advertisement

ทำความรู้จัก รอยเลื่อนสะกาย ฉายายักษ์หลับกลางเมียนมา


advertisement

      จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เมื่อเวลา 13.20 น.ของวันที่ 28 มีนาคม ความรุนแรงขนาด 8.2 ระดับลึก 10 กม. ซึ่งศูนย์กลางอยู่อยู่ที่ประเทศเมียนมา ห่างจากอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน 326 กิโลเมตร ทำให้ประชาชนหลายพื้นที่ของประเทศไทยรับรู้แรงสั่นสะเทือน นอกจากนี้ยังมีอาฟเตอร์ช็อกตามมาที่ระดับ 7.1 และยังคงเฝ้าติดตามเป็นระยะ

      กรมอุตุนิยมวิทยาของไทย รายงานความคืบหน้าเพิ่มเติมว่า เหตุแผ่นดินไหวดังกล่าว สาเหตุเกิดจากกลุ่มรอยเลื่อนสะกาย ของเมียนมา

      รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) นับเป็นหนึ่งใน รอยเลื่อนที่มีพลัง (active fault) สำคัญอันดับต้น ๆ ในแถบประเทศอาเซียน ตามข้อมูลระบุ ว่ารอยเลื่อนสะกายมีความยาวประมาณ 1,200 กิโลเมตร วางตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ผ่ากลางอกของประเทศเมียนมา และพาดผ่านแทบทุกเมืองที่สำคัญ เริ่มจากเมืองมิตจีนา (Myitkyina) มัณฑะเลย์ (Mandalay) ตองยี (Tounggyi) เนปิดอว์ (Naypyidaw) พะโค (Bago) ย่างกุ้ง (Yangon) และยังลากยาวต่อลงไปในทะเลอันดามัน จึงถูกขนานให้เป็น "ยักษ์หลับกลางเมืองเมียนมา" 


advertisement

      ครั้งแรกมีรายงานแผ่นดินไหวขนาด 7.6 และมีรายงานถัดมาปรับขนาดเป็น 7.5 และ 7.4 ตามลำดับ โดยรอยเลื่อนนี้ถือเป็นรอยเลื่อนใหญ่ของเมียนมาและเคยเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงหลายครั้ง โดยรอยเลื่อนสะกายเคยทำให้เกิดแผ่นดินไหวสูงสุดขนาด 7-8 เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1912, 1930, 1940 รวมถึงในปี 1950 ซึ่งถือว่าเกิดบ่อยเกือบจะทุก 10-20 ปี  


advertisement


advertisement

       แผ่นดินไหวครั้งนี้ค่อนข้างรุนแรง ซึ่งเกิดจากรอยเลื่อนสะกายปลดปล่อยพลังงานในรอบหลาย 10 ปีของเมียนมา คาดการณ์ว่าจะเกิดความเสียหายจำนวนมาก ซึ่งโดยปกติหากเกิดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรง สามารถเกิดอาฟเตอร์ตามมาได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ครั้ง เนื่องจากเป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่ยาว 1,000 กิโลเมตร 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com  


advertisement