advertisement
สายแคมป์ปิ้งต้องมีเลย สำหรับ Power Box กล่องเก็บพลังงาน ในยุคที่อุปกรณ์ไอที เป็นปัจจัยที่ 5 ในชีวิตประจำวัน และอุปกรณ์เหล่านี้ต้องการแหล่งจ่ายไฟฟ้าในการชาร์จแบตเตอรี่ เวลาไปแคมป์ปิ้งต้องมีติดไปด้วย วันนี้เราจะไปดู D.I.Y. Power box สำหรับใช้ออกเที่ยว แค้มป์ปิ้ง (งบประมาณไม่เกิน 2,000 บาท) สมาชิกพันทิปหมายเลข 5587370 ได้แชร์ไอเดียนี้เป็นยังไงนั้นตามไปดูกันเลยครับ
Power box เป็นอุปกรณ์ที่นักแค้มปิ้งขาดไม่ได้แน่นอน เมื่อต้องค้างแรมกลางป่ากลางเขา งบประมาณทั้งหมด 1,605 บาท แต่ไม่รวมของเก่าที่มีอยู่แล้ว (กล่อง มาตรวัดแรงดัน สวิตช์)
Step : 1 อันดับแรกก่อนจะทำ ผมอยากให้คำนึงถึง อยากจะต่อกับอุปกรณ์แบบไหน อย่างเช่น ผมใช้ชาร์จโทรศัพท์ โน๊ตบุ๊ค หลอดไฟ พัดลม หรือยามฉุกเฉิน เช่นเวลาไฟดับ อยากได้ฟังก์ชั่นแบบไหน อยากได้แบตเตอรี่ขนาดเท่าไหร่ ใช้งานได้กี่วัน ก็เลือกขนาดให้พอเหมาะตามต้องการ เอาเท่าที่จำเป็น ไม่พอค่อยใส่เพิ่ม เดี๋ยวมันจะหนักเกินไป
Step 2 : หาอุปกรณ์ต่างๆ เช่น กล่องเครื่องมือสำหรับใส่อุปกรณ์ (กล่องที่ไม่ได้ใช้แล้ว) หรือหาซื้อในอินเตอร์เน็ต แล้วสั่งซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ที่ต้องใช้ ให้ดูขนาดด้วยนะครับ เดี๋ยวลงกล่องไม่ได้ ในตัว Power Box มีอะไรบ้าง ?
ส่วนประกอบหลักๆ ของ Power Box คือแบตเตอรี่
1. แบตเตอรี่ ผมซื้อ Li-ion battery rechargeble 12V 20000mAh ราคา 1,034 บาท รวมค่าจัดส่ง คุณสมบัติ มี Adapter 12v สำหรับชาร์จแบต มีวงจร Over-charge อยู่ที่ 12.6 V และมีวงจรตัดแบตเตอรี่
2. อุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น สายไฟ สวิตช์ หน้าจอแสดงผล และตัวแปลงไฟฟ้า ผมซื้อ Adaptor 12V ราคา 94 บาท รวมค่าส่ง และตัวแปลงไฟ 12V เป็น 5V ราคา 125 บาท รวมค่าส่ง ส่วนสวิตช์ เต้ารับ เต้าเสียบ สายไฟ และมาตรวัดแรงดัน ใช้ของที่มีอยู่
advertisement
advertisement
3. อินเวอร์เตอร์สำหรับแปลงไฟ DC 12V แปลงเป็น AC 220V 200W ราคา 352 บาท รวมค่าส่ง คุณสมบัติ มีปลั๊กสำหรับเสียบเข้ากับที่เสียบบุหรี่ มีพอร์ต USB มีฟิวส์ในตัวและพัดลมระบายความร้อน
advertisement
Step 3 : การติดตั้งอุปกรณ์ ทำเครื่องหมาย มาร์คลงบนฝากล่อง แล้วเจาะรูให้มีขนาดใหญ่กว่าตัวอุปกรณ์เล็กน้อย นำมิเตอร์วัดแรงดันและอะแดปเตอร์ไฟฟ้า อื่นๆ ลงในกล่องและยึดเข้ากับฝากล่อง
Step 4 : ขั้นตอนการต่อวงจร
จาก Step 3 จะเห็นว่าผมต่อสายไฟและลอยสายไฟไว้แล้วบางจุด ปกติสายไฟสีแดงจะเป็นบวก สายไฟสีดำจะเป็นลบ เนื่องจากผมไม่มีสายไฟสีแดงและดำ ผมจึงใช้เท่าที่มี คือสายไฟสีน้ำตาลเป็นบวก สายไฟสีฟ้าเป็นลบ ส่วน Case fuse สีขาว ผมเอามาประยุกต์ใช้ครอบจุด Joint ไว้ ผมไม่ได้ใส่ Fuse เพราะแบตเตอรี่มีวงจรตัดในตัว อินเวอร์เตอร์มี Fuse ในตัว การต่อให้ดูตามรูปด้านล่างเลยครับ
advertisement
Step 5 : การทดสอบและการใช้งาน
ผมทดสอบชาร์จแบตเตอรี่ ประมาณ 10 ชั่วโมง แบตเต็ม ตัว Adaptor จะตัดและโชว์ไฟสีเขียว (ขณะชาร์จ LED จะขึ้นไฟสีแดง) แบตเตอรี่จะตัดการทำงานที่ 10.3 V ส่วนชาร์จแบตเต็มที่ 12.4 V (ชาร์จประมาณ 10 ชั่วโมง)
ที่ชาร์จนานเพราะ Adapter ที่แถมมา แรงดัน 12.6V มันเท่าๆกับแบตเตอรี่ ถ้าไม่อยากชาร์จนาน ให้เปลี่ยน Adapter ที่มีแรงดันมากกว่าแบตเตอรี่ ประมาณ 14V ก็ได้ครับ ส่วนอินเวอร์เตอร์ พัดลมระบายความร้อนเสียงเบา แรงดันผมวัดได้ประมาณ 176V (แบตไม่เต็ม) โน๊ตบุ๊คสามารถใช้งานได้
ระยะเวลาใช้งานกับอุปกรณ์ต่างๆ Power box นี้ แบตเตอรี่มีความจุ 20,000 mAh หากนำไปชาร์จโทรศัพท์ iPhone SE (2020) ที่มีขนาดแบตเตอรี่ 1,821 mAh จับหารแบบบ้านๆ ก็จะชาร์จได้เกือบ 11 ครั้งเลยทีเดียว หรือหากนำไปใช้กับหลอด LED ขนาด 3W 12V ก็นำหน่วย 240 Wh มาหารกันตรงๆ น่าจะใช้ได้ประมาณ 80 ชั่วโมง
เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก สมาชิกพันทิปหมายเลข 5587370
advertisement