advertisement

หนุ่มเลี้ยงปลามา 10 ปี พึ่งรู้เป็นพันธุ์หายาก โลละ 3,500 บาท


advertisement

        เมื่อวาน (3 มี.ค.64) ที่บ้านของนายสมโชค สงนวล อายุ 58 ปี เลขที่ 22/5 หมู่ 5 ต.ลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง มีการเพาะเลี้ยงปลาพลวงชมพู หรือปลากือเลาะ เพื่อไว้บริโภคในครัวเรือนมานานกว่า 10 ปีแล้ว โดยหาลูกพันธุ์มาจากแหล่งน้ำตกใกล้บ้าน ซึ่งอยู่ติดกับเทือกเขาบรรทัด นำไปเลี้ยงจนได้ขนาด ก่อนจะนำมาทำอาหารหลากหลายเมนู 

        แต่เมื่อปี 2562 มีบริษัทประชารัฐรักสามัคคีตรัง เข้ามาทำโครงการวิจัย และพบว่าเป็นปลาพลวงชมพูชนิดเดียวกับที่พบใน อ.เบตง จ.ยะลา เป็นปลาน้ำจืดในตระกูลปลาตะเพียน หรือบางแห่งเรียกว่าปลาเวียน เป็นปลาที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ สามารถนำไปทอดกรอบแล้วกินได้ทั้งเกล็ด แตกต่างจากปลาทั่วไป เนื่องจากเกล็ดมีลักษณะอ่อนนิ่มมาก

        นายสมโชค จึงได้เพาะเลี้ยงไว้ได้ประมาณ 1,000 ตัว อายุตั้งแต่ 4-7 เดือน ทำบ่อพลาสติกลึกประมาณ 50-60 เซนติเมตร ใส่ท่อซีเมนต์ไว้หลายท่อ เพื่อให้ปลาหลบซ่อนตัว ใช้น้ำจากภูเขาไหลผ่านบ่อต่างๆ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 5 บ่อ แต่หากเลี้ยงครบ 1 ปี ปลาพลวงชมพูจะมีน้ำหนักตัวละประมาณ 1 กิโลกรัม โดยมีราคาขายสูงถึงกิโลกรัมละตั้งแต่ 2,000-3,500 บาท หากส่งออกไปต่างประเทศ เช่น ฮ่องกง และมาเลเซียจะมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 5,000-6,000 บาท ซึ่งขณะนี้เกษตรกรยังรอขุดบ่อเพิ่มเพื่อขยายพันธุ์ปลาให้มากขึ้น 


advertisement
– [ads]

        โดยมีบริษัทประชารัฐรักสามัคคีตรังเข้ามาส่งเสริมให้เกษตรกรที่อยู่ริมเทือกเขาบรรทัด รวมกลุ่มกันเพาะเลี้ยงปลาพลวงชมพูเกรดพรีเมี่ยม เพื่อให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ ที่สร้างงานสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่ เนื่องจากมีสายน้ำจากเทือกเขาบรรทัดไหลผ่าน ทำให้น้ำใสสะอาด ปลาเนื้อแน่น โตเร็วไม่มีกลิ่นคาว ไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำ เหมาะสำหรับเป็นที่อาศัยอยู่ปลาพลวงชมพูเป็นอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านมีการรวมกลุ่มกันเพาะเลี้ยง


advertisement


advertisement

        นายสมโชค กล่าวอีกว่า ตนเลี้ยงปลาพลวงชมพูมาประมาณ 1 ปี แต่ก่อนหน้านี้เลี้ยงมา 10 ปีแล้ว มีอยู่ประมาณ 1,000 ตัว เริ่มแรกก็เพื่อบริโภคในครัวเรือน รสชาติดี ราคาขายในตลาดตนไม่รู้ แต่รู้ว่าใน 3 จังหวัดบอกว่ากิโลกรัมละ 3,500 บาท แต่ตนยังไม่เคยได้ขาย นอกจากนี้มีปลาชะโอนหิน ซึ่งราคาขายกิโลกรัมละ 300 บาท และหากินได้ ตอนนี้อยากจะขยายบ่อแต่ยังไม่มีงบ หากได้บ่อจะเลี้ยงเพิ่มอีกเยอะ ซึ่งตอนนี้มีเกษตรกรสอบถามเข้ามาเยอะมาก และมองว่าน่าจะเป็นรายได้เสริมที่ดีอีกทางหนึ่ง 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com 


advertisement