advertisement

CEO คอนโดชี้แจง กรณีวิศวะตรวจห้องเจอ Defect 120จุด


advertisement

       จากกรณีเป็นคลิปที่ถูกแชร์กันอยู่ในโลกโซเชียล สำหรับ เจ้าของโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่กำลังต่อวิศวกรที่รับจ้างมาตรวจห้องพัก ทำเอาเจ้าของโครงการเดือด เพราะวิศวกรผู้ตรวจเจอ Defect มากถึง 120 จุดเลยทีเดียว เจ้าของโครงการเลยปะทะอารมณ์เดือดๆ เพราะ 120 จุด มันเยอะไป จุดเล็กๆ จุดน้อยๆ ก็แจ้งหมด มันเกินไปเหมือนเป็นการกลั่นแกล้งเจ้าของโครงการ ตามคลิปที่ถูกแชร์ในโลกโซเชียล 

ต่อว่าวิศวกรตรวจ Defect  

มากถึง 120 จุด 


advertisement

       คุณเฉลิมชัย ว่องไววิทย์ ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมโทรโพลิส พรอพเพอร์ตี้ จำกัด ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านคุณภาพ ทางวิศวกรรมมานานกว่า 60 ปี มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาบ้านที่มีคุณภาพให้กับลูกค้าตลอดจนเป็นที่ปรึกษาในการเลือกซื้อบ้าน ได้ออกมาโพสต์ผ่านทางเว็ปไซต์พันทิปเพื่อชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยระบุว่า…

        ผมนายเฉลิมชัย ว่องไววิทย์ กรรมการผู้จัดการบริษัท Metropolis Properties ตามที่มีข่าวคลิปหลุด ได้ไปด่าวิศวกรที่รับจ้างมาตรวจห้อง และมีการแพร่กระจายไปอย่างกว้างขวางในโลกโซเชียลนั้น ผมขอชี้แจงดังนี้: 

        เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น:

        – บริษัทตรวจนี้ เป็นหนึ่งในบริษัทที่ผมแบนไม่ให้เข้ามาตรวจคอนโดผมตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561 เพราะพวกเขาไม่มีมาตรฐานในการตรวจใดๆทั้งสิ้น เรื่องแบนเกิดขึ้นประมาณหนึ่งปีที่แล้ว


advertisement

        – บริษัทตรวจนี้ เอารูปโครงการเราไปลงโฆษณาพร้อมรูป “จุดบกพร่อง”ต่างๆ เพียงเพื่อจะโฆษณาว่าตนมี “ความละเอียด” ผมเตือนบริษัทนี้ให้เอารูปโฆษณาออกทันที ไม่เช่นนั้นเราจะดำเนินการตามกฎหมาย

        – แต่ช่วงสองเดือนที่แล้ว พนักงานใหม่ของเราไม่ทราบถึงการแบนนี้ จึงอนุญาตให้เขาเข้าไปตรวจ

        – คอนโดผมมีกฎว่า พนักงานของเราจะต้องอยู่กับผู้ตรวจห้องตลอดเวลาที่เขาตรวจ แต่ผู้ตรวจคนนี้ก็ขอให้พนักงานของเราออกไป เพราะเขาอยากตรวจคนเดียว

        – ผมและคณะกรรมการได้รับแจ้งว่า ห้อง 35 ตารางเมตร ที่ลูกค้าพร้อมโอน มีจุดบกพร่องถึง 124 จุด จึงทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่สบายใจ

        – ผมจึงขึ้นไปตรวจห้องด้วยตนเอง และพบจุดบกพร่องจริงๆมีแค่หนึ่งจุดเท่านั้น ซึ่งก็คือหลอดไฟ ผมเปลี่ยนใหม่ให้ และโชว์ห้องให้ลูกค้าดูอีกครั้ง

        – ลูกค้าเห็นด้วยกับผม และไม่รู้ว่าผู้ตรวจจะแปะไว้เยอะแยะทำไม

        – ลูกค้าพอใจกับห้อง จึงเซ็นสัญญา และโอนห้องให้ไปในไม่กี่วันหลังจากนั้น

        – ผมโทรเข้าไปที่บริษัทตรวจนั้น และให้บริษัทส่งคนมาหาจุดบกพร่อง 124 จุด เพื่อเช็ค Standard การตรวจของบริษัทนี้ เราถ่ายเป็นหลักฐาน ว่าบริษัทนี้ไม่มีประสิทธิภาพ

        – ผู้ตรวจในคลิปหาไม่ได้ ผมลองถอดสายไฟสำคัญออกหนึ่งเส้น แต่เขายังตรวจไม่เจอเลย 


advertisement

        ผลเสียของการตรวจมั่วซั่ว ส่งผลกระทบต่อ ผู้บริโภคซึ่งก็คือ ลูกค้า เช่นคุณ:

        – ลูกค้าต้องจ่ายในราคาที่สูงกว่าความเป็นจริง เพราะ Developers หลายๆแห่งต้องแก้ปัญหาเล็กๆน้อยๆที่ผู้ตรวจพบ (ซึ่งไม่ใช้จุดบกพร่องจริงๆ) ทำให้รายจ่ายและต้นทุนสูงขึ้น ทำให้ของแพงขึ้น และผลกระทบไปตกอยู่กับลูกค้า

