advertisement
ถ้าหากพูดถึงร้านขายของชำ ร้านโชห่วย ที่เปิดอยู่ทั่วไป เป็นอีกหนึ่งธุรกิจยอดนิยมเลยก็ว่าได้ การทำธุรกิจเปิดร้านขายของชำนั้นเป็นเรื่องที่ไม่อยากในการเปิด แต่ว่าการอยู่ให้รอดในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ และมีคู่แข่งเยอะมากนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ยิ่งถ้ามีคู่แข่งเหมือนร้านสะดวกซื้อ 7-11 ยิ่งขายยาก
ล่าสุด ทางด้านสมาชิกพันทิป ท้องฟ้าสวยจังช่วงนี้ ได้โพสต์เป็นนักธุรกิจคนหนึ่งจากไทยเล่าประสบการณ์ ที่ใช้เงินลงทุนประมาณ 6 ล้านบาท ในการไปเปิดร้านขายของชำที่ประเทศสิงคโปร์ แต่เพียงแค่เดือนเดียว เธอก็สามารถคืนทุนด้วยการทำกำไรไปถึง 10 ล้านบาท เปิดมา 3 ปี ขายดิบขายดีสุด ๆ
จุดเริ่มต้น เปิดร้านขายของชำที่สิงคโปร์ หลังชอบเข้าบ่อย สังเกตเห็นความต่างของราคา
ทั้งนี้ คุณ ท้องฟ้าสวยจังช่วงนี้ สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม ได้ออกมาเผยว่า จุดเริ่มต้นของการทำร้านของชำที่สิงคโปร์นั้น เกิดจากการที่เธอไปทำธุรกิจที่สิงคโปร์บ่อย และเธอก็ชอบเข้าร้านขายของชำ เธอเป็นคนชอบดื่มน้ำอัดลม ผลไม้อบแห้ง ทั้งซื้อจาก 7-11 และร้านค้าท้องถิ่น และทำให้เธอสังเกตเห็นว่า สินค้าประเภทผลไม้แปรรูปพวกนี้ขายดีมาก ซื้อวันนี้ พรุ่งนี้หมดแล้ว และสินค้าพวกนี้ติดสลากไทยและนำเข้ามาจากจีน นั่นจึงเป็นจุดที่ทำให้เธอเริ่มศึกษา และสนใจการลงทุนทำร้านขายของชำในสิงคโปร์
เธอเริ่มไปศึกษากฎหมายของสิงคโปร์เรื่องการเปิดร้านของชำ และทำให้รู้ว่า หากร้านค้ามีตู้แช่ จะต้องมีการตรวจเชื้อราบ่อย ๆ สถานที่เก็บของต้องได้มาตรฐาน แต่ด้วยความที่เธอไม่เชี่ยวชาญในเรื่องกฎหมายของสิงคโปร์ เธอจึงต้องไปปรึกษาบริษัทที่ปรึกษา และบริษัทก็เอาทำเลมาให้เธอเลือกทั้งหมด 5-6 แห่ง และหากตกลงเช่าแล้ว ต้องใช้เวลาในการเดินเรื่องอย่างน้อย 3-4 เดือน
advertisement
สำรวจสถานที่ – ราคาสินค้าที่ขาย พบจุดต่างราคาร้านของชำกับ 7-11 โอกาสมาถึงแล้ว
สุดท้าย เธอจึงเลือกสถานที่ในย่านเกลัง ซึ่งมีนักท่องเที่ยวเยอะ มีคนอินเดีย คนไทยอยู่เยอะ รวมไปถึงโรงแรมขนาดเล็กเช่นโรงแรมม่านรูด โรงแรมรายชั่วโมงอยู่เยอะมาก ร้านที่เลือกอยู่หน้าซอย ริมถนนใหญ่ คนเข้าร้านตลอดเวลาไม่มีช่วงเงียบ เปิดร้านได้ถึงเที่ยงคืน ร้านเป็นตึกแถวที่ให้เช่าเฉพาะด้านล่าง ส่วนด้านบนนั้นเจ้าของตึกเอาไปทำอพาร์ทเมนต์และโรงแรม
advertisement
นอกจากนี้ เธอได้ไปสำรวจในย่านนี้ และพบว่า ราคาของที่ขายใน 7-11 จะแพงกว่าร้านขายของชำที่อยู่ติดกันประมาณ 1-3 เหรียญ เช่น
