


advertisement