advertisement

กระจ่างแล้ว แผงกั้นทางรถไฟ มีระบบการทำงานยังไงก่อนรถไฟจะมาถึง


advertisement

       เป็นระบบป้องกันความปลอดภัยจุดถนนที่มีเส้นทางรถไฟวิ่งผ่าน สำหรับ แผงกั้นทางรถไฟ ก่อนรถไฟจะมาถึงจุดแผงไม้กั้นจะลงมากั้นก่อนที่รถไฟจะมาถึงเพื่อความปลอดภัยของผู้ที่ใช้รถใช้ถนนข้ามทางรถไฟ

แผงกั้นทางรถไฟ

      ล่าสุด มีสมาชิกพันทิปหมายเลข 3493322 เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับระบบการทำงานของแผงกั้นทางรถไฟว่ามีระบบการทำงานอย่างไงก่อนที่รถไฟจะมา โดยระบุว่า…


advertisement

       ระบบทางกั้นรถไฟที่ตัดถนนมีหลักการทำงานอย่างไร มันรู้ได้ไงว่ารถไฟจะมา รถไฟไปแล้ว ใช้เซนเซอร์อะไร หรือคนสั่ง มีชาวพันทิปตอบเกี่ยวกับระบบการทำงานของแผงกั้นทางรถไฟ โดยระบุว่า…

      มีตัวเซ็นเซอร์ติดอยู่ที่ราง ระบบที่ดีๆหน่อยเรียกว่า Axle Counter หรือตัวนับเพลาล้อ โดยใช้หลักการของการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็กไฟฟ้า ในการตรวจจับจำนวนเพลาล้อของโบกี้รถไฟ โดยที่ตัวเซ็นเซอร์นี้ จะถูกติดตั้งห่างออกไปจากจุดตัดทั้งสองด้าน ด้านละ 7-800 เมตร เมื่อรถไฟวิ่งผ่านตัวเซ็นเซอร์ มันจะนับเพลาล้อ และเมื่อรู้ว่าเป็นขบวนรถไฟ มันก็จะส่งสัญญาณมาบอกตู้ควบคุมไม้กั้นอัตโนมัติ ให้ทำการกั้นถนน และถ้ากั้นสำเร็จ ก็จะไปเปลี่ยนสถานะของไฟสัญญาณเพื่อบอก พขร. ให้ทราบ ว่าไม้กั้นลงสนิทแล้ว ให้วิ่งผ่านได้ แต่ถ้ากั้นไม่สนิท ก็จะเป็นไฟสัญญาณสีแดง เพื่อบอก พขร. ให้ลงห้ามล้อ ซึ่งระยะ 7-800 เมตรนี้ ก็คือระยะเบรกปลอดภัยของรถไฟนั่นเอง


advertisement


advertisement

  มีตัวเซ็นเซอร์ติดอยู่ที่ราง

กระจ่างเลย 


advertisement

       ระบบการทำงานเป็นอย่างนี้นี่เอง มีตัวเซ็นเซอร์ก่อนถึงจุดตั้ง 7-800 เมตร ตัวเซ็นเซอร์จะส่งสัญญาณมาทำให้แผงกั้นทำงานแล้วเลื่อนลงมากั้นรถที่จะข้ามทางรถไฟ กระจ่างเลยงานนี้

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก สมาชิกพันทิปหมายเลข 3493322 


advertisement