advertisement

ชาวพุทธควรรู้ กฐิน ประเพณีที่เข้าใจผิดไปกันใหญ่ ต้นกฐินไม่ใช้ต้นเงิน


advertisement

         ช่วงนี้เราจะเห็นได้ว่าแต่ละวัดจะมีการจัดงานบุญกฐิน เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง นิยมทำกันตั้งแต่วันแรมค่ำเดือนสิบเอ็ด ไปจนถึงกลางเดือนสิบสอง  การทอดกฐิน คือ การนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำห้ารูป แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย จากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐินนั้น ซึ่งสิ่งที่เราเห็นในปัจจุบันและที่เป็นข่าวประเด็นที่คนสนใจคือวัดนั้นได้เงินทำบุญยอดกฐินเท่านั้นเท่านี้ 

         ล่าสุด ทางด้านผู้ใช้ TikTok @bebuddhist ได้โพสต์วิดีโอคลิปเผยความจริงเกี่ยวกับบุญกฐิน ที่ปัจจุบันเข้าใจผิดกันไปใหญ่แล้ว โดยได้โพสต์เล่าระบุว่า…. 

         กฐินประเพณีที่เข้าใจผิดคนไทยส่วนใหญ่เข้าใจว่ากฐิน คือ การถวายเงินเข้าวัดพร้อมกับจัดงานรื่นเริง ซึ่งทำให้เกิดภาพจำว่าต้นไม้มีใบเป็นเงิน เรียกว่า ต้นกฐิน แต่แท้จริงแล้วการถวายกฐินตามพุทธะบัญญัตินั้น ไม่ได้เกี่ยวกับการหาเงินเข้าวัดแต่อย่างใด แต่เป็นกิจกรรมภายในหมู่พระภิกษุสงฆ์ที่ต้องร่วมกันจัดทำเครื่องนุ่งห่ม เช่น จีวร ด้วยการตัดเย็บย้อมให้แก่พระภิกษุที่ได้รับฉันทามติว่าเป็นผู้มีผ้าเก่าที่สุด และอยู่จำพรรษา 3 เดือนในวัดเดียวกัน 


advertisement

         การทำกฐินจะเกิดขึ้นได้ต้องมีมูลเหตุมาจากการที่คฤหาสน์หรือชาวบ้านมีประสงค์นำผ้ามาถวายโดยปราศจากการพูดเทียบเคียงของพระภิกษุ ซึ่งถ้าหากเป็นผ้าที่ได้ด้วยการพูดเทียบเคียงไม่สามารถนำมาเป็นผ้ากฐินได้ 

         ช่วงเวลาในการถวายกฐิน คือ หลังวันออกพรรษาเป็นต้นไป จนครบ 1 เดือน เรียกว่า ฤดูกาล ดังนั้น การถวายกฐินที่ถูกต้องและให้สำเร็จประโยชน์ คือ การนำผ้าไปถวายตามฤดูกาลที่กำหนด


advertisement

พุทธประเพณี ตัด เย็บ ย้อม ผ้ากฐิน 

         ส่วนการถวายเงินเพื่อบำรุงวัดถ้าทำอย่างถูกต้องก็ไม่ใช่เรื่องผิด เพียงแต่นั่นยังไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการทำกฐินอย่างที่เราตั้งใจ ในแต่ละปีของฤดูถวายกฐินเราจะได้ยินผู้คนถามกันว่าปีนี้ได้ยอดกฐินเท่าไหร่ และคำตอบที่ได้มักจะเป็นจำนวนเงินหลักหมื่นบ้าง หลักแสนบ้าง หลักล้านบ้าง แต่คำถามที่ควรถามคือภิกษุใดเป็นผู้ได้รับเลือกให้ครองผ้ากฐินหรือผ้ากฐินทำเสร็จแล้วหรือยัง  

       หลังจากพิธีทอดกฐินแล้ว พระสงฆ์จะนำผ้าขาวที่ญาติโยมนำมาทอดถวายนั้นไปทำการตัด เย็บ ย้อม เป็นผ้าไตรจีวรให้เสร็จภายในวันนั้นเลย เพื่อนำมาทำพิธีกรานกฐิน การทำผ้าจีวรในสมัยโบราณต้องใช้เวลาและความร่วมมือในการทำมาก การที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาติกฐินเพื่อให้คณะสงฆ์ทั้งหมดที่จำพรรษามาด้วยกันในอาวาสเดียวกันมาร่วมทำกิจกรรมเพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ซึ่งทางวัดป่าภูผาแดงยังคงดำรงพุทธประเพณีมาจวบจนทุกวันนี้

        พระสงฆ์ท่านจะตัดเป็นสบง (ผ้านุ่ง) สำหรับพิธีกรานกฐินในตอนเย็น วันที่ ๑๒ตุลาคม ๒๕๕๗ โดยพระอาจารย์อุเทน สุธัมโมและหมู่สงฆ์ได้นำผ้ากฐินที่เจ้าภาพถวายแล้วมาวัดขนาด เพื่อตัดเย็บผ้าสบง ๕ ขัณฑ์ เมื่อได้ขนาดแล้วพระอาจารย์อุเทนผู้มีประสบการณ์ในการเย็บผ้ากฐินมาถึง ๑๕ ปี ท่านจะเย็บผ้าทีละขัณฑ์ ในระหว่างขัณฑ์ มีเส้นคั่นดุจคันนายาว เรียกว่า กุสิ แล้วจึงนำมาเข้ามุมทั้ง ๔ ด้านเรียกว่า อนุวาต เมื่อเย็บเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านจะนำผ้าไปซักเพื่อขจัดรอยต่างๆให้สะอาด จากนั้นพระท่านได้ผสมสีย้อม ๓ สีคือสีแก่นบวร สีกรักแก่นขนุน สีกรักอันโกโซน ผสมรวมกันจนได้สีที่ถูกต้องแล้ว พระท่านจึงนำผ้าสบงลงไปย้อมทั้งผืน แล้วนำไปตากแดดให้แห้งสนิท เมื่อแห้งแล้วท่านจะนำมาพับให้เรียบร้อยเพื่อนำมากรานกฐินในตอนเย็นของวันที่ ๑๒ ตุลาคมนั้นเลย

คลิกเพื่อ >>>ชมคลิป<<<

        น่าจะเป็นความรู้ให้กับพุทธศาสนิกชนได้เป็นอย่างดี เกี่ยวกับบุญกฐิน ต้นเงินต้นกฐิน ไม่ใช่ต้นเงินที่นำไปถวายวัดอย่างที่หลายคนเข้าใจ กฐินคือ ผ้าที่นำไปถวายพระสงฆ์ได้ใช้ประโยชน์ตัดเย็บเป็นจีวร สบง ผ้าที่ใช้สำหรับพระสงฆ์ต่อไป 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com  ขอขอบคุณข้อมูลจาก bebuddhist


advertisement