        – ลูกค้าจ้าง และจ่ายเงินฟรี โดยที่ไม่รู้ว่าสิ่งสำคัญ เช่น งานระบบ โอเคหรือไม่

        – Developers ที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อลูกค้าก็จะลอยนวล เพราะผู้ตรวจไม่มีความสามารถในการตรวจ การหาเม็ดทรายหรือขนแมวไม่จำเป็นต้องจ้างผู้ตรวจ เพราะใครๆก็หาเองได้ กลายเป็นสิ่งสำคัญไม่ถูกตรวจพบ และลูกค้าอาจถูกโกง

        – ผู้ตรวจจริงที่เขาสามารถหาจุดบกพร่องสำคัญๆได้ ตกงาน เพราะพวกเขาไม่สามารถหาจุดบกพร่องได้เยอะเท่าผู้ตรวจพวกนั้น (เพราะเขาโฆษณาว่าหาได้หลายร้อยจุดมากกว่าผู้ตรวจจริง)

        – บางทีลูกค้าต้องการใช้จุดบกพร่องมาต่อรองราคา ซึ่งไม่ยุติธรรมต่อลูกค้าที่ทำตามสัญญา

        – วิศวกรที่ทำงานด้วยความซื่อตรงต้องเสียความน่าเชื่อถือ เพราะคนพวกนี้ 

        สิ่งสำคัญอื่นๆ: 

        – การตรวจที่ถูกต้อง ต้องดู Functional defect เป็นหลัก และ Cosmetic defect เป็นรอง

        – Cosmetic defect คือจุดบกพร่องเล็กน้อยที่เกี่ยวกับความสวยงาม เช่นสีผนังหรือฝ้าที่ทาไม่ดีหลุดร่อน หรือรอยตำหนิที่มองเห็นได้ชัดโดยตาเปล่า

        – Functional defect คือความบกพร่องเกี่ยวกับการใช้งานอย่างเช่น ระบบโครงสร้าง, ระบบน้ำ, ระบบไฟที่ออกแบบผิด หรือก่อสร้างผิดแบบ หรือก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน ผนังร้าวจากโครงสร้างที่กำลังเสียหาย ทำให้ใช้งานไม่ได้หรือเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้

        – เรายินดีต้องรับผู้ตรวจจริงที่มาพร้อมอุปกรณ์ แต่พวกตรวจมั่วซั่วไม่ได้

        – เราไม่ได้กักขังผู้ตรวจคนนั้น มันเป็นแค่คำพูดและเมื่อตรวจอะไรไม่เจอ แม้กระทั่งสายไปที่เราจงใจถอดออก เราก็ให้กลับไปภายใน 30 นาที

        – ก่อนวิศวกรหนุ่มกลับ ผมได้สอนเขาดีๆ ได้พูดจาดีๆ สอนว่าจรรยาบรรณของวิศวกรคืออะไร เราเรียนมาเป็นผู้สร้าง ไม่ใช่ผู้ทำลาย การทำอย่างนี้ทิ้งไว้ มีความเสียหายต่อผู้ว่าจ้างของตน, ต่อรุ่นพี่วิศวกร, ต่อผู้บริโภคทุกคน, และประเทศชาติอย่างไรบ้าง ซึ่งคิดว่าเขาเข้าใจ พยักหน้า และจากกันไปด้วยดี

        – ผมยอมรับผิดที่มีอารมณ์โกรธมากเกินไป แต่เพราะมีความเชื่อว่าถูกกลั่นแกล้งจากบริษัทนี้ ที่เราได้แบนเขาไปเมื่อปีที่แล้ว เลยคิดว่ามันคือการเอาคืน ผมเคยเตือนบริษัทนี้ให้เอารูปโฆษณานั้นออกทันที ไม่เช่นนั้นเราจะดำเนินการตามกฎหมาย

        – เราไม่เห็นด้วยกับ “defect” บางอย่าง เพราะการเป็นวิศวกรจริงจะต้องรู้ถึงความเบี่ยงเบนและจุดบกพร่องที่รับได้ (acceptable deviations & amp; tolerances) วิศวกร, สถาปนิก, โดยเฉพาะคนงาน ไม่ใช่เทวดาที่จะสามารถเสกให้ผนังก่ออิฐ ฉาบปูนด้วยมือคนให้เรียบเหมือนกระจกได้ เพราะบ้านไม่สามารถสร้างด้วยเครื่องจักร


advertisement

        สุดท้ายนี้ ผมอยากให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นจุดทำให้คนในวงการอสังหา ได้ออกมาคุยกัน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่าจะแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร ต้องตั้งกรรมการผู้ตรวจสอบหรือไม่ ต้องมี Standard การตรวจที่เป็นหลักการเหมือนเมืองนอกหรือไม่อย่างไร 

        หวังว่าคำแถลง​การณ์ของผมจะสามารถไขข้อข้องใจและอธิบายได้ครบถ้วนในทุกส่วนที่ทุกคนให้ความสนใจและสงสัยกันนะครับ ขอบคุณมากครับ ใครสนใจ อ่านเพิ่มเติมได้ในคอมเม้นสองอันแรกครับ

       ทางฝ่าย คุณเฉลิมชัย ว่องไววิทย์  ผู้ที่ต่อว่าวิศวกรที่มาตรวจห้องเจอ Defect ออกมาชี้แจงอย่างละเอียดเลย เป็นอีกหนึ่งปัญหาในวงการอสังหาฯ ที่จะต้องปรึกษาหารือกัน 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก สมาชิกพันทิปหมายเลข 5602010  


advertisement