advertisement

กยศ. เตรียมให้ทุกบริษัท หักเงินเดือนพนักงานที่กู้ยืม กยศ เริ่ม มี.ค.นี้


advertisement

      กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นหน่วยงานของรัฐอยู่ในกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาด้วยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยปัจจุบันมีปัญหาผู้กู้ยืมหรือลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ไม่ใช้หนี้คืนจนกลายเป็นหนี้เสียจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว แต่ก็มีลูกหนี้ดีที่จ่ายตามกำหนดโดยจะมีทั้งรายเดือนและรายปี 

      ล่าสุด ทางด้านเพจเฟสบุ๊ก สถาปนิก เพื่อสังคม ได้โพสต์เรื่องที่ว่าทาง กยศ อาจกำลังทำลายโอกาสของผู้กู้ยืมเงิน ให้ยากลำบากในการหางานเข้าไปอีก  เพราะว่าจะให้แต่ละบริษัท ทำหน้าที่หักเงิน เดือน ของพนักงานที่กู้ยืม กยศ และมีหน้าที่ในการนำส่งทุกเดือน เริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคมนี้ โดยระบุว่า… 

          #กยศ อาจกำลังทำลายโอกาสของผู้กู้ยืมเงิน ให้ยากลำบากในการหางานเข้าไปอีก และอาจจะเป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ของการบริหารจัดการที่ล้มเหลวของภาครัฐ ด้วยการยัดเยียดภาระหน้าที่ของตน ไปบังคับให้ผู้อื่นทำและต้องรับผิดแทนด้วย

          ทางเพจ ได้รับข้อมูลตรงมาว่า ขณะนี้ ทุกบริษัทที่จ้างพนักงาน ที่กู้เงิน กยศ จะได้รับจดหมาย ที่มีสาระสำคัญว่า ให้แต่ละบริษัท ทำหน้าที่หักเงิน เดือน ของพนักงานที่กู้ยืม กยศ และมีหน้าที่ในการนำส่งทุกเดือน เริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคมนี้ เป็นต้นไป หากบริษัทไม่หักเงินเดือนแล้วนำส่ง บริษัทจะมีความผิด

          หากบริษัทหักแล้วนำส่งช้าหรือเกิดความผิดพลาด  บริษัทจะถูกปรับเป็นเงิน 2% ต่อเดือน ยอดเงิน ที่จะให้บริษัทเป็นผู้หัก เพื่อนำส่งนั้น ทาง กยศ จะเริ่มแจ้งให้ทราบ ในวันที่ 5 มีนาคมนี้ และ การหักเงิน ให้เริ่มในเดือนมีนาคมนี้ เป็นต้นไป 

          โดยให้นำส่ง ผ่านสรรพากร ไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป พอไปดูระบบชำระเงิน ผ่านสรรพากร e-PaySLF บริษัท มีภาระจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมชำระเงิน ตามนี้ ธกส 5 บาท ธ.กสิกร 15 บาท ธ.กรุงเทพ 10 บาท บริษัทใด ที่ไม่มีการทำธุรกรรม อิเล็กทรอนิกส์ กับ 3 ธนาคารนี้ ก็ต้องทำเช็ค ไปจ่าย ที่สรรพากร


advertisement


advertisement

          ตามปกติ พนักงานที่มีเงินกู้กับ กยศ เขาก็มีหน้าที่จ่ายเองอยู่แล้ว บางคนก็จ่ายเป็นรายเดือน บางคนก็จ่ายเป็นรายปี แล้วแต่จะตกลงกัน แต่ขณะนี้ กลายเป็นว่า ยอดหักเท่าไหร่ ไม่รู้ ต้องรอจนกว่าวันที่ 5 ของทุกเดือน มีตัวอย่างในบางบริษัท  กยศ แจ้งเฉพาะชื่อมา 4 คน ทั้งที่ 2 คน ลาออกไปนานแล้ว ส่วนอีกคน กู้ กยศ ส่งทุกปี ทำงานที่บริษัทมา 8 ปี แต่กลับไม่มีชื่อ ถ้าเกิดมีกรณีผิดพลาดสับสน เช่นนี้ เกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ ความโกลาหลจะตกอยู่กับบริษัทเหล่านั้นแค่ไหน ลองคิดดูครับ

          ตอนนี้ แต่ละบริษัทต่างเดือดร้อนกับ พรบ. ฉบับนี้ มาก เพราะ นอกจากจะถูก กยศ บังคับให้เป็นผู้รับผิดชอบทวงหนี้ให้แล้ว ยังจะต้องมารับผิดขอบในความผิดพลาดใดๆ แบบว่า โดนทั้งขึ้น ทั้งล่อง 

          ที่สำคัญก็คือ ต้องมานั่งทำงานให้ กยศ ฟรีๆ ทั้งที่แต่ละบริษัท ก็ไม่ได้เป็นผู้ควบคุมข้อมูลใดๆเลย แม้แต่น้อย แถม ยังต้องทำ แบบผิดพลาดไม่ได้ ถ้าผิด จะโดนปรับ 2% ต่อเดือน และยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียมธนาคารให้อีก

          #ด้วยการออกกฎหมายแบบมักง่าย  ที่ดูเหมือน จะมีประโยชน์แค่การโยนภาระของหน่วยงานตนให้กับผู้อื่น เช่นนี้ ด้วยการออกกฎหมายที่ไร้ตรรกะรองรับ ที่ดูเหมือน เอาแต่จะแสดงอำนาจเหนือผู้ประกอบการ อย่างไม่สนใจใยดี เช่นนี้

          ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจริง แทนที่ จะเป็นผลดี กับผู้ที่กู้เงินกยศ หรือหน่วยงาน กยศ เอง อาจจะกลายเป็นว่า จากนี้ไป ทุกบริษัทอาจจะไม่รับพิจารณาผู้ที่กู้เงิน กยศ เข้าทำงาน … อีกต่อไป หรือ กลายเป็นการเพิ่มเงื่อนไข ที่สร้างความยากลำบาก ให้กับผู้ที่กู้เงิน กยศ ในการจะได้เข้าทำงานที่ใดๆ ให้มากเข้าไปอีก


advertisement

          นอกจากว่า ผู้นั้น จะเป็นผู้ที่มีความสามารถ สูงมาก จนบริษัทยอมที่จะมีภาระยุ่งยากเพิ่มขึ้น แน่นอนครับว่า  การเกิดขึ้นและมีอยู่ของกองทุนกยศนั้น  เป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมาก ทั้งในการช่วยสนับสนุนผู้ที่ขาดแคลนให้มีโอกาสได้รับการศึกษา และเพื่อสร้างหรือเปลี่ยนแปลงอนาคตของแต่ละคน ให้ดีขึ้นได้ บริษัทส่วนใหญ่เอง ก็มีการคอยเตือน ให้พนักงานที่กู้ยืมเงิน กยศ ได้ใช้หนี้คืนอย่างสม่ำเสมอ อยู่แล้ว เพื่อให้กองทุน จะได้มีเงินหมุนเวียนให้กับน้องๆ ที่รอเป็นผู้กู้รายใหม่ รวมไปถึง แต่ละบริษัท ก็ยังมีการพยายามแก้ไขปัญหาของพนักงาน ที่เป็นผู้กู้เงิน กยศ ให้สามารถมีกำลังชำระหนี้ได้ ด้วยวิธีการภายใน ที่แตกต่างกันไป ผู้ที่มีปัญหาไม่ชำระเงินกู้คืน  จึงน่าจะเป็นผู้ที่ไม่ได้อยู่ในระบบแรงงาน ที่มีบริษัทต้นสังกัดชัดเจน เสียมากกว่า

          คำถามคือ การแก้ปัญหา โดยไปสร้างปัญหาใหม่ที่ใหญ่มากขึ้นให้กัยผู้ไม่เกี่ยสข้องเช่นนี้ มันเป็นสิ่งที่หน่วยงานรัฐ สมควรทำหรือ เรื่องนี้ หัวหน้างานในแต่ละบริษัท ถึงกับส่ายหน้าให้กับทั้ง พรบ.และวิธีการของ กยศ 

          อีกทั้ง การติดต่อก็ยากมาก เสียเวลา โทรทั้งวัน ก็ไม่สามารถติดต่อได้  แต่ละบริษัท เลยต้องศึกษาวิธีการกันเอาเอง จากประกาศดังกล่าว ลองคิดดูนะครับว่า กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ที่มีขึ้นเพื่อโยนภาระของตนให้กับภาคเอกชนดื้อๆ เช่นนี้ หากภาคเอกชนพร้อมใจกัน ไม่ปฏิบัติตาม ใช้อารยะขัดขืน อยากปรับก็ยอมให้ปรับไป มันจะกลายเป็นอีกครั้ง ที่กฏหมายจะกลายเป็นเพียงกฎง่อยๆ ที่ออกมาแล้วก็ใช้ไม่ได้ จะกลายเป็นเรื่องที่น่าสมเพชซ้ำซาก สำหรับหน่วยงานต้นคิดเรื่องแบบนี้ อีกครั้ง

          มีข้อมูลว่า หลายบริษัทและบางโรงงาน ที่มีพนักงานที่กู้ กยศ เป็นร้อยราย ถึงกับ ต้องจัดหาคนมาทำงานนี้ เป็นการเฉพาะเลยเพียงจุดเริ่มต้น ที่ส่อว่าจะมีปัญหาเช่นนี้ ก็เริ่มจะทำให้หลายบริษัท ต่างพูดออกมาเป็นเสียงเดียวกันแล้ว ว่า ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ คงจะไม่พิจารณารับคนกู้ กยศ เข้าทำงาน อีกต่อไป อยากทราบเหลือเกินว่า กฏหมายที่สร้างปฏิกิริยาตอบรับเช่นนี้ จะมีผู้เกี่ยวข้อง หรือผู้มีอำนาจ ท่านใด กล้าหาญพอ ที่จะออกมารับผิดชอบ บ้างหรือไม่


advertisement

          ภาพประกอบ เป็นสำเนาเอกสารของ กยศ ที่สร้างปัญหานี้ และข้อความ chat ระหว่างองค์กรนายจ้าง กับ กยศ  เพื่อเป็นข้อมูลประกอบเพิ่มเติม สำหรับแต่ละท่าน ได้ลองพิจารณาด้วยตนเองกันนะครับ ด้วยความปรารถนาดี ที่ต้องการให้ภาครัฐและภาคเอกชน ช่วยกันพัฒนาประเทศ ในทางที่ถูกต้องและเป็นธรรม 

            ถือว่าเป็นการแก้ปัญหาที่อาจจะกระทบลูกหนี้ กยศ.ที่เป็นลูกหนี้ดี ชำระหนี้ในทุกๆ เดือน หรือว่าชำระหนี้ในทุกปีตรงตามกำหนดอยู่แล้ว ถ้ามีการปรับหักแบบนี้ เศรษฐกิจแบบนี้เดือนร้นกันแน่นอน 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com 


advertisement