advertisement

ทนายคู่ใจ เผยค่าชดเชยที่พนักงานซันโยฯ จะได้รับหลังปิดกิจการ


advertisement

       จากกรณีผู้บริหารบริษัทซันโย เอ็นจิเนียริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ และซ่อมแซมแม่พิมพ์ ชิ้นส่วนโลหะ ประกาศปิดกิจการพร้อมสั่งเลิกจ้างพนักงานทุกคน ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2562 เป็นต้นไป ทำให้พนักงานหลายร้อยคนเดือดร้อน 

        ล่าสุด ทางด้านเพจ ทนายคู่ใจ ทนายรณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ได้โพสต์พูดถึงการจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้าง ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 118 โดยระบุว่า…  

        จากกรณีข่าวดัง “ซันโย” ประกาศปิดกิจการ เลิกจ้างพนักงาน กะทันหัน วันนี้เลยจะมาพูดถึงการจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้าง ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 118 ค่าชดเชยหมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง กรณีเลิกจ้างให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เลิกจ้าง ดังนี้


advertisement

        (1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 30 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

        (2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 90 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

        (3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย180 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 180 วัน สุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย


advertisement

        (4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 240 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

        (5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี แต่ไม่ครบยี่สิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

        (6) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 400 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

        การเลิกจ้าง หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปได้และไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6298/2545 หนังสือของนายจ้างที่มีไปยังลูกจ้างระบุว่า"เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจและปัญหาค่าใช้จ่ายเกินรายได้ ทำให้บริษัทมีความจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่าย ไม่สามรถจ้างท่านในตำแหน่งและอัตราเงินเดือนที่ท่านได้รับอยู่ได้ จึงขอให้ท่านลาออกจากงาน มีผลตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2543 เป็นต้นไป โดยบริษัทยินดีจ่ายค่าชดเชยให้ท่านตามกฎหมายแรงงาน" เป็นกรณีที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป และไม่จ่ายค่าจ้างให้เนื่องจากเหตุอื่นใด จึงเป็นการเลิกจ้างลูกจ้างตามมาตรา 118 วรรคสอง

       

        นี่ก็เป็นการจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้าง ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 118 เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตามกฏหมาย พนักงานลูกจ้างทั้งหลายควรรู้ไหว

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก ทนายคู่ใจ 


advertisement