advertisement

อ.เจษฎา ไขข้อสงสัยแล้ว โคลนปริศนาผุดจากรอยแยกหลังแผ่นดินไหว คืออะไร


advertisement

      จากกรณี แผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา แผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 7.7 แมกนิจูด เกิดขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองสะกายในภาคกลางของพม่าในช่วงบ่าย และตามมาด้วยอาฟเตอร์ช็อกขนาด 6.4 แมกนิจูดในอีกไม่กี่นาทีต่อมา แผ่นดินไหวครั้งนี้ทำให้ตึกรามบ้านช่องพังราบ สะพานพังถล่ม และถนนแตกร้าวในพื้นที่ต่างๆ ของพม่า และยังทำให้ตึกสูง 30 ชั้นที่กำลังก่อสร้างในกรุงเทพฯ พังถล่มด้วย ในโลกโซเชียลของเมียนมาและไทยได้มีการแชร์ภาพของดินที่มีความผิดปกติ เหมือนรอยแยกแล้วมีดินสีเทาผุดขึ้นมา สร้างความสงสัยว่าคืออะไร   

        ล่าสุด ทางด้านเฟสบุ๊ก Jessada Denduangboripant  อาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เฉลยถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ระบุว่าคือปรากฏการณ์ liquidfaction ซึ่งเกิดจากแผ่นดินไหว ทำให้แรงดันน้ำในดินสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกิดเป็นฟองดัน มีโคลนขึ้นมาตามรอยแยก เรียกว่า สภาวะดินเดือด (soil boiling) โดยได้โพสต์ระบุว่า…  

       (เพิ่มเติมข้อมูล : เป็นปรากฏการณ์ "liquidfaction" เกิดจากแผ่นดินไหวทำให้แรงดันน้ำในดินสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเกิดเป็นฟองดัน ดินโคลนขึ้นมาตามรอยแยก เรียกว่า "สภาวะดินเดือด soil boiling" ครับ)

       ถ้าให้เดา มันก็น่าจะเป็นการเกิดรอยแยก แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว และทำให้น้ำใต้ดินผุดขึ้นมาครับ แล้วน้ำก็ผลักดันพวกดินโคลนแร่ธาตุที่อยู่ใต้ดิน ขึ้นมาแห้งข้างบนด้วย ถ้าให้มั่นใจได้มากกว่านี้ ก็ต้องส่งทีมธรณีวิทยา ไปสำรวจครับ แต่ไม่ใช่ลาวาหรือหินหลอมเหลวแน่ๆครับ ตรงนั้นเป็นแค่รอยเลื่อน ไม่ใช่แนวปะทุเป็นภูเขาไฟ


advertisement

     (เพิ่มเติม) Soil boiling คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อก๊าซหรือของเหลวใต้ดินถูกดันขึ้นมาผ่านชั้นดินอย่างรวดเร็ว ทำให้ดินดูเหมือนกำลังเดือด (คล้ายกับน้ำเดือด) ซึ่งมักเกิดขึ้นจากแรงดันที่สะสมอยู่ใต้ดินและสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

     1. แรงดันน้ำใต้ดิน (Pore Water Pressure) สูง


advertisement

     – เกิดขึ้นเมื่อน้ำใต้ดินถูกกักอยู่ใต้ชั้นดินที่มีความหนาแน่นสูง แล้วได้รับแรงดันเพิ่มขึ้น เช่น จากกระบวนการก่อสร้างหรือแผ่นดินไหว

     2. กระบวนการทางธรณีวิทยา

     – เช่น การปล่อยก๊าซจากโพรงใต้ดิน หรือกิจกรรมของภูเขาไฟ

     3. Liquefaction (การทรายเหลว)

     – เกิดขึ้นเมื่อดินอิ่มตัวด้วยน้ำและได้รับแรงสั่นสะเทือน เช่น จากแผ่นดินไหว ทำให้ดินสูญเสียความแข็งแรงชั่วคราวและเคลื่อนตัวขึ้นมาเหมือนกำลังเดือด

     4. การรั่วไหลของก๊าซใต้ดิน

     – เช่น มีเทน (Methane) หรือก๊าซธรรมชาติอื่น ๆ ที่สะสมอยู่ใต้ดินแล้วมีแรงดันมากพอที่จะดันตัวขึ้นมาสู่ผิวดิน

     ปรากฏการณ์นี้อาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐาน เช่น อาคาร ถนน และเขื่อน เพราะอาจทำให้ดินสูญเสียความแข็งแรงและเกิดการทรุดตัวได้  


advertisement

        ไขข้อสงสัยให้กับชาวเน็ตแล้ว ว่าเป็นปรากฏการณ์ liquidfaction ซึ่งเกิดจากแผ่นดินไหว ทำให้แรงดันน้ำในดินสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกิดเป็นฟองดัน มีโคลนขึ้นมาตามรอยแยก เรียกว่า สภาวะดินเดือด (soil boiling)

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก  Jessada Denduangboripant 


advertisement