advertisement
เป็นอีกหนึ่งโครงการดีๆ สำหรับ นมโรงเรียน ซึ่งมีให้ดื่มตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ในโครงการนี้มีนมโรงเรียนให้ดื่มฟรีสำหรับนักเรียนกว่า 7 ล้านคนทั่วประเทศ โดยในปีนี้เด็กๆ เปิดเทอมให้ มีหลายโรงเรียนที่เด็กๆ ยังไม่ได้ดื่มนมโรงเรียน
วันนี้ (23 พ.ค.2568) นายปรีติ เจริญศิลป์ ส.ส.นนทบุรี พรรคประชาชน โพสต์ข้อความตั้งคำถามถึงนมโรงเรียน ความว่า นมโรงเรียนไปไหน จากเหตุการณ์ที่มีผู้ร้องเรียนเข้ามามาก ว่า….. เมื่อเปิดเทอมแล้ว นักเรียน ไม่ได้กินนมโรงเรียนทั่วประเทศ
เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2568 ในประชุมกรรมาธิการวิสามัญแก้ไขพระราชบัญญัติโคนมและผลิตภัณฑ์นม พศ… มีการพูดคุยสอบถามเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ว่าทำไม เปิดเทอมแล้ว แต่นักเรียนกลับไม่ได้กินนมโรงเรียนเหมือนทุกปี ทั้งที่รัฐบาลมีการตั้งงบประมาณไว้กว่าปีละ 1.4 หมื่นล้านบาท
จากข้อมูลพบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากการออกประกาศหลักเกณฑ์ การจัดสรรสิทธิว่าผู้ประกอบการรายใดควรจะได้สิทธิ ในการจำหน่ายนมโรงเรียนบ้าง มีความล่าช้ากว่าทุกปี
ประกอบกับทางปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปลี่ยนแปลงเลขานุการ คณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน จากเดิมเป็น อธิบดีกรมปศุสัตว์กลายเป็น อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยไม่ทราบสาเหตุ
ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน ได้ออกหลักเกณฑ์วิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียนประจำปีการศึกษา 2568 ออกมาเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2568 นี่เอง โดยได้มีการเปิดรับสมัครผู้ที่เข้าเกณฑ์การจัดสรรนมโรงเรียนในวันที่ 11-15 พฤษภาคม 2568 …..
advertisement

advertisement
แต่ที่สำคัญคือ ในวันสุดท้ายของการรับสมัครเข้าโครงการนี้ (วันที่15 พค.) กลับมีการออกประกาศคณะกรรมการอาหารเสริมเพื่อ เด็กและเยาวชนเรื่องหลักเกณฑ์วิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริมโรงเรียน ออกมาอีก 1 ฉบับ ลงนามโดยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 ทั้งที่นักเรียนเปิดเทอมในวันที่ 16 พฤษภาคม 2568
หมายความว่า มีการออกประกาศหลักเกณฑ์วิธีการดำเนินการจัดสรรสิทธินมโรงเรียนออกมาก่อนเปิดเทอมเพียงวันเดียว ซึ่งแน่นอน ไม่มีผู้ประกอบการคนใดที่จะ สามารถส่งโรงเรียนได้ทันเปิดเทอมแน่นอน เพราะต้องมีการ รับสมัคร และตรวจสอบคุณสมบัติ ว่าเข้าหลักเกณฑ์หรือเปล่า รวมถึงการดำเนินการในเรื่องของเอกสารต่างๆ และต้องมีการวางแผนผลิตนมโรงเรียนด้วย
ข้อมูลที่พบปรากฏว่าหลักจากมีการประกาศหลักเกณฑ์นี้ออกมาผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งต้องปิดกิจการเพราะไม่ได้รับสิทธิในการจำหน่ายนมโรงเรียน เท่าที่ทราบมีอย่างน้อย 6 บริษัท ที่อยู่ในจังหวัดอุดรธานี, เพชรบูรณ์, กำแพงเพชร, นครสวรรค์, นครราชสีมา และพิจิตร เป็นต้น และผู้ประกอบการบางรายเตรียมฟ้องร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
นี่คือปัญหาใหญ่ ที่เกิดขึ้นในระบบการจัดสรรนมโรงเรียนที่มีปัญหามายาวนาน มีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การจัดสรรทุกปี และผู้ประกอบการจะต้องซื้อนมไว้ตั้งแต่เดือนตุลาคม โดยไม่รู้ว่าในอนาคตจะได้รับสิทธิในการจำหน่ายนมโรงเรียนหรือไม่ เพราะหลักเกณฑ์ในการ จัดสรรนมโรงเรียนออกมาช่วงก่อนเดือนเมษายน-พฤษภาคมของทุกปี
การวางโครงสร้างการบริหารจัดการ นมทั้งระบบที่ผิดพลาด เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน และครั้งนี้ เป็นการผิดพลาดที่ทำให้เด็ก ไม่ได้กินนมโรงเรียนในช่วงเปิดเทอม
advertisement

ซึ่งคนที่ต้องรับผิดชอบ คงหนีไม่พ้นผู้บริหารหน่วยงานคือ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน และอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในฐาน ประธานอนุกรรมการบริหารกลางโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียน ซึ่งทั้งคู่ดำเนินการบริหารจัดการนมโรงเรียนเป็นไปอย่างล่าช้า
ผมในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญแก้ไขพระราชบัญญัติ โคนมและผลิตภัณฑ์นม พศ.. จะนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมกรรมาธิการเพื่อดำเนิน ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการจัดสรรนมโรงเรียนต่อไปในอนาคต
ความคิดเห็นจากชาวเน็ต
advertisement

–
อย่างไรก็ตามปัญหานี้กระทบกับนักเรียนทั้งประเทศ ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขอให้เรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะกำกับดูเรื่องออกมาชี้แจงในเรื่องดังกล่าว และหาทางแก้ไขปัญหานี้ในทันทีเพื่อให้เด็กนักเรียนได้ดื่มนมโรงเรียนได้เร็วที่สุด
เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก ปรีติ เจริญศิลป์ – Preeti Charoensilp
advertisement