advertisement

กระจ่าง ติดตั้งคอยล์ร้อนสูงเหนือคอยล์เย็น ทำไมต้องทำท่อตัวยู


advertisement

      เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องบอกเลยว่ามีความจำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน สำหรับ เครื่องปรับอากาศ หรือว่าแอร์ ยิ่งเมืองไทยหน้าร้อน ไม่ได้แอร์ช่วยคงจะร้อนอบอ้าวกันสุดๆ และปัจจุบันนี้แอร์ก็ราคาจับต้องได้ ไม่แพงจนเกินไป และยังประหยัดไฟอีกด้วย ในการติดตั้งแอร์ก็เป็นเรื่องที่สำคัญควรรู้เบื้องต้น ตำแหน่งการติดตั้ง ขนาดของเครื่องแอร์กับขนาดห้องให้พอดี รวมไปถึงเรื่องคอมแอร์ 

        อย่างล่าสุด ทางด้านผู้ใช้เฟสบุ๊ก Tanakit Laisomboon ได้โพสต์ตัวอย่างถ้าหากว่ามีการติดตั้งคอยล์ร้อนในตำแหน่งสูงเหนือคอยล์เย็น จะต้องมีการทำท่อ Trap โดยได้โพสต์ระบุว่า… 

        กฎของการเดินท่อแอร์ ในกรณีที่คอยล์ร้อนสูงกว่าคอยล์เย็น ต้องทำ U-TAP หรือ P-TAP เพื่อประสิทธิภาพการของแอร์ที่ดีขึ้นครับ ทุกท่านคิดว่าอย่างไรบ้างเดินงานแบบนี้ #พันธมิตรแอร์บ้านและงานไฟฟ้า

ความคิดเห็นจากชาวเน็ต 


advertisement

ถูกต้องนะ ต้องมี ยูแทป


advertisement

ต่ำกว่า ถ้าสูงกว่าน้ำมันคอมจะไหลเข้าคอยล์เย็นเลยต้องทำ p tap


advertisement

ช่างจะเจาะผนังให้ทแยงลงนิดนึงหลังคอยล์เย็น ส่วนท่อที่ขนานบนหน้าต่างจะสโลปลงด้วยเพราะมีท่อน้ำทิ้ง

เพื่อเป็นการกักเก็บน้ำมันหล่อลื่นให้ไปถูกใช้งานได้สม่ำเสมอ ในท่อน้ำยาขณะที่เครื่องหยุดทำงาน ได้ทันท่วงที


advertisement

ความรู้ใหม่ 

        สาเหตุที่ต้องทำท่อ Trap ในกรณีที่วางคอยล์ร้อนในตำแหน่งสูงเหนือคอยล์เย็น เนื่องจากอธิบายง่ายๆตามกฎของธรรมชาติ ที่กล่าวว่า "ของเหลวทุกชนิดจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ" ในระบบเครื่องทำความเย็นก็เช่นกัน น้ำมันที่อยู่ในคอมเพรสเซอร์อยู่ในสถานะของเหลว ซึ่งน้ำมันในคอมเพรสเซอร์ มีหน้าที่ในการระบายความร้อนให้คอมเพรสเซอร์ และ หล่อลื่นระบบทางกลหรือกลไกในคอมเพรสเซอร์ ในกรณีที่เครื่องทำงาน การดูดอัดสารทำความเย็นของคอมเพรสเซอร์ จะอัดน้ำมันที่อยู่ในตัวออกมาพร้อมสารทำความเย็นมาทางท่อทางอัด และดูดกลับเข้าไปในคอมเพรสเซอร์ทางท่อทางดูด ในการติดตั้งโดยวิธีให้ชุดคอยล์ร้อนวางในตำแหน่งต่ำกว่าคอยล์เย็น น้ำมันหล่อลื่น ย่อมไหลกลับสู่คอมเพรสเซอร์ตามแรงดึงดูดอย่างง่ายดาย

         แต่หากการติดตั้งที่ต้องวางคอยล์ร้อนให้สูงเหนือคอยล์เย็น ถ้าหากไม่มีการทำท่อดักน้ำมันไว้น้ำมันก็จะไหลลงได้เช่นกันเพราะในระบบท่อนั้นเป็นสุญญากาศ แต่การไหลกลับจะไหลกลับไม่ทันต่อการระบายความร้อน เนื่องจากน้ำมันมีความหนืดและน้ำหนักมากกว่าสารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นแก๊สในท่อทางดูด ทำให้การระบายความร้อนทำได้ไม่ดี มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ร้อนจนถึงร้อนจัดนั่นเอง 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tanakit Laisomboon 


advertisement