– ที่ร้านขายของชำขายโค้กขวดละ 2.75 เหรียญ (ประมาณ 70 บาท ) แต่ 7-11 ขายที่ราคา 3.14 เหรียญ (ประมาณ 80 บาท )
– มาม่าจากไทย ร้านของชำขายที่ราคา 4-5 เหรียญ (ประมาณ 100-127 บาท) แต่ 7-11 ขายที่ราคา 7-8 เหรียญ ( ประมาณ 178-200 บาท)
– ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ราคาต่างกันมากคือ ผลไม้อบแห้ง ผลไม้แปรรูป ร้านขายของชำขายที่ 13-15 เหรียญ (ประมาณ 330-380บาท) แต่ 7-11 ขายที่ 17-20 เหรียญ (ประมาณ 430-500 บาท) สินค้าติดสลากไทย บางอย่างที่ไทยขาย 3 ถุง 100 บาท ต้นทุนถุงละ 35 บาท แต่ที่นี่ขายกันที่ราคา 200-300 บาท ฟันกำไรกันเยอะทีเดียว
เธอเลือกที่จะเช่าที่นี่ เพราะสนนราคาจ่ายไหว และเริ่มการเช่าต้องวงเงินค่าเช่า 1 ปีสำหรับค่าเช่าปกติ
สำรวจสถานที่ – ราคาสินค้าที่ขาย พบจุดต่างราคาร้านของชำกับ 7-11 โอกาสมาถึงแล้ว
สุดท้าย เธอจึงเลือกสถานที่ในย่านเกลัง ซึ่งมีนักท่องเที่ยวเยอะ มีคนอินเดีย คนไทยอยู่เยอะ รวมไปถึงโรงแรมขนาดเล็กเช่นโรงแรมม่านรูด โรงแรมรายชั่วโมงอยู่เยอะมาก ร้านที่เลือกอยู่หน้าซอย ริมถนนใหญ่ คนเข้าร้านตลอดเวลาไม่มีช่วงเงียบ เปิดร้านได้ถึงเที่ยงคืน ร้านเป็นตึกแถวที่ให้เช่าเฉพาะด้านล่าง ส่วนด้านบนนั้นเจ้าของตึกเอาไปทำอพาร์ทเมนต์และโรงแรม
นอกจากนี้ เธอได้ไปสำรวจในย่านนี้ และพบว่า ราคาของที่ขายใน 7-11 จะแพงกว่าร้านขายของชำที่อยู่ติดกันประมาณ 1-3 เหรียญ เช่น
– ที่ร้านขายของชำขายโค้กขวดละ 2.75 เหรียญ (ประมาณ 70 บาท ) แต่ 7-11 ขายที่ราคา 3.14 เหรียญ (ประมาณ 80 บาท )
– มาม่าจากไทย ร้านของชำขายที่ราคา 4-5 เหรียญ (ประมาณ 100-127 บาท) แต่ 7-11 ขายที่ราคา 7-8 เหรียญ ( ประมาณ 178-200 บาท)
– ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ราคาต่างกันมากคือ ผลไม้อบแห้ง ผลไม้แปรรูป ร้านขายของชำขายที่ 13-15 เหรียญ (ประมาณ 330-380บาท) แต่ 7-11 ขายที่ 17-20 เหรียญ (ประมาณ 430-500 บาท) สินค้าติดสลากไทย บางอย่างที่ไทยขาย 3 ถุง 100 บาท ต้นทุนถุงละ 35 บาท แต่ที่นี่ขายกันที่ราคา 200-300 บาท ฟันกำไรกันเยอะทีเดียว
เธอเลือกที่จะเช่าที่นี่ เพราะสนนราคาจ่ายไหว และเริ่มการเช่าต้องวงเงินค่าเช่า 1 ปีสำหรับค่าเช่าปกติ
advertisement
เปิดค่าใช้จ่าย ลงทุนขายของชำที่สิงคโปร์ ลงทุน 5 ล้านบาท กำไรเดือนละ 10 ล้าน คืนทุนตั้งแต่เดือนแรก
ในส่วนของค่าใช้จ่ายนั้น มีดังนี้
ค่าเช่าร้าน เดือนละ 8,000 เหรียญ เป็นห้องเปล่า ตกประมาณเดือนละ 208,000 บาท แต่ต้องจ่ายค่าเช่าล่วงหน้า 1 ปีและค่ามัดจำ 6 เดือน รวมเบ็ดเสร็จ 144,000 เหรียญ ตกเป็นเงินไทยที่ประมาณ 3,744,000 บาท
