advertisement
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากสภาพอากาศที่ร้อนจัดที่ผ่านมาในเดือน เม.ย. 66 พบว่าภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ กลาง และตะวันออก มีอุณหภูมิสูงสุดอยู่ในระดับมีอันตราย-อันตรายมาก
จังหวัดที่มีอุณหภูมิสูงสุดมากกว่า 43 องศาเซลเซียส (ระดับอันตรายมาก) 5 จังหวัด คือ ตาก ลำปาง เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี รวมทั้งค่าดัชนีความร้อน ที่พบว่าอยู่ในระดับอันตรายมาก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี และภูเก็ต โดยกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าสภาพอากาศที่ร้อนจัดนี้จะยาวนานไปจนถึงช่วงเดือนต้นเดือน พ.ค. 66 และจะสิ้นสุดฤดู
กรมอนามัย จึงขอให้ประชาชนเช็กสภาพอากาศเป็นประจำ ซึ่งสามารถตรวจสอบอุณหภูมิสูงสุดควบคู่กับค่าดัชนีความร้อน (Heat Index) ได้จากกรมอุตินิยมวิทยา เนื่องจากอากาศร้อนจัดจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ทั้งนี้ ค่าดัชนีความร้อนจะเป็นตัวเลขที่สูงกว่าค่าอุณหภูมิที่วัดได้จริง มาจากการคำนวณค่าอุณหภูมิและค่าความความชื้นสัมพัทธ์ ทำให้ร่างกายจะรู้สึกว่าอากาศร้อนอบอ้าวกว่าปกติ คล้ายกับลักษณะก่อนฝนจะตก เพราะบรรยากาศมีความชื้นสูง ประกอบกับการสะสมความร้อน ทำให้อากาศบริเวณนั้นมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ
advertisement
ขณะเดียวกัน ที่สำคัญคือเมื่อความชื้นในอากาศสูง จะมีผลทำให้การระเหยน้ำในร่างกายต่ำลง ร่างกายจึงไม่สามารถระบายความร้อนผ่านเหงื่อออกทางรูขุมขน อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคฮีสโตรก คือ ภาวะ Classic heatstroke or Non-exertional heatstroke เกิดจากการอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อุณหภูมิสูง แล้วทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงตาม มักพบในคนที่อยู่ในบริเวณที่อากาศร้อนและชื้นเป็นเวลานาน
อีกสาเหตุหนึ่ง คือ Exertional heatstroke เกิดจากอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นจากการทำงานหรือออกกำลังกายอย่างหนัก ในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง เกิดได้ง่ายขึ้นในคนที่ไม่คุ้นเคยกับอากาศร้อน
advertisement
อย่างไรก็ดี โรคฮีสโตรก ยังมีปัจจัยเสี่ยงอีกหลายอย่างที่ทำให้ผู้ป่วยบางรายมีโอกาสเกิดภาวะฮีทสโตรกได้ง่าย เช่น อายุที่น้อยหรือมากเกินไป มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคอ้วน ไม่ได้ออกกำลังกาย การใช้ยาบางกลุ่มที่ทำให้สูญเสียน้ำ หรือร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
เรียบเรียงโดย : thaihitz.com
advertisement