advertisement
เมื่อวาน (25 พ.ค.62) ที่ผ่านมา เปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้ง 1 วาระการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร ผลจากการลคะแนนได้ "นายชวน หลีกภัย" ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นครั้งที่ 2
นายชวน หลีกภัย
สำหรับประวัติของ นายชวน หลีกภัย เกิดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 จังหวัดตรัง นายชวน เริ่มทำงานเป็นทนายความ และต่อมาได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ใน พ.ศ. 2534 เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการหลายกระทรวง ได้แก่ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข ตลอดจนรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านใน พ.ศ. 2533 ชวน หลีกภัยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
advertisement
ต่อมาใน พ.ศ. 2535 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 1 และวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 สมัยที่ 2 ควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทั้งนี้ นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา นายชวน เป็นพลเรือนคนที่สอง นับจากหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนี้ ในเหตุการณ์ 6 ตุลา ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์พร้อมกับรัฐมนตรีในพรรคประชาธิปัตย์อีก 2 คน คือ นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ และนายสุรินทร์ มาศดิตถ์
สรุปประวัติทางการเมือง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยแรก) พ.ศ. 2512
advertisement
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สอง) พ.ศ. 2518
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2518
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สาม) พ.ศ. 2519
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2519
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2519[3][4]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สี่) พ.ศ. 2522
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2523[5]
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2524
รัฐมนตรว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2525 – 2526
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่ห้า) พ.ศ. 2526
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่หก) พ.ศ. 2529
ประธานสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529 – 2531
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่เจ็ด) พ.ศ. 2531
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2531 – 2532
advertisement
รองนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2532 – 26 ส.ค. 2533
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2533 (ส.ค.- ธ.ค. พ.ศ. 2533)
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (26 ม.ค.2534 – 4 พ.ค. พ.ศ. 2546)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่แปด) พ.ศ. 2535 (22 มี.ค. พ.ศ. 2535)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่เก้า) พ.ศ. 2535 (13 ก.ย. พ.ศ. 2535)
นายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2535 (23 ก.ย. พ.ศ. 2535 – 20 ก.ค. พ.ศ. 2538)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบ) พ.ศ. 2538 (2 ก.ค. พ.ศ. 2538)
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2538 (4 ส.ค. พ.ศ. 2538)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบเอ็ด) พ.ศ. 2539 (17 พ.ย. พ.ศ. 2539)
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2539 (21 ธ.ค. พ.ศ. 2539)
นายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2540 (9 พ.ย. พ.ศ. 2540 – 8 ก.พ. พ.ศ. 2544)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2540 (14 พ.ย. พ.ศ. 2540-18 ก.พ. พ.ศ. 2544)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบสอง) พ.ศ. 2544 (6 ม.ค. พ.ศ. 2544)
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 (11 มี.ค. พ.ศ. 2544)
ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2546 – ปัจจุบัน)
ประวัติการทำงานของท่านถือว่าเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีถ้าใครได้ติดตามการเมืองอย่างใกล้ชิด ครั้งนี้ได้ถูกเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นครั้งที่ 2 ถือว่าไม่ธรรมดา
เรียบเรียงโดย : thaihitz.com
advertisement