ค่าเช่าโกดัง เดือนละ 3,550 เหรียญ ตกประมาณเดือนละ 89,000 บาท แต่ต้องจ่ายค่าเช่าล่วงหน้า 1 ปีและค่ามัดจำ 6 เดือน รวมเบ็ดเสร็จ 63,900 เหรียญ ตกเป็นเงินไทยที่ประมาณ 1,661,400 บาท
ค่าดำเนินการบริษัทที่ปรึกษา ค่าเอกสารเปิดบริษัท ค่าธรรมเนียมทางรัฐ ค่าธรรมเนียมธนาคาร จ่ายครั้งเดียว 20,000 เหรียญ (ประมาณ 520,000 บาท)
ค่ารีโนเวทร้าน ซื้อชั้นวางของ ตู้เครื่องดื่ม ระบบไฟ ระบบแอร์ ระบบน้ำ กล้องวงจรปิด เครื่อง POS ระบบชำระเงิน 37,000 เหรียญ (ประมาณ 962,000 บาท)
ค่าเงินเดือนพนักงาน พนักงาน 6 คน จ้างเท่าค่าแรงขั้นต่ำ เป็นคนสิงคโปร์ 5 คน คนมาเลเซีย 1 คน แต่ละคนจบ ม.ปลาย-ปวช. กะละ 2 ตน จำนวน 2 กะ บวกสลับวันหยุด แต่ละคนทำงาน 5 วัน สลับกันหยุด ร้านเปิดทุกวัน 1 คนหมุนเวียน 1 คนเป็นผู้จัดการร้าน ค่าแรง 6 คนอยู่ที่ 9,600 เหรียญ (ประมาณ 249,600 บาท)
ค่าขนสินค้า เธอจะรับของจากหาดใหญ่มาขาย ยี่ปั๊วที่หาดใหญ่เป็นคนจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายในการขนสินค้าทางรถไฟมาที่สิงคโปร์ทั้งหมด ส่วนเมื่อสินค้ามาถึงสิงคโปร์ จะส่งเข้าโกดัง จากโกดังส่งมาที่ร้าน เป็นขนส่ง 6 ล้อตู้ทึบ สามารถสต็อกสินค้าได้ทั้งร้าน ราคาต่อเที่ยวไม่เกิน 800 เหรียญ (ประมาณ 20,000 บาท)
ค่าใช้จ่ายจิปาถะ ค่าน้ำ ค่าไฟ อินเทอร์เน็ต ประมาเดือนละ 2,650 เหรียญ (ประมาณ 68,900 บาท)
รวมทั้งหมดค่าใช้จ่ายในการเปิดร้านอยู่ที่ 5,925,400 บาท มีค่าจ้างพนักงานที่ตายตัว แต่มีค่าขนส่งสินค้า ค่าสาธารณูปโภคที่ขึ้นลง ซึ่งเธอมองว่า ราคานี้เท่ากับการเปิดแฟรนไชส์ 7-11 ในไทย แต่ผลกำไรที่ได้ ต่างกันมาก ๆ (การเปิดแฟรนไชส์ 7-11 ในไทย รวมเบ็ดเสร็จแล้วจะตกที่ประมาณ 4-5 ล้านบาท แต่กำไรได้เดือนละหลักแสนเท่านั้น เพราะบางรูปแบบต้องแบ่งกำไรให้เจ้าของแฟรนไชส์ด้วย)
หลังจากที่เปิดร้านเดือนแรก เธอก็ทำกำไรทันทีหลังหักค่าใช้จ่าย โดยกำไรอยู่ที่ 11 ล้านบาทนิด ๆ เดือนที่เปิดเดือนแรกนั้นคือเดือนมกราคม เป็นช่วงไฮซีซั่น สิงคโปร์เป็นเมืองท่า คนผ่านไปมาเยอะ แต่ช่วงที่ซบเซาคือเดือนเมษายน – พฤษภาคม กำไรอยู่ที่ 10 ล้านบาท และช่วงที่พีค ๆ คือช่วงหน้าหนาว เคยทำกำไรได้ถึง 14 ล้านบาท ช่วงนั้นต้องวิ่งเติมสต็อกอาทิตย์ละ 3 ครั้ง
ในส่วนเรื่องของภาษีนั้น ที่มีคนบอกว่า ภาษีนิติบุคคลที่สิงคโปร์ถูกกว่าไทยจริงไหม เธอบอกว่า รายละเอียดตรงนี้ดีเทลค่อนข้างเยอะ เธอไม่ขอตอบ "แต่เราไม่ค่อยมายด์เรื่องภาษี เพราะมันเป็นสิ่งที่ต้องจ่ายอยู่แล้ว ภาษีไม่มีวันทำให้ธุรกิจล้มได้ค่ะ เพราะภาษียังไงก็ย่อมน้อยกว่าผลกำไร เราเลยเฉย ๆ แทบไม่ได้ศึกษาเรื่องนี้เลยค่ะ"
เรียบเรียงโดย : thaihitz.com
advertisement